ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สมบัติของดินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช สมบัติของดินทั้ง 3 ด้าน มีการเกื้อหนุนกันเป็นวัฏจักร ดินมีโครงสร้างที่ดี ส่งผลให้มีสมบัติทางเคมีที่ดี โดยเฉพาะการจัดเก็บธาตุอาหารไว้ให้พืชและสิ่งมีชีวิตในดิน ยังช่วยเกื้อหนุนสมบัติของดินให้ดี สุดท้ายจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีของพืช ดังนั้น หากดินมีปัญหาด้านใด ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข และต้องทำก่อนใส่ปุ๋ย เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ กายภาพ เคมี ชีวภาพ ที่มา : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

สมุนไพรไล่แมลง สารสกัดเมล็ดสะเดา ประโยชน์ของเมล็ดสะเดา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก

หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า

หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า

มะนาวแป้นไต้หวัน

มะนาวแป้นไต้หวัน ลักษณะเด่นมะนาวแป้นไต้หวัน สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ออกลูกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะต้นมีหนามสั้นโตเร็ว ออกลูกเป็นพวง ผลดก ขนาดใหญ่มีทรงแป้นเหมือนลูกจัน เปลือกบาง มีกลิ่นหอม มีรสเปรี้ยวกลมกล่อม เมล็ดน้อย มีความต้านทานโรคแคงเกอร์ การขยายพันธุ์และดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้เป็นมะนาวเก่าแก่ที่ปลูกอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ผลใหญ่ดกเป็นพวง ทรงผลแป้น เปลือกบาง น้ำมีกลิ่นหอม เมล็ดน้อย รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม ที่มา :

ประชาสัมพันธ์รับสมัครเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่ยังไม่ได้การรับรอง GAP เข้าร่วมโครงการปรับระบบและเพิ่มศักยภาพการผลิตลำไยให้ได้คุณภาพมาตรฐานฯ คุณสมบัติ สมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 30 พฤศจิกายน 2567ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ (ในวันและเวลาราชการ) ใบสมัครเข้าร่วมโครงการhttps://shorturl.asia/7Yr2b สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอแม่ทา ลำพูน

รู้หรือไม่? …ไผ่ แต่ละชนิดแม้จะมีชื่อเหมือนกัน แต่แตกต่างกัน ชวนอ่านเรื่องราวของไผ่จาก 3 เอกสารแนะนำดังนี้ ไผ่ซางหม่นhttps://esc.doae.go.th/ไผ่ซางหม่น ไผ่รวกhttps://esc.doae.go.th/ไผ่รวก/ ไผ่หม่าจูhttps://esc.doae.go.th/ไผ่หม่าจู/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์https://www.facebook.com/profile.php?id=100084142539692

ไผ่หม่าจู

ไผ่หม่าจู ลำขนาดใหญ่ หน่อขนาดใหญ่ มีรสชาติหวานกรอบ สีเขียวอมเหลือง ใบขนาดใหญ่ใช้ทำบ๊ะจ่างได้ดีและชาวจีนไต้หวัน นิยมเอาใบสดไปหมักทำเหล้า เรียกว่า เหล้าไผ่ หรือเหล้าจู๋เย่ชิง ลักษณะเด่นไผ่หม่าจูอยู่สกุลไผ่ตง เป็นไผ่ต่างถิ่นนำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-16 เซนติเมตร ลำมีสีเขียวนวล ไม่มีหนาม หน่อมีสีเหลืองส้ม

ไผ่รวก

ไผ่รวก ไผ่ขึ้นเป็นกอแน่น ลำขนาดเล็ก เรียวตรง กิ่งแขนงน้อย มีกาบแห้งติดกับลำ ลักษณะเด่นไผ่รวกเป็นไผ่ขนาดเล็กถึงกลาง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 2-4 เซนติเมตร ในที่แล้ง และขนาด 4-7 เซนติเมตร ในที่ชื้น ความสูง 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตันที่ปลายลำมีเนื้อบางกว่า ลักษณะกอปลายลำมักโค้งลง กอค่อนข้างแน่น กาบหุ้มลำคล้ายกระดาษติดอยู่กับลำนาน


การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลด

ถูกน้ำท่วม 7-14 วัน ไม่เกิดความเสียหาย รอดินแห้ง ดูแลตามปกติ

อาการหลังน้ำลด

  • ใบลู่ลง ใบซีดเหลือง ใบแห้งจากใบล่างขึ้นบน หรืออาจยืนต้นแห้งตาย เนื่องจากรากขาดออกซิเจนและไม่สามารถหาอาหารได้

ประเมิน แก้ไข ฟื้นฟู

  1. ใช้เครื่องพ่นอากาศลงในน้ำหรือใช้เครื่องยนต์ที่มีกังหันน้ำหรือตีน้ำ ให้น้ำที่ท่วมขังมีการเคลื่อนไหว ถ่ายเทหรือหมุนเวียน ช่วยเพิ่มปริมาณออกซฺเจนให้ละลายในน้ำได้มากขึ้นและรากสามารถนำไปใช้ได้จนกว่าน้ำจะลด
  2. ระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด ปล่อยให้ดินแห้งอย่างน้อย 2 วัน จึงจะเข้าบริเวณใต้ต้น หรือบริเวณราก
  3. นำโคลนที่ทับถมออก อาจต้องค้ำยัน พยุงลำต้น ปลิดผล ดอก ตัดแต่งกิ่งที่เสียหายแและช่วยลดการใช้พลังงานและการคายน้ำ
  4. ให้ปุ๋ยทางใบเพิ่มความสมบูรณ์ ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ปรับสภาพดินให้เป็นด่าง
  5. ปรับสภาพดินให้เป็นด่าง (ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ 0.5 – 1 กก./ต้น ) ฟื้นฟูดิน (พลิกดิน/ตากดิน/ขุดหลุมใส่ปุ๋ยคอกและปูนขาว) ปลูกซ่อม ดูแลรักษาตามปกติ ควรตรวจวิเคราะห์ pH ดินแและน้ำ สารพิษและสารโลหะหนักที่อาจตกค้าง

ข้อสังเกตุ

  • มะพร้าวอายุมาก สมบูรณ์ แข็งแรง ต้านทานน้ำได้มากกว่าต้นเล็กอ่อนแอ มีโรคแมลงทำลาย
  • มะพร้าวทนทานในน้ำไหล ใส หรือลึกไม่เกิน 1 เมตร มากกว่ามวลน้ำลึกเกิน 1 เมตร มีตะกอนดินและโคลนปน
  • มะพร้าวที่เพิ่งให้ผลผลิตสูงมากกหรือติดดอกออกผลในระยะเก็บเกี่ยว อาหารสะสม ภายในลำต้นมักเหลือน้อย จึงอ่อนแอมากและตายได้โดยง่าย
  • อากาศร้อน อุณหภูมิสูง ลมพัดแรง จะเพิ่มความรุนแรงของความเสียหายจากการถูกน้ำท่วมได้มากยิ่งขึ้น

เรียบเรียงโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร