ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

นายยุทธพงษ์ รัตนวิทย์ เกษตรกรต้นแบบ ได้นำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ เช่น โรงเรือนปลูกพืชและระบบน้ำ มีการวางระบบน้ำในแปลงปลูกพืชผัก เช่น ระบบน้ำหยดและมินิสปริงเกอร์ และระบบการให้น้ำอัจฉริยะ (Handy Sense) มาใช้ในโรงเรือนปลูกผัก สามารถประหยัดเวลาในการให้น้ำ เพิ่มความแม่นยำในการควบคุมปริมาณน้ำให้แก่พืชผัก ทำให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูง และสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี สามารถกำหนดปริมาณน้ำให้เหมาะสมและเพียงพอ ตามชนิดพืชที่ปลูกได้ เมื่อพืชได้รับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยให้ผลผลิตสม่ำเสมอ เกษตรกรได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ในราคาที่จับต้องได้จากการติดตั้งใช้งานจริงและพิสูจน์แล้วว่า Handy

ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P) ในแต่ละชนิด 18-46-0 แม่ปุ๋ย DAP (ไดแอมโมเนียมฟอสเฟส) มีธาตุอาหารในรูปแอมโมเนียม-ไนโตรเจน 18% และมีฟอสฟอรัสในรูปของ phosphorus pentoxide 46% เป็นแม่ปุ๋ยที่นิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผสมและผลิตปุ๋ย มีคุณสมบัติช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ช่วยในการเร่งการแตกราก และช่วยบำรุงต้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับไม้ดอก ในช่วงระยะการเร่งออกดอก บำรุงดอก ช่วยให้ดอกสมบูรณ์แข็งแรง เกสรสมบูรณ์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ลักษณะอากาศเฉลี่ยที่หมายรวมถึงลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอากาศทั้งหมด เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม ที่มีการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่หนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมมาจากกิจกรรมมนุษย์ สถานการณ์ภัยแล้งประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวน อาจส่งผลกระทบเป็นชนวงกว้างให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคลิกอ่าน : https://bit.ly/3CA9fTQ เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร?คลิกอ่าน : https://bit.ly/3TtaHvY

วัชพืชในนาข้าว หญ้าข้าวนกลักษณะเด่น : ขณะต้นเล็กคล้ายข้าวมาก รอยต่อระหว่างใบและกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝน หญ้าแดงลักษณะเด่น : ลำต้น แนบพื้นดินและชูยอดขึ้น ช่อดอกติดกันแน่นคล้ายธูป หญ้าดอกขาวลักษณะเด่น : รอยต่อระหว่างใบและกาบใบมีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแฉก หญ้านกสีชมพูลักษณะเด่น : ลำต้น ใบ และดอก บางทีมีสีชมพู รอยต่อระหว่างใบ และกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝนและเขี้ยวกันแมลง ผักปอดนาลักษณะเด่น

โทษจากการเผาในพื้นที่การเกษตร กฎหมายอาญา มาตรา 220 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560)“ผู้ใดทำให้เกิดไฟไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท” ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุเกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระะวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ฟรี วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร การคัดเลือกแม่พันธุ์และการขยายกล้วยพันธุ์ดีหน่วยงาน : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลกหมายเลขโทรศัพท์ : 0 5590 6220 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร

“กระเจียวหวาน” เพชรน้ำผึ้ง พืชสร้างรายได้ นางประดิษฐ์ บุญเกษม เกษตรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ศาสตร์พระราชา โคก หนอง นาโมเดล “สวนดอกกระเจียว” หมู่ 21 ตำบลตาหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เริ่มปลูกกระเจียวเพชรน้ำผึ้งในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อสร้างรายได้เสริม ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น

ใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุน ปรับสมดุลดิน ประโยชน์ของแหนแดง จัดทำโดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี มกราคม ; 2568

วันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 350เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่


หนอนกระทู้ผัก (common cutworm)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lipidoptera

วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน

  • ระยะไข่ 3-4 วัน
  • ระยะหนอน 10-15 วัน
  • ระยะดักแด้ 7-10 วัน
  • ระยะตัวเต็มวัย 5-10 วัน

ลักษณะการทำลาย
เมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ หรือใต้ดิน

วิธีการป้องกันกำจัด

การเขตกรรม

  • ไถพรวนดิน ตากดินไว้อย่างน้อย 7-14 วัน ก่อนปลูกพืชฤดูกาลถัดไป และเก็บเสษซากพืชอาหาร เพื่อกำจัดดักแด้ และลดแหล่งอาหารของหนอนกระทู้ผัก
  • ใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน ขนาด 16 mesh หรือปลูกผักกางมุ้ง

การใช้วิธีกล

  • เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย จะสามารถลดการระบาดของหนอนกระทู้ผักได้

การใช้สารเคมี
เลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง ตามอัตราแนะนำ ได้แก่

  • chlorfenapyr 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • indoxacarb 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • flubendiamide 20% WG อัตรา 6 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
  • Chlorantraniliprole 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

การใช้ชีววิธี

ระยะหนอน

  • ใช้เชื้อราบิวเวอเรียฉีดพ่น อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 80 ลิตร ในช่วงเย็น โดยฉีดพ่นทุก 15 วัน และฉีดพ่นให้สัมผัสตัวหนอนมากที่สุด
  • ใช้เชื้อบีที Bacillus thuringiensis เมื่อพบการระบาด ในอัตรา 60-100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 3-5 วัน กรณีระบาดรุนแรง ฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้น ฉีดพ่นทุก 5 วัน จนกระทั่งหนอนลดการระบาดลง
  • ใช้เชื้อไวรัสเอ็นพีวีสำหรับหนอนกระทู้ผัก ในอัตรา 40-50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ควรฉีดพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็ก กรณี ระบาดรุนแรง ฉีดพ่น อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ติดต่อกัน 2 ครั้ง ทุก 4 วัน
  • ใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) ในอัตรา 50 ล้านตัว ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 วัน
  • แมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต อัตราปล่อย 200 ตัวต่อไร่

ระยะดักแด้

  • ใช้เชื้อราเมตาไรเซียม ฉีดพ่นหรือใส่ทางดิน อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 80 ลิตร

เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

หนอนกระทู้ผัก