ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคแส้ดำอ้อย

โรคแส้ดำอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Ustilago scitaminea การแพร่ระบาดเชื้อรานี้จะอาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคผงสปอร์จากแส้ดำจะระบาดโดยปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้นเชื้อราจะอาศัยอยู่ในดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน ลักษณะอาการต้นอ้อยส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งและยาวคล้ายแส้สีดำ ตอที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกร็นคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอ พันธุ์ต้านทานโรคที่ปลูกในปีแรก อาจมีอาการแส้ดำเพียงบางยอด เจริญเติบโตได้ตามปกติและในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคจะมีอาการลำต้นผอมเรียว ใบเล็กแคบยาวคล้ายต้นหญ้าพง ให้ผลผลิตน้อย ความเสียหายและความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นในอ้อยตอรุ่นต่อไป การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย :

เพลี้ยไฟในข้าว

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 2,913 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชผัก จำนวน 31 ชนิด ได้แก่ เรียบเรียงโดย

เกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผา ในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล

46-0-0ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย 27-0-0แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ

แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ แหนแดง สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (MICROPHYLLA)เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CYANOBACTERIAL) ที่อยู่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำแหนแดงไปตากแห้ง (น้ำหนักแห้ง 150 กิโลกรัม) มีปริมาณไนโตรเจน 6.0-4.5 กิโลกรัม เป็นทางเลือกสำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงผักอินทรีย์ วิธีการขยายพันธุ์ ประโยชน์ของแหนแดง เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชตระกูลแตง ในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน และบวบ แมลงวันหนอนชอนใบมักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้ การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ด้วงเต่าแตงแดงจะพบตัวด้วงเข้าทำลายแทะกัดกินใบยอด หากระบาดรุนแรง

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนธันวาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th


เตือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของด้วงหนวดยาว

พบการระบาดในแหล่งปลูกทุเรียนตลอดทั้งปี โดยตัวหนอนจะเข้าดักแด้และออกเป็นตัวเต็มวัยในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่

ด้วงหนวดยาว มีตัวเต็มวัยสีน้ำตาล มีจุดสีส้มหรือเหลืองกระจายอยู่ทั่วปีก เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว เพศเมียหนวดเท่ากับหรือสั้นกว่าลำตัว จับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีเขี้ยวแข็งแรงขนาดใหญ่ กัดเปลือกไม้เพื่อวางไข่แล้วกลบด้วยขุยไม้ ชอบวางไข่ซ้ำบนต้นเดิม ไข่คล้ายเมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น หนอนที่ฟักใหม่จะมีสีขาวครีม

ลักษณะการทำลาย
ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชใต้เปลือกไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกอาจควั่นรอบต้น ทำลายท่อน้ำท่ออาหาร ต้นทุเรียนทรุดโทรมและยืนต้นตายได้ ตัวเต็มวัยมีอายุได้นานกว่า 6 เดือน ทำในต้นหนึ่ง ๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่าง ๆ กัน เป็นจำนวนมาก สวนที่มีการระบาดรุนแรงพบหนอนด้วงหนวดยาววัยต่าง ๆ ในต้นทุเรียนเฉลี่ย 40-50 ตัวต่อต้น

วิธีป้องกันกำจัด

  1. หมั่นสำรวจสวนทุเรียนเป็นประจำ โดยสังเกตรอยแผลจากการวางไข่หรือขุยไม้ละเอียดจากการทำลายของหนอน ถ้าพบร่องรอยการทำลายให้ใช้มีดคมถากเปลือกต้นทุเรียนออกแล้วจับตัวหนอนและไข่มาทำลาย
  2. กำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาว โดยใช้แสงไฟล่อ หรือใช้ตาข่ายตาถี่พันหลวม ๆ รอบต้น เพื่อดักจับตัวเต็มวัยมาทำลาย
  3. เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เช่น ไทอะมีโทแซม/แลมป์ดาไซฮาโลทริน 14.1% 10.6%ZC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ คลอไทอะนิดิน 16% SG อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 10%SL อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซททามิพริด 20% SP อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร โดยใช้อัตราน้ำ 5 ลิตร/ต้น พ่นให้โชกเฉพาะบริเวณลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ด้วงชอบวางไข่ พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน ในแหล่งที่มีการระบาดรุนแรง อาจต้องพ่นสารเคมีทุก ๆ 3 เดือน
  4. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยตัดต้นทุเรียนที่ถูกทำลายรุนแรงจนไม่สามารถให้ผลผลิตและนำไปเผาทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมการระบาด ทำความเสียหายต่อทุเรียนต้นอื่น ๆ ต่อไป

ให้หมั่นออกตรวจบริเวณสวนทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบขุยมูลตัวหนอน ให้ใช้มีดคมถากเปลือกต้นทุเรียนออกบาง ๆ แล้วฉีดพ่นด้วยอิมิดาโคลพริด หรือคอนฟิดอ 10 เปอร์เซ็นต์ เอสแอล อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ 2 ครั้ง สัปดาห์ละครั้ง จะทำให้แมลงในวัยที่เป็นตัวหนอนตายไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ แนะนำให้ใช้แสงไฟล่อแมลงตัวเต็มวัยด้วยการติดไฟนีออน พร้อมฝาครอบด้านบน บังคับให้แสงส่องลงพื้นดิน ตั้งไว้สูงจากพื้น 1.50 เมตร ส่วนใต้หลอดนีออน ใช้ถัง 200 ลิตร ผ่าครึ่ง พร้อมน้ำผสมน้ำมันขี้โล้ รองรับแมลงตัวเต็มวัยที่ตกลงในถังและจับทำลาย หมั่นปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น การระบาดของด้วงหนวดยาวเจาะต้นทุเรียนจะหมดไปในที่สุด

เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/08/ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน.png