ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก ถั่วลิสง แตงโม และถั่วเขียว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 

ลมหนาวมาเยือนแล้วจ้าาา วันนี้ขอชวนพี่น้องเกษตรกรมาอ่านเรื่องราวของ “การปลูกพืช โรคและแมลงศัตรูพืช ในช่วงอากาศหนาว” เพื่อนำข้อมูลไปปรับใช้กับแปลงเกษตรในพื้นที่ของตนเอง ผ่าน 3 เอกสารแนะนำ ดังนี้เลย การปลูกพืชหน้าหนาวคลิกอ่าน : https://bit.ly/4gfSnA4 โรคและแมลงศัตรูพืช ที่ต้องระวังในช่วงอากาศหนาวคลิกอ่าน : https://bit.ly/485wKyR ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาวคลิกอ่าน : https://bit.ly/41B2LhV

เลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตปังตามมาตรฐาน หมายเหตุ : เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน มกษ.5901 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

กับดักมอดเจาะผลกาแฟ อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำกับดัก วิธีการใช้งานกับดักมอดเจาะผลกาแฟพื้นที่ปลูกกาแฟ 1 ไร่ ใช้กับดัก 5-10 จุด เติมสารล่อทุก 2 สัปดาห์ ควรแขวนกับดักมอดเจาะผลกาแฟ บริเวณกิ่งก้านของต้นกาแฟ ให้กระจายทั่วพื้นที่ เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

โรคใบขาวอ้อย สาเหตุ เชื้อไฟโตพลาสมา ลักษณะอาการ : พบในอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต พบอาการใบสีขาว สีเขียวอ่อนหรือสีขาวสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กเป็นฝอย แตกกอมาก ไม่เจริญเติบโตและตาย การแพร่ระบาด : ระบาดได้ทางท่อนพันธุ์อ้อยและระบาดผ่านแมลงพาหะ 2 ชนิด ได้ แนวทางการป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

การจัดการแมลงศัตรูข้าว ชนิดของแมลงที่ทำลายช่วงต่าง ๆ ของข้าวตลอดช่วงอายุ 120 วัน และการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว ที่พบตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ตั้งแต่ระยะกล้า ระยะแตกกอ และระยะออกร่วง แมลงศัตรูข้าวช่วงระยะกล้า แมลงศัตรูข้าวช่วงระยะแตกกอ แมลงศัตรูพืชช่วงระยะออกรวง การป้องกันและกำจัดแมลง เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมระบบการผลิตข้าว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร

การปลูกเตยหอม การเตรียมดินและโรงเรือนปลูก การปลูกเตยหอมปลูกด้วยวิธีการดำหน่อพันธุ์ ประมาณ 25,000 หน่อต่อไร่ โดยมีระยะห่างประมาณ 50 เซนติเมตร วิธีการดูแลรักษาใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก ๆ 3-4 เดือน การเก็บเกี่ยว

ต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 1-30 มกราคม 2568 ช่องทางออนไลน์ กรณีจดทะเบียนผ่าน e-Form กรณีจดทะเบียน ณ สำนักงานรับจดทะเบียน ดำเนินการ ดังนี้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียนฯยื่นแบบ สวช.03 พร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้ เรียบเรียงโดย :

คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ เอกสารประกอบ กรณีไม่เป็นนิติบุคคล เอกสารประกอบ กรณีเป็นนิติบุคคล ขั้นตอน วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน แบ่งเป็น 2 กลุ่มกิจการกลุ่มที่ 1 : กลุ่มการผลิตสินค้า ประกอบด้วย 18 ประเภทกิจการ กลุ่มที่ 2 : กลุ่มการให้บริการ ประกอบด้วย 6

โรคราสนิมในอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Puccinia melanocephala เชื้อราสาเหตุโรคสามารถพักตัวในเศษซากพืช เกิดโรคข้ามฤดู และสามารถแพร่กระจายผ่านลมและน้ำ อาการ : ใบอ่อนพบจุดแผลขนาดเล็กสีแดง เมื่อใบแก่จุดแผลจะขยายออกเป็นสีน้ำตาลแดง (สีสนิม) มีวงสีเหลืองล้อมรอบ ใต้ใบมีแผลนูน เมื่อแผลแตกออก มีลักษณะขรุขระ พบผงสปอร์สีน้ำตาลแดง (สีสนิม) การป้องกัน *พ่นทุก

มวนถั่วเหลือง

มวนถั่วเหลือง

มวนถั่วเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ Riptortus linearisวงศ์ Alydidae : Hemipteraมวนถั่วเหลือง ตัวเต็มวัยมีลำตัวเรียวยาว ด้านข้างลำตัวมีแถบสีเหลืองคาดยาว ข้างละแถบ ขายาว ขาคู่หลังปล้องแรกขยายใหญ่กว่าคู่หน้าชัดเจน การเข้าทำลายสภาพอากาศฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ แปลงถั่วเหลืองระยะออกดอก อาจจะพบการเข้าทำลายของมวนถั่วเหลือง ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ลำต้น ดอก และฝักของถั่วเหลืองฝักอ่อนที่ถูกทำลายจะลีบ ไม่ติดเมล็ด และร่วงหล่นทำให้ผลผลิตลดลง แนวทางการป้องกันกำจัด กรณีที่จำเป็นต้องใช้สารเคมี แนะนำสารเคมี ได้แก่ พ่นเมื่อพบตัวเต็มวัยของมวนถั่วเหลือง 2-3 ตัวต่อแปลงยาว 1 เมตร *อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร **ควรสลับกลุ่มสารทุกการพ่น 2-3 ครั้ง กับการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันกำจัด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

แมลงดำหนามข้าว

แมลงดำหนามข้าว

แมลงดำหนามข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicladispa armigera (Olivier) การทำลายตัวเต็มวัยกัดกิน และแทะผิวใบข้าวด้านบน ทำให้เป็นรอยขูดทางสีขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ ส่วนตัวหนอนจะชอนใบข้าว เห็นเป็นรอยแผ่นสีขาวขุ่น มัว ขนานกับเส้นใบ นาข้าวที่ถูกทำลายรุนแรง ใบข้าวจะแห้งและกลายเป็นสัน้ำตาล เหมือนถูกไฟไหม้ คำแนะนำในการป้องกันกำจัด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

เพลี้ยแป้งในมะละกอ

เพลี้ยแป้งในมะละกอ

เพลี้ยแป้งในมะละกอ การเข้าทำลายช่วงอากาศร้อนชื้น ในพื้นที่ปลูกมะละกอ ระวังการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งในระยะติดผล เพลี้ยแป้งระยะตัวอ่อนแลัตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบ ดอก และผล โดยมีมดดำช่วยพาไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้นมะละกอ การทำลายที่ดอกและผลอ่อน ทำให้ดอกและผลมะละกอหลุดร่วง แนวทางการป้องกันกำจัด กรณีที่จำเป็นต้องใช้สารเคมี แนะนำสารเคมี ได้แก่ *อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร ** ควรสลับกลุ่มสารทุกการพ่น 2-3 ครั้ง ป้องกันการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันกำจัด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

โรคเมล็ดด่าง

โรคเมล็ดด่าง

โรคเมล็ดด่าง สาเหตุ เชื้อราหลายชนิด โดยมีเชื้อราสาเหตุหลัก 6 ชนิด ได้แก่Curvularia lunata, Cercospora oryzae, Bipolaris oryzae, Fusarium semitectum, Trichoconis padwickii และ Sarocladium oryzae ลักษณะอาการในระยะออกรวง พบแผลจุดสีต่าง ๆ เช่น จุดสีน้ำตาลหรือดำลายสีน้ำตาลดำหรือสีเทาปนชมพูที่เมล็ดข้าว การเข้าทำลายของเชื้อรา มักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าว เริ่มเป็นน้ำนม อาการเมล็ดด่าง จะชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว การแพร่กระจายเชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม น้ำ ติดไปกับเมล็ดพันธุ์และสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้ เชื้อราสาเหตุบางชนิดสามารถสร้างสารพิษ (toxin) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ แนวทางการป้องกันกำจัด ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

แมลงบั่ว

แมลงบั่ว

แมลงบั่ว ตัวเต็มวัยแมลงบั่ว คล้ายยุงหรือตัวริ้น วางไข่เดี่ยวหรือกลุ่ม 3-4 ฟอง ไข่มีลักษณะคล้ายกล้วยหอมสีชมพูอ่อน ตัวหนอนคล้ายหนอนแมลงวัน หัวท้ายเรียว ตัวหนอนมี 3 ระยะ (วงจรชีวิตของแมลงบั่ว 25-30 วัน) การเข้าทำลาย แมลงบั่วจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะกล้า (ข้าวอายุ 1 เดือน) โดยบินเข้าหาแสงไฟเพื่อผสมพันธุ์ ตัวหนอนเข้าไปเจริญเติบโตในกาบใบข้าว ทำลายยอดข้าว ทำให้ใบข้าวมีลักษณะหลอด เรียกว่า “หลอดบั่ว” หรือ “หลอดหอม” แนวทางป้องกันกำจัด หากพบการระบาดรุนแรง แนะนำใช้สารเคมีกำจัดแมลง ผสมตามคำแนะนำและอัตราการใช้ในฉลาก สามารถผสมสารจับใบ โดยต้องสลับกลุ่มสารเคมีทุกการพ่น 2 ครั้ง และใช้สารเคมี 2 ชนิดขึ้นไป เพื่อป้องกันการดื้อยา ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร