ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ติดต่อ

ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร 2143/1 ถนน พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0 2579 5517 e Mail : agritech.esc.doae@gmail.com

รับสมัครเกษตรกรที่ปลูกกาแฟ และสนใจปลูกกาแฟเข้าร่วมอบรม “หลักสูตรเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูสำหรับการผลิตกาแฟ” – เพื่อส่งเสริมและพัฒนากาแฟโรบัสต้าอำเภอพนม กำหนดอบรมในวันที่ 10-11 กันยายน 2567!! ลงทะเบียน คลิก https://forms.gle/QtQYDfhmBhoFXqNn8 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แผ่นพับที่ 1/2567 จักจั่นในอ้อยและการป้องกันกำจัด จักจั่นอ้อย พบการระบาดส่วนมากในพื้นที่ปลูกอ้อยไร่ ในจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สระบุรี และลพบุรี แม้ระบาดในพื้นที่จำกัด แต่สามารถสร้างความเสียหายกับต้นอ้อยและผลผลิตอย่างสิ้นเชิง เรียบเรียง : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

แผ่นพับที่ 9/2567 สาคูและการผลิตแป้งสาคู ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดตรัง สาคู เป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่พบอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบอินโดนีเซีย ซึ่งในประเทศไทยพบต้นสาคูได้ในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรถึงจังหวัดนราธิวาสและในบางพื้นที่ของจังหวัดในภาคตะวันออก สาคูมีความสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศ พื้นที่ของป่าสาคูเป็นแหล่งซับน้ำที่ชาวบ้านจะได้มีน้ำใช้ในภาคเกษตรและด้านอื่น ๆ ช่วยชะลอการไหลบ่า และยังเป็นแหล่งบ่มสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ระบบนิเวศ เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

ขอเชิญชวนเข้าร่วมการฝึกอบรมโครงการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวในภาชนะ ลงทะเบียนก่อน มีสิทธิก่อน อบรมฟรี รับเพียง 60 ท่านเท่านั้น !! ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ขอเชิญชวนเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร เกษตรกร และประชาชน เข้าร่วมการฝึกอบรม “โครงการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวในภาชนะ” เพื่อเรียนรู้ทักษะด้านการเกษตร ร่วมสาธิตการฝึกปฏิบัติและให้ความรู้ โดยวิทยากรจากกองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร โดยการอบรม จะแบ่งเป็น 2 รอบ

โรคใบจุดสาหร่ายปาล์มน้ำมัน เชื้อสาเหตุ Phycopeltis sp. ลักษณะอาการเป็นจุดเล็ก ๆ หรือเป็นแผ่นขนาดใหญ่ (ลุกลาม) บนใบ โดยจุดดังกล่าวจะขยายใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน การระบาดระบาดมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากสปอร์สาหร่าย สามารถแพร่กระจายได้ทางลมและฝน การป้องกันกำจัด การใช้สารเคมี เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารัขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

7 แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ 2567-2570 1. ควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด โดยการจับออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติด้วยเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพและกำจัดจากบ่อเพาะเลี้ยงด้วยกากชา 2. กำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง และปล่อยปลาผู้ล่าตามความเหมาะสมของแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 5 ล้านตัว ในพื้นที่เป้าหมาย 16 จังหวัด มุ่งเน้นการจัดหาพันธุ์ปลาผู้ล่าที่มีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 3. การนำปลาหมอคางดำ ที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ เช่น การแปรรูป (น้ำหมัก)

โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน ลักษณะอาการและการระบาดโรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรากาโนเดอร์มา (Ganoderma bonibense) เชื้อราชนิดนี้กระจายอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเริ่มแพร่กระจายมายังประเทศไทย โดยการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มา ถือว่ามีความรุนแรง เพราะต้นพืชที่ติดเชื้อแล้วจะตาย และไม่มีทางรักษา โดยพืชที่เป็นแหล่งอาศัย ได้แก่ พืชสกุลถ่อน หมากสง สนทะเล พืชสกุลค้อ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำนิตยสาร เดือนสิงหาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th นิตยสารสารคดี

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน

วันที่ 31 มกราคม 2567 นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับบริการข้อมูล เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา โครงสร้าง

วันที่ 19 มกราคม 2567 คุณมาฤดี ผ่องพิพัฒน์พงศ์ (ข้าราชการบำนาญ) ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ

วันที่ 12 มกราคม 2567 สำนักงานเกษตรพื้นที่ 2 ขอรับบริการสื่อเอกสาร/แผ่นพับ จำนวน

วันที่ 11 มกราคม 2567 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งมอบกล่องยูเอชทีที่แกะ ล้าง

วันที่ 26 ธันวาคม 2566 ผู้รับบริการ ณ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร