ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

นายยุทธพงษ์ รัตนวิทย์ เกษตรกรต้นแบบ ได้นำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ เช่น โรงเรือนปลูกพืชและระบบน้ำ มีการวางระบบน้ำในแปลงปลูกพืชผัก เช่น ระบบน้ำหยดและมินิสปริงเกอร์ และระบบการให้น้ำอัจฉริยะ (Handy Sense) มาใช้ในโรงเรือนปลูกผัก สามารถประหยัดเวลาในการให้น้ำ เพิ่มความแม่นยำในการควบคุมปริมาณน้ำให้แก่พืชผัก ทำให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูง และสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี สามารถกำหนดปริมาณน้ำให้เหมาะสมและเพียงพอ ตามชนิดพืชที่ปลูกได้ เมื่อพืชได้รับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยให้ผลผลิตสม่ำเสมอ เกษตรกรได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ในราคาที่จับต้องได้จากการติดตั้งใช้งานจริงและพิสูจน์แล้วว่า Handy

ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P) ในแต่ละชนิด 18-46-0 แม่ปุ๋ย DAP (ไดแอมโมเนียมฟอสเฟส) มีธาตุอาหารในรูปแอมโมเนียม-ไนโตรเจน 18% และมีฟอสฟอรัสในรูปของ phosphorus pentoxide 46% เป็นแม่ปุ๋ยที่นิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผสมและผลิตปุ๋ย มีคุณสมบัติช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ช่วยในการเร่งการแตกราก และช่วยบำรุงต้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับไม้ดอก ในช่วงระยะการเร่งออกดอก บำรุงดอก ช่วยให้ดอกสมบูรณ์แข็งแรง เกสรสมบูรณ์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ลักษณะอากาศเฉลี่ยที่หมายรวมถึงลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอากาศทั้งหมด เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม ที่มีการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่หนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมมาจากกิจกรรมมนุษย์ สถานการณ์ภัยแล้งประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวน อาจส่งผลกระทบเป็นชนวงกว้างให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคลิกอ่าน : https://bit.ly/3CA9fTQ เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร?คลิกอ่าน : https://bit.ly/3TtaHvY

วัชพืชในนาข้าว หญ้าข้าวนกลักษณะเด่น : ขณะต้นเล็กคล้ายข้าวมาก รอยต่อระหว่างใบและกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝน หญ้าแดงลักษณะเด่น : ลำต้น แนบพื้นดินและชูยอดขึ้น ช่อดอกติดกันแน่นคล้ายธูป หญ้าดอกขาวลักษณะเด่น : รอยต่อระหว่างใบและกาบใบมีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแฉก หญ้านกสีชมพูลักษณะเด่น : ลำต้น ใบ และดอก บางทีมีสีชมพู รอยต่อระหว่างใบ และกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝนและเขี้ยวกันแมลง ผักปอดนาลักษณะเด่น

โทษจากการเผาในพื้นที่การเกษตร กฎหมายอาญา มาตรา 220 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560)“ผู้ใดทำให้เกิดไฟไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท” ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุเกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระะวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ฟรี วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร การคัดเลือกแม่พันธุ์และการขยายกล้วยพันธุ์ดีหน่วยงาน : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลกหมายเลขโทรศัพท์ : 0 5590 6220 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร

“กระเจียวหวาน” เพชรน้ำผึ้ง พืชสร้างรายได้ นางประดิษฐ์ บุญเกษม เกษตรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ศาสตร์พระราชา โคก หนอง นาโมเดล “สวนดอกกระเจียว” หมู่ 21 ตำบลตาหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เริ่มปลูกกระเจียวเพชรน้ำผึ้งในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อสร้างรายได้เสริม ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น

ใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุน ปรับสมดุลดิน ประโยชน์ของแหนแดง จัดทำโดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี มกราคม ; 2568

วันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 350เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกเทปสัมภาษณ์ ประเด็น “การขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร” เพื่อเผยแพร่ข่าวโทรทัศน์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี รายการข่าวเช้าหัวเขียว ณ ห้องศูนย์บริการร่วม อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร

สำหรับโรงเรียนเกษตรกร (Farmer Field School : FFS) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกษตรกรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่นำมาใช้ในการส่งเสริมการเกษตรให้เกษตรกรร่วมกันคิดวิเคราะห์ ประมวลผล แก้ปัญหา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนร่วมกัน เริ่มตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว เป้าหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี คุ้มค่ากับการลงทุน ปลอดภัยต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

กรมส่งเสริมการเกษตรใช้กระบวนการโรงเรียนเกษตรกรเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรสู่เกษตรกร เพื่อเปลี่ยนเกษตรกรจากผู้รับเป็นผู้ยอมรับวิธีการและเทคโนโลยีด้วยตนเอง เป็นรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยการปฏิบัติจริง ทดลองทำเอง นำไปสู่การตัดสินใจดำเนินการได้อย่างเหมาะสมด้วยตัวเกษตรกรเอง จนสามารถขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ ด้วยกันเอง

ในปี 2566 มีการจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกร จำนวน 79 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย พืชผัก 32 แห่ง ข้าว 24 แห่ง ไม้ผล 15 แห่ง พืชไร่ 5 แห่ง ไม้ยืนต้น 2 แห่ง และไม้้ดอก 1 แห่ง จากการดำเนินงานที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรมาขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรด้านการจัดการศัตรูพืช ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านการผลิตข้าว ไม้ผล และพืชผัก เพื่อต้องการให้้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหา ด้านศัตรูพืช และจัดการผลผลิตพืชให้มีคุณภาพดี ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามความต้องการของตนเอง และขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ ในพื้นที่่ใกล้เคียงต่อไปได้

ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

ภาพ : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร