ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

โรคแส้ดำอ้อย

โรคแส้ดำอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Ustilago scitaminea การแพร่ระบาดเชื้อรานี้จะอาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคผงสปอร์จากแส้ดำจะระบาดโดยปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้นเชื้อราจะอาศัยอยู่ในดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน ลักษณะอาการต้นอ้อยส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งและยาวคล้ายแส้สีดำ ตอที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกร็นคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอ พันธุ์ต้านทานโรคที่ปลูกในปีแรก อาจมีอาการแส้ดำเพียงบางยอด เจริญเติบโตได้ตามปกติและในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคจะมีอาการลำต้นผอมเรียว ใบเล็กแคบยาวคล้ายต้นหญ้าพง ให้ผลผลิตน้อย ความเสียหายและความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นในอ้อยตอรุ่นต่อไป การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย :

เพลี้ยไฟในข้าว

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 2,913 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

กลุ่มพืชและชนิดพืชแนะนำที่สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูแล้ง กลุ่มพืชไร่ จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชสมุนไพร จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กลุ่มพืชผัก จำนวน 31 ชนิด ได้แก่ เรียบเรียงโดย

เกษตรกรไทยร่วมใจ หยุดเผา ในพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย 3R Model : 3 เปลี่ยน 1.เปลี่ยนพฤติกรรม Re-Habitปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ชนิดเดิมแบบไม่เผา โดยการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยว และส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดการเผา 2.เปลี่ยนชนิดพืช Replace with High Value Cropsปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกบนพื้นที่สูง จากพืชไร่เป็นไม้ผล

46-0-0ยูเรีย คือ มีไนโตรเจนรูปยูเรียเท่ากับ 46% โดยไม่มีธาตุอาหารรอง-เสริม อื่น ๆ ตอบสนองต่อพืชได้เร็ว มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้พืชโตเร็ว ใบเขียวเข้ม ให้ปริมาณไนโตรเจนต่อน้ำหนักปุ๋ยเคมีมากที่สุด แต่มีข้อจำกัด คือ ถ้าใส่มากเกินความต้องการของพืช จะทำให้ต้นพืชมีอาการอวบน้ำ และอาจเกิดโรคได้ง่าย 27-0-0แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท คือ มีรูปปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 รูปแบบ

แหนแดง พืชน้ำมหัศจรรย์ แหนแดง สายพันธุ์ไมโครฟิลล่า (MICROPHYLLA)เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการตรึงไนโตรเจน จากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (CYANOBACTERIAL) ที่อยู่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำแหนแดงไปตากแห้ง (น้ำหนักแห้ง 150 กิโลกรัม) มีปริมาณไนโตรเจน 6.0-4.5 กิโลกรัม เป็นทางเลือกสำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงผักอินทรีย์ วิธีการขยายพันธุ์ ประโยชน์ของแหนแดง เรียบเรียง : สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเย็น

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชตระกูลแตง ในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงโม เมล่อน แคนตาลูป ฟักทอง มะระจีน และบวบ แมลงวันหนอนชอนใบมักพบตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กสีเหลืองอ่อนโปร่งใสอยู่ภายในเนื้อเยื่อใบพืช กรณีระบาดรุนแรง จะทำให้ใบเสียหายและร่วงหล่น ซึ่งอาจมีผลต่อผลผลิตได้ การป้องกันกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบให้เกษตรกรเก็บเศษใบพืชที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เนื่องจากหนอนชอนใบและดักแด้หนอนชอนใบที่อาศัยอยู่ตามเศษใบพืชบนพื้นดินจะถูกทำลายไปด้วย จากนั้นให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ด้วงเต่าแตงแดงจะพบตัวด้วงเข้าทำลายแทะกัดกินใบยอด หากระบาดรุนแรง

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนธันวาคม 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เพลี้ยหอยเกล็ด

เพลี้ยหอยเกล็ด

เพลี้ยหอยเกล็ด พบการระบาดในแปลงมันสำปะหลังที่ใกล้เก็บเกี่ยว หรือพบในต้นมันสำปะหลังที่กองสุมไว้ทำพันธุ์ โดยเพลี้ยหอยเกล็ดมีลักษณะเกล็ดสีขาวนูน ขึ้นปกคลุมเกือบทุกส่วนของมันสำปะหลัง ทั้งส่วนยอด ลำต้น กิ่ง เหง้า และหัว กรณีที่มีการปลูกมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยหอยเกล็ดติดไปกับท่อนพันธุ์ การระบาดจะมีความรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 20% ส่วนลักษณะการทำลาย เพลี้ยหอยเกล็ดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ใบเหลืองและร่วง แคระแกร็น หากมีเพลี้ยหอยเกล็ดปกคลุมทั้งลำต้น ทำให้ลำต้นแห้งตาย การแพร่ระบาดติดไปกับท่อนพันธุ์ และเกษตรกรที่ปฏิบัติงานในแปลงที่มีการระบาดและเครื่องมือทางการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1) สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ 2) เลือกต้นมันสำปะหลังที่ไม่มีเพลี้ยหอยเกล็ดไปทำพันธุ์ 3) อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่าลายฟาโรสคิมนัส Pharoscymnus simmondsi Ahmad (แมลงตัวห้ำ) 4) แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยวิธีการเดียวกันกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ด้วยสารไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนทีฟูแร

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ที่พบในมันสำปะหลังมี 4 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งลาย เพลี้ยแป้งแจ็คเบียส เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว และเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู สำหรับเพลี้ยแป้งที่ทำความเสียหายให้กับมันสำปะหลังอย่างรุนแรงคือ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งเป็นแมลงศัตรูต่างถิ่น ลักษณะการทำลายเพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ยอด และตา ส่งผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมีขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่มันสำปะหลังอายุน้อย อาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายหรือไม่สามารถสร้างหัวได้ ซึ่งเพลี้ยแป้งนี้จะระบาดรุนแรงในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝน โดยเฉพาะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน แปลงที่มีการระบาดอย่างรุนแรงความเสียหายเกิดขึ้นเกือบ 100 % ส่วนการแพร่ระบาดนั้น ตัวอ่อนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสามารถเคลื่อนที่ได้จึงเคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่าง ๆ บนต้นมันสำปะหลัง มีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้นมันสำปะหลัง กระแสลมพัดพาไข่และตัวอ่อนไปยังต้นอื่น อีกทั้งท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเป็นสาเหตุหลักในการแพร่กระจายและติดไปกับเกษตรกรที่ปฏิบัติงานในแปลงที่มีการระบาดและเครื่องมือการเ

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา มีเพลี้ยจักจั่นเป็นพาหะ และต้นสาบม่วงเป็นพืชอาศัยของโรคพุ่มแจ้ ลักษณะอาการคล้ายกับการทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยเชื้อไฟโตพลาสมาจะทำให้ท่อลำเลียงอาหารอุดตัน ทำให้ส่วนยอดแคระแกร็น มีการแตกตาข้างมาก ยอดเป็นพุ่ม ใบเล็กลงสีเหลืองซีด และมีใบแห้งติดกิ่งหรือร่วงหล่น ใบที่เป็นโรคจะเริ่มแห้งตายจากใบล่างขึ้นไปถึงที่ปลายยอด ต่อมากิ่งก้านจะแห้งตายจากยอด ลำต้นแคระแกร็น ข้อปล้องสั้น และใบมีขนาดเล็กลง ในระยะเก็บเกี่ยว หากเชื้อลุกลามลงไปที่หัวมันสำปะหลังจะทำให้หัวมีเส้นสีน้ำตาลดำตามแนวยาวใต้เปลือก คุณภาพผลผลิตลดลง และเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ถ้าพบการระบาดรุนแรงมันสำปะหลังอาจยืนต้นตายได้ กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1) ใช้ท่อนพันธุ์ปลอดโรคจากแหล่งพันธุ์ที่ยังไม่มีการระบาด 2) ระยะ 1 เดือนหลังปลูกหากพบต้นแตกยอดเป็นพุ่มผิดปกติให้ถอนทิ้ง 3) ระยะ 4 เดือนหลังปลูกหากพบต้นที่แตกยอดพุ่มให้หักกิ่งต่ำจากบริเวณยอดพุ่มประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ทิ้งและพ่นสารกำจัดแมลงให้ทั่งแปลง เนื่องจากโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้โดยแมลงพาหะ เช่น เพลี้ยจักจั่น 4) กำจัด

โรคใบด่างมันสำปะหลัง

โรคใบด่างมันสำปะหลัง

โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan Cassava mosaic virus (SLCMV) มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ ลักษณะอาการของโรค ส่วนของยอดอ่อนหรือยอดที่เกิดใหม่จะแสดงอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม มีขนาดเรียวเล็ก หงิกงอ และเสียรูปทรง อาการบนใบส่วนที่ถัดลงมาจากยอดหรือใบแก่จะพบอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม หงิกงอ และเสียรูปทรง ความเสียหายจากโรคจะทำให้มันสำปะหลังไม่สร้างหัวสะสมอาหารหรือหัวมีขนาดเล็ก ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตลดลง กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1) ปลูกมันสำปะหลังที่ปลอดโรค และเป็นพันธุ์ทนทานโรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้แก่ พันธุ์ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 2)ไม่ควรปลูกพันธุ์อ่อนแอต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้แก่ ระยอง 11 และ CMR 43-08-89 3) สำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอหากพบต้นเป็นโรคกระจายทั่วแปลงให้ทำลายทั้งแปลง หากพบโรคเป็นหย่อม ให้ทำลายเฉพาะต้นเป็นโรค 4) ทำลายต้นมันสำปะหลังที่แสดงอาการของโรคใบด่างด้วย 3 วิธี ได้แก่ วิธีฝังกลบ วิธีใส่ถุง/กระสอบ และวิธีบดสับ 5) กำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ ถ้าพบแมลงหวี่ขาวยาสูบระยะตัวอ่อนมากกว่า

ตัวอ่อนด้วงดิน

ตัวอ่อนด้วงดิน

ด้วงดิน (ground beetles) อยู่ในวงศ์ Carabidae ทั้งระยะตัวหนอนและตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ตามพื้นดิน ตัวเต็มวัยบางชนิดสามารถไต่ขึ้นบนต้นพืช เพื่อไปกัดกินศัตรูพืชได้ โดยเกือบทั้งหมดเป็นแมลงตัวห้ำทั้งระยะหนอนและตัวเต็มวัยทำลายหนอน ดักแด้ผีเสื้อศัตรูพืช ไข่แมลง มักหากินตอนกลางคืน ตัวอ่อนด้วงดินตัวนี้เจอบ่อยในแปลงข้าวโพดที่มีหนอนกระทู้ข้าวโพดนะบาด ถ้าเจออย่าตกใจ เค้าช่วยกินหนอนให้เรานะคะ ภาพจาก : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี