ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร

ปลูกแตงโมหลังทำนา สร้างอาชีพ การเตรียมดินไถดะตากดิน 7 วัน และไถพรวนยกร่อง ระยะปลูก 40-50 เซนติเมตร ระยะแถว 3 เมตร ใส่ปุ๋ยคอก 1 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ พ่นไตรโคเดอร์มา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนมกราคม 2568 ฟรี วันที่ 7 มกราคม 2568วันที่ 8 มกราคม 2568วันที่ 9 มกราคม 2568 หลักสูตร พืชพันธุ์ดี 4 สายการผลิต เพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ได้แก่1.การผลิตต้นพันธุ์ พริกเดือยไก่

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมแหนแดง การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดง วันที่ 23 มกราคม 2568กิจกรรม : อบรมการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันที่ 24 มกราคม 2568กิจกรรม : การศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงตามหลักวิชาการณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มีวิธีการหรือขั้นตอนหลากหลายตามลักษณะสกุลหรือพันธุ์ที่ต้องการ หากเกษตรกรหรือผู้สนใจปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์ใด จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์นั้น ๆ ก่อน โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 2 เอกสาร ด้านล่าง สวนกล้วยไม้ GAP สำหรับเกษตรกรคลิกอ่าน : https://bit.ly/40rr54E การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แบบมืออาชีพคลิกอ่าน : https://bit.ly/3NXdDPU

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร

หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)วงศ์ : Noctuidaeอันดับ : Lipidoptera วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน ลักษณะการทำลายเมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ

รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วม โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เงื่อนไขเข้าร่วมโครงการ เอกสารการสมัคร **สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบจำนวน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนเกษตรกรทำการเกษตรแบบปลอดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จัดการแปลงเกษตรปลอดการเผา มุ่งสู่มาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มสินค้าคาร์บอนต่ำ ช่วยให้อากาศสะอาด ไม่ก่อฝุ่นละออง PM2.5 ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย “3R Model”

บันทึกเทปสัมภาษณ์รายการเนชั่นอาสา เนชั่นทีวี

บันทึกเทปสัมภาษณ์รายการเนชั่นอาสา เนชั่นทีวี

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกเทปสัมภาษณ์รายการเนชั่นอาสา เนชั่นทีวี ในประเด็นการบริหารจัดการทุเรียน มาตรการทุเรียนอ่อน และการส่งต่อโมเดลการจัดการทุเรียนอ่อนภาคตะวันออกสู่การจัดการไม้ผลภาคใต้ ปี 2566 ณ ห้องศูนย์บริการร่วม อาคาร 1 ชั้น 1 กรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกวีดิทัศน์ เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร”

บันทึกวีดิทัศน์ เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร”

วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกวีดิทัศน์ เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร” ณ ห้องศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อใช้ในงานแถลงข่าวในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ทั้งนี้ โครงการวิจัยฯ ดังกล่าว เพื่อขยายผลเทคโนโลยีการผลิตและใช้แหนแดงสู่เกษตรกร ให้เกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) สามารถผลิตและใช้ประโยชน์จากแหนแดงได้ และให้ ศดปช.เป็นต้นแบบการผลิตและขยายผลการใช้แหนแดงไปสู่ชุมชนต่อไป

เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร”

เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร”

วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกวีดิทัศน์ เปิดตัวโครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร” ณ ห้องศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อใช้ในงานแถลงข่าวในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ทั้งนี้ โครงการวิจัยฯ ดังกล่าว เพื่อขยายผลเทคโนโลยีการผลิตและใช้แหนแดงสู่เกษตรกร ให้เกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) สามารถผลิตและใช้ประโยชน์จากแหนแดงได้ และให้ ศดปช.เป็นต้นแบบการผลิตและขยายผลการใช้แหนแดงไปสู่ชุมชนต่อไป ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ภาพ : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

บันทึกเทปสัมภาษณ์ ประเด็น “การขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร”

บันทึกเทปสัมภาษณ์ ประเด็น “การขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร”

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บันทึกเทปสัมภาษณ์ ประเด็น “การขับเคลื่อนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร” เพื่อเผยแพร่ข่าวโทรทัศน์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี รายการข่าวเช้าหัวเขียว ณ ห้องศูนย์บริการร่วม อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร สำหรับโรงเรียนเกษตรกร (Farmer Field School : FFS) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกษตรกรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่นำมาใช้ในการส่งเสริมการเกษตรให้เกษตรกรร่วมกันคิดวิเคราะห์ ประมวลผล แก้ปัญหา และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนร่วมกัน เริ่มตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว เป้าหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี คุ้มค่ากับการลงทุน ปลอดภัยต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการเกษตรใช้กระบวนการโรงเรียนเกษตรกรเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรสู่เกษตรกร เพื่อเปลี่ยนเกษตรกรจากผู้รับเป็นผู้ยอมรับวิธีการและเทคโนโลยีด้วยตนเอง เป็นรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยการปฏิบัติจริง ทดลองทำเอง นำไปสู่การตัดสินใจดำเนินการได้อย่างเหมาะสมด้วยตัวเกษตรกรเอง จนสามารถขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ ด้วยกันเอง ในปี 2566 มีการจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกร จำนวน 79 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย พืชผัก 32 แห่ง ข้าว 24 แห่ง ไม้ผล 15 แห่ง พืชไร่ 5 แห่ง ไม้ยืนต้น 2 แห่ง และไม้้ดอก 1 แห่ง จากการดำเนินงานที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรมาขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรด้านการจัดการศัตรูพืช ในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านการผลิตข้าว ไม้ผล และพืชผัก เพื่อต้องการให้้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหา ด้านศัตรูพืช และจัดการผลผลิตพืชให้มีคุณภาพดี ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามความต้องการของตนเอง และขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ ในพื้นที่่ใกล้เคียงต่อไปได้ ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ภาพ : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร