ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สมบัติของดินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช สมบัติของดินทั้ง 3 ด้าน มีการเกื้อหนุนกันเป็นวัฏจักร ดินมีโครงสร้างที่ดี ส่งผลให้มีสมบัติทางเคมีที่ดี โดยเฉพาะการจัดเก็บธาตุอาหารไว้ให้พืชและสิ่งมีชีวิตในดิน ยังช่วยเกื้อหนุนสมบัติของดินให้ดี สุดท้ายจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีของพืช ดังนั้น หากดินมีปัญหาด้านใด ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข และต้องทำก่อนใส่ปุ๋ย เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ กายภาพ เคมี ชีวภาพ ที่มา : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

สมุนไพรไล่แมลง สารสกัดเมล็ดสะเดา ประโยชน์ของเมล็ดสะเดา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก

หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า

หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า

มะนาวแป้นไต้หวัน

มะนาวแป้นไต้หวัน ลักษณะเด่นมะนาวแป้นไต้หวัน สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ออกลูกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะต้นมีหนามสั้นโตเร็ว ออกลูกเป็นพวง ผลดก ขนาดใหญ่มีทรงแป้นเหมือนลูกจัน เปลือกบาง มีกลิ่นหอม มีรสเปรี้ยวกลมกล่อม เมล็ดน้อย มีความต้านทานโรคแคงเกอร์ การขยายพันธุ์และดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้เป็นมะนาวเก่าแก่ที่ปลูกอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ผลใหญ่ดกเป็นพวง ทรงผลแป้น เปลือกบาง น้ำมีกลิ่นหอม เมล็ดน้อย รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม ที่มา :

ประชาสัมพันธ์รับสมัครเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่ยังไม่ได้การรับรอง GAP เข้าร่วมโครงการปรับระบบและเพิ่มศักยภาพการผลิตลำไยให้ได้คุณภาพมาตรฐานฯ คุณสมบัติ สมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 30 พฤศจิกายน 2567ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ (ในวันและเวลาราชการ) ใบสมัครเข้าร่วมโครงการhttps://shorturl.asia/7Yr2b สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอแม่ทา ลำพูน

รู้หรือไม่? …ไผ่ แต่ละชนิดแม้จะมีชื่อเหมือนกัน แต่แตกต่างกัน ชวนอ่านเรื่องราวของไผ่จาก 3 เอกสารแนะนำดังนี้ ไผ่ซางหม่นhttps://esc.doae.go.th/ไผ่ซางหม่น ไผ่รวกhttps://esc.doae.go.th/ไผ่รวก/ ไผ่หม่าจูhttps://esc.doae.go.th/ไผ่หม่าจู/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์https://www.facebook.com/profile.php?id=100084142539692

ไผ่หม่าจู

ไผ่หม่าจู ลำขนาดใหญ่ หน่อขนาดใหญ่ มีรสชาติหวานกรอบ สีเขียวอมเหลือง ใบขนาดใหญ่ใช้ทำบ๊ะจ่างได้ดีและชาวจีนไต้หวัน นิยมเอาใบสดไปหมักทำเหล้า เรียกว่า เหล้าไผ่ หรือเหล้าจู๋เย่ชิง ลักษณะเด่นไผ่หม่าจูอยู่สกุลไผ่ตง เป็นไผ่ต่างถิ่นนำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-16 เซนติเมตร ลำมีสีเขียวนวล ไม่มีหนาม หน่อมีสีเหลืองส้ม

ไผ่รวก

ไผ่รวก ไผ่ขึ้นเป็นกอแน่น ลำขนาดเล็ก เรียวตรง กิ่งแขนงน้อย มีกาบแห้งติดกับลำ ลักษณะเด่นไผ่รวกเป็นไผ่ขนาดเล็กถึงกลาง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 2-4 เซนติเมตร ในที่แล้ง และขนาด 4-7 เซนติเมตร ในที่ชื้น ความสูง 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตันที่ปลายลำมีเนื้อบางกว่า ลักษณะกอปลายลำมักโค้งลง กอค่อนข้างแน่น กาบหุ้มลำคล้ายกระดาษติดอยู่กับลำนาน

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังหวัดลำพูน เบอร์โทรศัพท์ 0 5309 6215

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

“เบญจมาศ” แม้ว่าจะเป็นไม้ดอกเมืองหนาว แต่รู้หรือไม่ว่า เบญจมาศขยายพันธุ์ง่ายมาก ด้วยวิธีการปักชำกิ่งยอด แต่ถ้าจะให้เบญจมาศที่ผลิตมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ สีดอกตรงตามสายพันธุ์ มีขนาดต้นที่สม่ำเสมอ ต้องใช้ต้นเบญจมาศพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะจะเป็นต้นพันธุ์สะอาด

ต้นพันธุ์สะอาด คือ ต้นพันธุ์ที่ได้มาจากแหล่งผลิตที่มีการป้องกันกำจัดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคจนถึงเก็บเกี่ยวตามหลักวิชาการ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับพืชที่จะขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเตรียมดิน การเตรียมดินให้ไถดินตากแดดประมาณ 1-2 สัปดาห์ ย่อยดินให้ร่วน หากดินเป็นกรดปรับสภาพด้วยปูนขาวหรือโดโลไมท์ ใส่แกลบ ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก อัตรา 3:2:1 ผสมให้เข้ากัน แปลงกว้าง 1-1.25 เมตร ยกแปลงสูง 15-20 เซนติเมตร

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเตรียมต้นพันธุ์ เตรียมต้นแม่พันธุ์ดี แล้วปักชำกิ่งยอดจนแตกรากใหม่ (อายุ 14 วัน) จึงย้ายกิ่งลงปลูกในแปลง

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การปลูก
– ปลูกแบบเด็ดยอด ปลูก 4 แถวต่อแปลง ระยะปลูก 20 x 25 เซนติเมตร
– ปลูกแบบไม่เด็ดยอดหรือแบบต้นเดี่ยว ระยะปลูก 12.5 x 12.5 เซนติเมตร ให้แสงวันยาวตั้งแต่เริ่มปลูกเพื่อการเจริญเติบโตทางต้นและใบ โดยให้แสงไฟช่วงกลางคืนวันละ 3-5 ชั่วโมง
จนต้นสูง 30-40 เซนติเมตร จึงงดให้ไฟ
–  ขึงตาข่ายขนาด 12.5 x 12.5 เซนติเมตร
– สัปดาห์ที่ 5-8 คลุมผ้าดำ เพื่อชักนำให้เกิดวันสั้น เพื่อให้เบญจมาศสร้างและพัฒนาตาดอก

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเด็ดยอด หลังปลูก 10-15 วัน เด็ดยอดอ่อนให้เหลือใบไว้ประมาณ 3-4 คู่

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเด็ดดอก จะเด็ดดอกหลังปลูก 20-30 วัน โดยพันธุ์ดอกเดี่ยว เด็ดตาข้างของกิ่งแขนงให้หมด เหลือเพียงตายอดที่จะให้ดอกเพียงดอกเดียว ส่วนพันธุ์ดอกช่อ เด็ดเฉพาะดอกกลางออก หลังต้นสูง 30 เซนติเมตร

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

สำหรับผู้ที่สนใจขอรับข้อมูลการผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี ติดต่อได้ที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังหวัดลำพูน เบอร์โทรศัพท์ 0 5309 6215
หรือ ดาวน์โหลดแผ่นพับความรู้ทางการเกษตร เรื่อง การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี ได้ที่
https://esc.doae.go.th/การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี