เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว
ลักษณะการทำลายและการระบาด
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้ง ลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อม ๆ (อาการไหม้) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ในนาข้าวนาข้าวที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น
นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้นใบแก่ช้ากว่าปกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และขอบใบแหว่งวิ่น
แนวทางการป้องกันกำจัด
- ปลูกข้าวพันธุ์ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก
- สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมระดับน้ำในนา หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์ จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียกหรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งสลับกันจะช่วยลดการระบาดได้
- ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย ฉีดพ่นในบริเวณที่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและควรฉีดพ่นในเวลาเย็น
- ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงอย่างถุกต้องตามคำแนะนำทางวิชาการ
เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี