ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

วันที่ 13 มกราคม 2568 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ชิ้น เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ ๒๖,๔๖๙ วัน เป็นสมมงคล พระชนมายุเท่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี ๑๔ มกราคม ๒๕๖๘

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง


หนอนกระทู้ผัก (common cutworm)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lipidoptera

วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน

  • ระยะไข่ 3-4 วัน
  • ระยะหนอน 10-15 วัน
  • ระยะดักแด้ 7-10 วัน
  • ระยะตัวเต็มวัย 5-10 วัน

ลักษณะการทำลาย
เมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ หรือใต้ดิน

วิธีการป้องกันกำจัด

การเขตกรรม

  • ไถพรวนดิน ตากดินไว้อย่างน้อย 7-14 วัน ก่อนปลูกพืชฤดูกาลถัดไป และเก็บเสษซากพืชอาหาร เพื่อกำจัดดักแด้ และลดแหล่งอาหารของหนอนกระทู้ผัก
  • ใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน ขนาด 16 mesh หรือปลูกผักกางมุ้ง

การใช้วิธีกล

  • เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย จะสามารถลดการระบาดของหนอนกระทู้ผักได้

การใช้สารเคมี
เลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง ตามอัตราแนะนำ ได้แก่

  • chlorfenapyr 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • indoxacarb 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
  • flubendiamide 20% WG อัตรา 6 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
  • Chlorantraniliprole 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

การใช้ชีววิธี

ระยะหนอน

  • ใช้เชื้อราบิวเวอเรียฉีดพ่น อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 80 ลิตร ในช่วงเย็น โดยฉีดพ่นทุก 15 วัน และฉีดพ่นให้สัมผัสตัวหนอนมากที่สุด
  • ใช้เชื้อบีที Bacillus thuringiensis เมื่อพบการระบาด ในอัตรา 60-100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก 3-5 วัน กรณีระบาดรุนแรง ฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้น ฉีดพ่นทุก 5 วัน จนกระทั่งหนอนลดการระบาดลง
  • ใช้เชื้อไวรัสเอ็นพีวีสำหรับหนอนกระทู้ผัก ในอัตรา 40-50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ควรฉีดพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็ก กรณี ระบาดรุนแรง ฉีดพ่น อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ติดต่อกัน 2 ครั้ง ทุก 4 วัน
  • ใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) ในอัตรา 50 ล้านตัว ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 วัน
  • แมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต อัตราปล่อย 200 ตัวต่อไร่

ระยะดักแด้

  • ใช้เชื้อราเมตาไรเซียม ฉีดพ่นหรือใส่ทางดิน อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 80 ลิตร

เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

หนอนกระทู้ผัก