ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว การทำนาเปียกสลับแห้ง คือ การทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง กับช่วงน้ำแห้งสลับกันในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศพอ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย 1.การเตรียมดิน ปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอและสามารถจัดระบบน้ำได้ 2.การติดตั้งท่อพีวีซี (PVC) เพื่อดูระดับน้ำ เตรียมท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 ซม. เจาะรูห่างกัน

เพลี้ยหอยเกล็ด

เพลี้ยหอยเกล็ด พบการระบาดในแปลงมันสำปะหลังที่ใกล้เก็บเกี่ยว หรือพบในต้นมันสำปะหลังที่กองสุมไว้ทำพันธุ์ โดยเพลี้ยหอยเกล็ดมีลักษณะเกล็ดสีขาวนูน ขึ้นปกคลุมเกือบทุกส่วนของมันสำปะหลัง ทั้งส่วนยอด ลำต้น กิ่ง เหง้า และหัว กรณีที่มีการปลูกมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยหอยเกล็ดติดไปกับท่อนพันธุ์ การระบาดจะมีความรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 20% ส่วนลักษณะการทำลาย เพลี้ยหอยเกล็ดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ใบเหลืองและร่วง แคระแกร็น หากมีเพลี้ยหอยเกล็ดปกคลุมทั้งลำต้น ทำให้ลำต้นแห้งตาย การแพร่ระบาดติดไปกับท่อนพันธุ์ และเกษตรกรที่ปฏิบัติงานในแปลงที่มีการระบาดและเครื่องมือทางการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ที่พบในมันสำปะหลังมี 4 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งลาย เพลี้ยแป้งแจ็คเบียส เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว และเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู สำหรับเพลี้ยแป้งที่ทำความเสียหายให้กับมันสำปะหลังอย่างรุนแรงคือ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งเป็นแมลงศัตรูต่างถิ่น ลักษณะการทำลายเพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ยอด และตา ส่งผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมีขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่มันสำปะหลังอายุน้อย

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา มีเพลี้ยจักจั่นเป็นพาหะ และต้นสาบม่วงเป็นพืชอาศัยของโรคพุ่มแจ้ ลักษณะอาการคล้ายกับการทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยเชื้อไฟโตพลาสมาจะทำให้ท่อลำเลียงอาหารอุดตัน ทำให้ส่วนยอดแคระแกร็น มีการแตกตาข้างมาก ยอดเป็นพุ่ม ใบเล็กลงสีเหลืองซีด และมีใบแห้งติดกิ่งหรือร่วงหล่น ใบที่เป็นโรคจะเริ่มแห้งตายจากใบล่างขึ้นไปถึงที่ปลายยอด ต่อมากิ่งก้านจะแห้งตายจากยอด ลำต้นแคระแกร็น ข้อปล้องสั้น และใบมีขนาดเล็กลง ในระยะเก็บเกี่ยว หากเชื้อลุกลามลงไปที่หัวมันสำปะหลังจะทำให้หัวมีเส้นสีน้ำตาลดำตามแนวยาวใต้เปลือก คุณภาพผลผลิตลดลง และเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ถ้าพบการระบาดรุนแรงมันสำปะหลังอาจยืนต้นตายได้ กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan Cassava mosaic virus (SLCMV) มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ ลักษณะอาการของโรค ส่วนของยอดอ่อนหรือยอดที่เกิดใหม่จะแสดงอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม มีขนาดเรียวเล็ก หงิกงอ และเสียรูปทรง อาการบนใบส่วนที่ถัดลงมาจากยอดหรือใบแก่จะพบอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม หงิกงอ และเสียรูปทรง ความเสียหายจากโรคจะทำให้มันสำปะหลังไม่สร้างหัวสะสมอาหารหรือหัวมีขนาดเล็ก ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตลดลง กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1) ปลูกมันสำปะหลังที่ปลอดโรค

แมลงดำหนามข้าว (Rice hispa) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicladispa armigera (olivier) วงจรชีวิต รูปร่างลักษณะ ระยะตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีหนามแข็งแหลมแปกคลุมตัว ลำตัวยาว 5-6 มม. เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ประมาณ 50 ฟอง ใกล้ปลายใบอ่อน ระยะตัวเต็มวัย

ไถกลบตอซัง

ไถกลบตอซัง ปรับโครงสร้างดิน ลดการเผา ลดหมอกควัน การเผาตอซังการเผาตอซังมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำลายโครงสร้างของดิน จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซังก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากร โดยทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน สูญเสียน้ำในดิน และทำให้เกิดฝุ่นละออง เถ้าเขม่า และก๊าซหลายชนิด และทำให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ช่วยย่อยสลายตอซังสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ไขมัน

การเก็บเมล็ดพันธุ์จุดเริ่มต้นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหารและเมล็ดพันธุ์เมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ ประเภทของเมล็ดพันธุ์ที่เก็บได้ในครัวเรือน ตัวอย่างการเก็บเมล็ดพันธุ์ ถั่วต่าง ๆเก็บฝักแก่สีน้ำตาล ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง นำเมล็ดออกทำความสะอาด เก็บในภาชนะปิดสนิท พริกเก็บผลสุกแก่ นำเมล็ดออกทำความสะอาด ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง เก็บในภาชนะปิดสนิท บวบเก็บผลแก่จัดแห้ง นำเมล็ดออกทำความสะอาด ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง เก็บในภาชนะปิดสนิท ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชของลำไย ผีเสื้อมวนหวานใช้เหยื่อพิษล่อตัวเต็มวัย โดยใช้ผลไม้สุกมีกลิ่นหอม เช่น กล้วย สับปะรด มะละกอ หรือลูกตาลสุก ตัดเป็นชิ้นหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วจุ่มในสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% WP อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5

ราแป้งราดำมะม่วง เกิดจากเชื้อรา Oidium mangiferae พบอาการที่ช่อดอก พบเป็นผงสีขาวคล้ายแป้ง ขึ้นฟูตามก้านช่อดอก ทำให้ดอกมีลักษณะช้ำเป็นสีน้ำตาลอ่อนต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำ แห้งและหลุดร่วงหากติดผลจะทำให้ผลที่ได้ไม่สมบูรณ์มีขนาดเล็กและหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย ส่วนอาการที่ใบจะพบจุดแผลสีเหลือง จะพบเชื้อราเป้นผงสีขาวคล้ายแป้งขึ้นปกคลุมผิวใบ อาการรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา และใบบิดเบี้ยวผิดรูป แนวทางการป้องกัน โรคราดำ เกิดจากเชื้อรา Capnodium sp. และ Mesiola sp. พบคราบราสีดำตามส่วนของลำต้น

วันที่ 11 มี.ค. 2567

วันที่ 11 มี.ค. 2567

วันที่ 11 มีนาคม 2567 คุณประทุม เรืองสวัสดิ์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 10 เล่ม/แผ่น  สำหรับศึกษาการเพาะปลูกใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเอง

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 คุณนิวัฒน์ ล้วนใจบุญธรรม ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 13 เล่ม/แผ่น  สำหรับศึกษาการเพาะปลูกใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเอง

วันที่ 19 มกราคม 2567

วันที่ 19 มกราคม 2567

วันที่ 19 มกราคม 2567 คุณมาฤดี ผ่องพิพัฒน์พงศ์ (ข้าราชการบำนาญ) ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 61 เล่ม/แผ่น สำหรับสอนชาวเขาและตำรวจตระเวนชายแดน ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพระราชดำริ ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

สำนักงานเกษตรพื้นที่ 2

สำนักงานเกษตรพื้นที่ 2

วันที่ 12 มกราคม 2567 สำนักงานเกษตรพื้นที่ 2 ขอรับบริการสื่อเอกสาร/แผ่นพับ จำนวน 1,500แผ่น/เล่ม สำหรับจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี Field Day

กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร

กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร

วันที่ 6 ธันวาคม 2566 กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ขอรับบริการสื่อเอกสารคำแนะนำ จำนวน 2,170 แผ่น/เล่ม สำหรับเผยแพร่กิจกรรมงานวันดินโลก