ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เกษตรเขต 5 สงขลา ขอเชิญชวนเที่ยวชมนิทรรศการงานส่งเสริมการเกษตร “ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้ “ ในงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 30

เตือนเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระวัง “หนู” สัตว์ศัตรูพืช ระบาดในพื้นที่การเกษตร การป้องกันและกำจัด เรียบเรียง :  กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

การเพาะกล้าผัก

การเพาะกล้าผัก วัสดุเพาะ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

สำนักงานเกษตรอำเภอแก่งคอย​ จังหวัดสระบุรี ประชาสัมพันธ์​เกษตรกรและประชาชนทั่วไป​ ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่​ ในพระราชานุเคราะห์ฯ ครั้งที่​ 4​ ประจำปี​ 2567​ ในวันพุธที่​ 24​ กรกฎาคม​ 2567​ เวลา​ 08.00 น.​ เป็นต้นไป (นำบัตรประชาชนติดมาด้วย)  เครื่องแต่งกายเสื้อโทนสีเหลือง กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

ขอเชิญร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดพิจิตร ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ณ วัดหงษ์ ตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร

กาหยูเกาะพยาม

แผ่นพับที่ 10/2567 กาหยูเกาะพยาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดระนอง มะม่วงหิมพานต์ หรือ “กาหยู” มีแหล่งปลูกในจังหวัดระนอง ปลูกเยอะที่สุดที่ตำบลเกาะพยาม ด้วยสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย จึงเหมาะสำหรับปลูกกาหยู ทำให้เมล็ดมีลักษณะเนื้อแน่น รสชาติหวานมัน กรอบ อร่อย รวมถึงการแปรรูปกาหยูที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการคั่วแบบโบราณและคั่วเมล็ดด้วยข้าวสาร จึงมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร

“3R Model : 3 เปลี่ยน” โมเดลที่จะชวนเกษตรกรไทย หยุดเผาในพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชนิดพืช และเปลี่ยนเป็นพืชทางเลือก อ่านเรื่องราวแบบละเอียด รวมถึงวิธีการที่จะนำมาซึ่งการหยุดเผา การลดต้นทุน และการเพิ่มรายได้ ใน 4 เอกสารแนะนำดังนี้ 1. แนวทาง 3R Model :

ฮอร์โมนไข่

ฮอร์โมนไข่ ทำง่าย ต้นทุนต่ำ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้ใช้อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 80 ไร่ จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

หนอนปลอกข้าว

หนอนปลอกข้าว ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ 2-3 แถบตามขอบปีก ลักษณะและการระบาด การป้องกันและกำจัด 1. ระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อทำลายตัวหนอน และระงับการแพร่ระบาดในนาข้าว เพราะหนอนจะระบาดโดยปลอกลอยไปตามน้ำ ถ้าเอาน้ำออก หนอนก็จะระบาดไม่ได้ 2. ใช้สารฆ่าแมลง เมื่อตรวจพบใบถูกทำลายมากกว่า 15% หรือพบใบห่อ 6-8 ใบ ต่อ

หนอนห่อใบข้าว

ระวัง! หนอนห่อใบข้าว ลักษณะการทำลาย เรียบเรียงโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังหวัดลำพูน เบอร์โทรศัพท์ 0 5309 6215

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

“เบญจมาศ” แม้ว่าจะเป็นไม้ดอกเมืองหนาว แต่รู้หรือไม่ว่า เบญจมาศขยายพันธุ์ง่ายมาก ด้วยวิธีการปักชำกิ่งยอด แต่ถ้าจะให้เบญจมาศที่ผลิตมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ สีดอกตรงตามสายพันธุ์ มีขนาดต้นที่สม่ำเสมอ ต้องใช้ต้นเบญจมาศพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะจะเป็นต้นพันธุ์สะอาด

ต้นพันธุ์สะอาด คือ ต้นพันธุ์ที่ได้มาจากแหล่งผลิตที่มีการป้องกันกำจัดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคจนถึงเก็บเกี่ยวตามหลักวิชาการ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับพืชที่จะขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเตรียมดิน การเตรียมดินให้ไถดินตากแดดประมาณ 1-2 สัปดาห์ ย่อยดินให้ร่วน หากดินเป็นกรดปรับสภาพด้วยปูนขาวหรือโดโลไมท์ ใส่แกลบ ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก อัตรา 3:2:1 ผสมให้เข้ากัน แปลงกว้าง 1-1.25 เมตร ยกแปลงสูง 15-20 เซนติเมตร

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเตรียมต้นพันธุ์ เตรียมต้นแม่พันธุ์ดี แล้วปักชำกิ่งยอดจนแตกรากใหม่ (อายุ 14 วัน) จึงย้ายกิ่งลงปลูกในแปลง

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การปลูก
– ปลูกแบบเด็ดยอด ปลูก 4 แถวต่อแปลง ระยะปลูก 20 x 25 เซนติเมตร
– ปลูกแบบไม่เด็ดยอดหรือแบบต้นเดี่ยว ระยะปลูก 12.5 x 12.5 เซนติเมตร ให้แสงวันยาวตั้งแต่เริ่มปลูกเพื่อการเจริญเติบโตทางต้นและใบ โดยให้แสงไฟช่วงกลางคืนวันละ 3-5 ชั่วโมง
จนต้นสูง 30-40 เซนติเมตร จึงงดให้ไฟ
–  ขึงตาข่ายขนาด 12.5 x 12.5 เซนติเมตร
– สัปดาห์ที่ 5-8 คลุมผ้าดำ เพื่อชักนำให้เกิดวันสั้น เพื่อให้เบญจมาศสร้างและพัฒนาตาดอก

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเด็ดยอด หลังปลูก 10-15 วัน เด็ดยอดอ่อนให้เหลือใบไว้ประมาณ 3-4 คู่

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเด็ดดอก จะเด็ดดอกหลังปลูก 20-30 วัน โดยพันธุ์ดอกเดี่ยว เด็ดตาข้างของกิ่งแขนงให้หมด เหลือเพียงตายอดที่จะให้ดอกเพียงดอกเดียว ส่วนพันธุ์ดอกช่อ เด็ดเฉพาะดอกกลางออก หลังต้นสูง 30 เซนติเมตร

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

สำหรับผู้ที่สนใจขอรับข้อมูลการผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี ติดต่อได้ที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังหวัดลำพูน เบอร์โทรศัพท์ 0 5309 6215
หรือ ดาวน์โหลดแผ่นพับความรู้ทางการเกษตร เรื่อง การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี ได้ที่
https://esc.doae.go.th/การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี