ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

7 เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาพืชผักในฤดูฝน 2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด 5. การกำจัดวัชพืช ในฤดูฝนวัชพืชจะเจริญเติบโตได้ดีและเป็นที่อาศัยของโรคแมลงศัตรูพืช ควรหมั่นกำจัดวัชพืช 6. การรดน้ำแปลงผัก การรดแปลงผักด้วยน้ำปูนใส ช่วยให้กล้าผักมีความแข็งแรง แและเพิ่มอัตรารอดตายจากโรคพืชที่เข้าทำลายได้ 7. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียงโดย :

วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมลงพื้นที่ติดตามการเดินทางไปตรวจราชการของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้รับฟังสภาพปัญหาจากผู้แทนเกษตรกรชาวสวนปาล์ม หารือปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ และรับฟังข้อเสนอในการแก้ปัญหาของเกษตรกร รวมถึงรับชมกิจกรรมการซื้อขายปาล์มของลานเทชาวสวนปาล์มแปลงใหญ่ การตัดปาล์ม และการทำสวนปาล์มแบบเพิ่มมูลค่า โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีข้อสั่งการให้เร่งดำเนินการปรับโครงสร้างราคาปาล์มน้ำมันเพื่อความยั่งยืนของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์ม

Salicylic acid สารที่สามารถชะลอการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz) ในมะม่วงได้ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz) เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ที่มักจะเป็นปัญหาในมะม่วง โดยเข้าทำลายและแสดงอาการของโรคหลังการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้มะม่วงเสียคุณภาพ และสร้างความเสียหายได้ การใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม และโพรคลอราซเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดสาเหตุของโรคได้ แต่การพัฒนาแนวทางการควบคุมโรคอย่างปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะแนวทางในการกระตุ้นให้เกิด

โรครากเน่าโคนเน่ามันสำปะหลัง ลักษณะอาการ : ใบมันสำปะหลังแสดงอาการเหี่ยวเหลือง โคนต้นเน่าเป็นสีน้ำตาลหรือดำ บางพันธุ์โคนต้นจะมีการสร้างค้ำชูตรงรอยแตกของโคนต้น เมื่อถอนขึ้นมาหัวมันสำปะหลังแสดงอาการเน่า หากผ่าหรือหักหัวมันสำปะหลัง จะเห็นภายในสีน้ำตาล ในบางพันธุ์มีอาการเน่าที่อยู่ใต้ดิน โดยที่ส่วนของลำต้นและใบยังมีลักษณะปกติ หรือบางพันธุ์ถ้าอาการรุนแรงมันสำปะหลังอาจยืนต้นตายได้ เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง

โรคเหี่ยวเขียวหรือเหง้าเน่า ใบเหี่ยวและม้วนเป็นหลอดมีสีเหลือง โดยจะลุกลามจากส่วนล่างขึ้นไปยังส่วนปลายยอด และแห้งตายทั้งต้น บริเวณโคนต้น และหน่อที่แตกออกมาใหม่มีลักษณะฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เมื่อผ่าลำต้นตามขวาง จะพบเมือกของแบคทีเรียไหลซึมออกมาเป็นสีขาวขุ่น ลำต้นเน่าและหลุดออกจากเหง้าได้ง่าย อาการบนเหง้ามีลักาณะฉ่ำน้ำและสีคล้ำ ต่อมาเหง้าจะเน่า เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท

กรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2567 ขอเชิญชวนเกษตรกรขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน ตามกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2567 ตามชนิดพืชและพื้นที่ เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้ในการวางแผน พัฒนาภาคการเกษตร รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือตามโครงการและมาตรการของภาครัฐ สามารถดำเนินการได้ผ่านช่องทาง ดังนี้ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

ขอเชิญชวนเกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน เพื่อรักษาสิทธิ์ รับโอกาสและการช่วยเหลือจากภาครัฐ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

ขอเชิญชวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ ฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน

นาข้าวภาพจาก : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

ขนมถั่วทอดป่านทอง ภาพจาก : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

ต้นยางนาภาพจาก : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ลูกยางนาภาพจาก : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

ถั่วลิสง ภาพจาก : กลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร แปรรูปถั่วลิสง ภาพจาก :

มิโซะก้อน-เต้าเจี้ยว ภาพจาก : สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่

ผ้าฝ้ายทอมือ ภาพจาก : สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่