ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง (ลิ้นจี่จักรพรรดิเชียงใหม่) จ.เชียงใหม่ ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง เป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ มากกว่า 60 ปี ด้วยรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู จึงเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ปลูกในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย และอำเภอไชยปราการ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ

มะนาวยักษ์พม่า

มะนาวยักษ์พม่า ผลขนาดใหญ่ ผลดก ให้น้ำเยอะ ลักษณะเด่นมะนาวพม่าหรือมะนาวยักษ์ มีผลขนาดใหญ่คล้ายผลส้มโอ น้ำหนักเฉลี่ยประมาณลูกละครึ่งกิโลกรัม สามารถนำมาคั้นเพื่อรับประทานสด ๆ หรือใช้ปรุงอาหารได้ แต่ไม่ค่อยมีกลิ่นหอม จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก และมีการนำไปปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ ลักษณะต้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นสูง ประมาณ 3-5 เมตร การแตกกิ่งไม่ค่อยเป็นระเบียบ การขยายพันธุ์พืชและการดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้ใช้ผลเป็นยาช่วยบรรเทาอาการปวดหัว แก้อาเจียน ขับเสมหะ

มะนาวตาฮิติ

มะนาวตาฮิติ มะนาวไร้เมล็ด หรือมีก็น้อยมาก ผลรูปกลมคล้ายหยดน้ำ ผลใหญ่ รสเปรี้ยว ปริมาณน้ำมาก ลักษณะเด่นมะนาวตาฮิติเป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากเกาะตาฮิติ รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามาเพื่อศึกษา ปลูก และขยายพันธุ์ พบว่า มะนาวพันธุ์นี้เติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของไทย ผลมีขนาดใหญ่มาก เปลือกหนา เมื่อแก่จัดก็ยังมีสีเขียวเข้มเหมือนเดิม มีน้ำมากกว่ามะนาวชนิดอื่น จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จุดเด่นคือผลใหญ่ ให้น้ำมาก

มะนาวแป้นพิจิตร 1

มะนาวแป้นพิจิตร 1 ลักษณะเด่นผสมพันธุ์ขึ้นใหม่ โดยนักวิชาการไทยจากศูนย์วิจัยพืชสวน ซึ่งใช้มะนาวแป้นรำไพเป็นแม่พันธุ์ผสมกับมะนาวน้ำหอม ลักษณะเด่นคือทนต่อโรคแคงเกอร์ได้ดี ปลูกง่าย ต้นเตี้ย ติดดอก ติดผลตลอดปี ติดผลเป็นพวง พวงละ 3-5 ผล ผลดก ผลใหญ่ ผิวสวย น้ำมาก น้ำมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวจัด จึงนิยมปลูกอย่างแพร่หลาย ลักษณะต้นเป็นไม้พุ่มสูง

สำนักพัฒนาสังคม

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 1,750 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้เรื่องการลดการเผาตอซังข้าวและวัสดุทางการเกษตร

แมกนีเซียม (Mg) กับการเจริญเติบโตของพืช เป็นธาตุที่มีส่วนสำคัญของคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง และเป็นธาตุที่สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้ คลอโรฟิลล์ในพืชมีความคล้ายกับฮีโมโกลบินในเลือดมนุษย์ โดยคลอโรฟิลล์ประกอบด้วย ธาตุแมกนีเซียม (Mg) ส่วนฮีโมโกลบิน มีธาตุเหล็ก (Fe) เป็นส่วนสำคัญ หน้าที่ การขาดแมกนีเซียมในพืช พบที่ใบแก่ อาการเส้นสีเหลืองระหว่างใบ การแก้ปัญหาอาการขาดธาตุแมกนีเซียมในพืช ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประโยชน์ของนาดำ

การปลูกข้าวแบบนาดำ หมายถึง การทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ก่อน เรียกว่า การเพาะกล้า เมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการ จะถอนต้นกล้าไปปักดำในพื้นที่นาที่เตรียมไว้ แต่ข้อเสียวิธีนี้ ต้องใช้แรงงานมาก ประโยชน์ของนาดำ ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว

สมบัติของดินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช สมบัติของดินทั้ง 3 ด้าน มีการเกื้อหนุนกันเป็นวัฏจักร ดินมีโครงสร้างที่ดี ส่งผลให้มีสมบัติทางเคมีที่ดี โดยเฉพาะการจัดเก็บธาตุอาหารไว้ให้พืชและสิ่งมีชีวิตในดิน ยังช่วยเกื้อหนุนสมบัติของดินให้ดี สุดท้ายจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีของพืช ดังนั้น หากดินมีปัญหาด้านใด ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข และต้องทำก่อนใส่ปุ๋ย เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ กายภาพ เคมี ชีวภาพ ที่มา : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

การทำนาแห้ว

แผ่นพับที่ 6/2567 การทำนาแห้ว ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี แห้วที่ปลูกในปัจจุบันคือ “แห้วพันธุ์จีน” มีลำต้นคล้ายต้นหอมหรือใบกก ลักษณะปลูกคล้ายข้าว แห้วจีนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยคาดการณ์ว่าอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีการนำไปปลูกยังเขตร้อนต่าง ๆ หลายประเทศ ซึ่งแหล่งปลูกแห้วจีนที่ใหญ่ที่สุดคือจังหวัดสุพรรณบุรี และถือเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นที่สำคัญ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

แป้งเท้ายายม่อม

แป้งเท้ายายม่อม

แผ่นพับที่ 5/2567 แป้งเท้ายายม่อม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดชลบุรี “เท้ายายม่อม” พืชพื้นเมืองประเภทแป้งชนิดหนึ่ง เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติด้านพืชพรรณที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของพืชท้องถิ่นในประเทศไทย พบมากบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนในภาคกลางและภาคตะวันออก จะพบขึ้นกระจายในธรรมชาติบริเวณป่าผลัดใบต่าง ๆ ป่าดิบแล้งที่เป็นดินทราย และบริเวณที่มีร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกพบได้ตั้งแต่ป่าละเมาะ หาดทราย ไปจนถึงบนเขาหินปูนที่ไม่สูงมากนัก เท้ายายม่อมจัดเป็นพืชล้มลุกฤดูเดียวโดยธรรมชาติ มีระยะเวลาการเจริญเติบโตอย่างน้อย 3 ปี ขึ้นไปจากเมล็ดเป็นพืชที่มีหัวสะสมแป้ง นิยมนำหัวมาผลิตเป็นแป้ง เรียกว่า “แป้งเท้ายายม่อม” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการทำมาแต่โบราณ โดยแป้งที่ได้จะมีเนื้อละเอียด เมื่อถูกความร้อนจะมีความใส แวววาว และหนืดเหนียวพอเหมาะ นิยมนำมาทำขนมหวาน ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

สาคูและการผลิตแป้งสาคู

สาคูและการผลิตแป้งสาคู

แผ่นพับที่ 9/2567 สาคูและการผลิตแป้งสาคู ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดตรัง สาคู เป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่พบอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบอินโดนีเซีย ซึ่งในประเทศไทยพบต้นสาคูได้ในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรถึงจังหวัดนราธิวาสและในบางพื้นที่ของจังหวัดในภาคตะวันออก สาคูมีความสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศ พื้นที่ของป่าสาคูเป็นแหล่งซับน้ำที่ชาวบ้านจะได้มีน้ำใช้ในภาคเกษตรและด้านอื่น ๆ ช่วยชะลอการไหลบ่า และยังเป็นแหล่งบ่มสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ระบบนิเวศ เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

การเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า

การเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร ปี 2566 การเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประชาสัมพันธ์ หนังสือ e-Book ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

ประชาสัมพันธ์ หนังสือ e-Book ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

ประชาสัมพันธ์ หนังสือ e-Book น่าอ่าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 6 เรื่อง1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร การผลิตเกลือ2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร การผลิตน้ำตาล3. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานส่งเสริมการเกษตร4. ไขความลับเท้ายายม่อม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร5. ไขความลับสาคู ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร6. 77 ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั่วไทย อ่านรายละเอียด คลิก https://anyflip.com/bookcase/jnhuk—————จัดทำโดย : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร