ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษาข้าวในช่วงฤดูฝน โรคข้าวที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคจากเชื้อรากลุ่มโรคจากเชื้อราพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน อาทิเช่น โรคไหม้ โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคลำต้นเน่า แนวทางป้องกัน : ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค อาทิเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มาหรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษาพืชผักในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษาพืชผักในช่วงฤดูฝน 1. หมั่นตรวจดูแปลงพืชผักสม่ำเสมอ2. ระบายน้ำในแปลงให้ไหลสะดวกไม่ท่วมขัง3. ใช้วัสดุคลุมแปลง เพื่อป้องกันหน้าดินและรากพืช4. เพิ่มปริมาณปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มช่องว่างในดิน5. รดน้ำด้วยน้ำปูนใส สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง6. เฝ้าระวังโรคและแมลง หากพบให้ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัด7. กำจัดวัชพืชในแปลง แต่งทรงพุ่ม ค้ำยันต้น โรคพืชผักที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน :

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน โรคกล้วยที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคตายพรายในกล้วย สาเหตุ : เกิดจากเเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense ลักษณะอาการ : ใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่ แสดงอาการเหี่ยวเหลืองจากขอบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้น และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน แนวทางป้องกัน :

พิลังกาสา ของดีเมืองสมุทรปราการและเครื่องดื่มพิลังกาสา สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ ขอแนะนำหนึ่งในของดีจังหวัดสมุทรปราการ “พิลังกาสา” พร้อมทั้งประโยชน์ และสรรพคุณทางยาของพิลังกาสา พิลังกาสา มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นต้นไม้ขนาดย่อม ความสูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งสาขาออกรอบต้น ขยายพันธุ์ด้วยพิธีเพาะเมล็ด ชอบดินทรายหรือดินเหนียว ประโยชน์ของพิลังกาสามีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเส้นเลือดอุดตัน เหมาะที่จะนำมาผลิตเป็น

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษามะม่วงในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษามะม่วงในช่วงฤดูฝน โรคมะม่วงที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคแอนแทรคโนสในมะม่วงสาเหตุ : เกิดจากเเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. ลักษณะอาการ : ใบอ่อนมีอาการเป็นจุดฉ่ำน้ำ และจะเปลี่ยนเป็นสีดำ บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวเล็กลงทำให้ใบบิดเบี้ยว แนวทางป้องกัน : ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค อาทิเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส

ปัจจัยความก้าวหน้า กลุ่มมะพร้าวแปลงใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยการบริหารจัดการทำมะพร้าวน้ำหอมท้องถิ่น โดยการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิผล ทั้งยังการันตีคุณภาพโดย GAP และองค์กรระหว่างประเทศเช่นเยอรมัน จนผลิตภัณฑ์มะพร้าวหอมฉุยปลอดภัย ได้คุณภาพ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในโครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้ามูลค่าสูงอีกด้วย

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง! เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทุกพื้นที่ ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสำรวจแปลงปลูกของตน 2.สังเกตลักษณะการทำลายของด้วงกัดใบคือ ใบเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีมูลด้วงบริเวณยอดของต้นมันสำปะหลัง และตัวด้วงมักอาศัยอยู่เป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนลำต้น 3.ป้องกันกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม คือ เก็บด้วงไปทำลาย 4. พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี (สารกลุ่ม1a)

ชวนอ่านเรื่องราวของ “มันสำปะหลัง” และ “ศัตรูของมันสำปะหลัง” เนื่องจากช่วงนี้มีการระบาดในหลายพื้นที่ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 1.คำแนะนำการป้องกันกำจัด หนอนกระทู้…ในมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/4ccGaL22.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/44kBVbU3.ศัตรูมันสำปะหลังและการจัดการคลิกอ่าน : https://bit.ly/3uG8XqJ4.ศัตรูธรรมชาติในแปลงมันสำปะหลังคลิกอ่าน : https://bit.ly/3J70pMW

พันธุ์มันสำปะหลัง ทนทานต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง ระยอง 72 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบยอดอ่อนสีม่วง ไม่มีขน ก้านใบแดงเข้ม แผ่นใบเป็นใบหอกลักษณะเด่น : เจริญเติบโตเร็วในช่วงแรก ผลผลิตหัวสดสูง ต้นพันธุ์ยาวแข็งแรง สภาพดินที่เหมาะสม : ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง เช่น ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนเหนียว ดินเหนียวสีดำและแดง ความต้านทานต่อศัตรูพืช

มันสำปะหลังเน่าและต้นมีอาการเหลือง ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

แมลงช้างปีกใส ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ

มวนพิฆาต มวนพิฆาตดูดกินเพลี้ยจั้กจั่นสีเขียว มวนเพชฌฆาตกินพวกเดียวกันเอง กินด้วงเต่าสีสัม(ตัวห้ำที่ดี)เนื่องจากไม่มีหนอนให้เค้ากิน

โรคลำต้นจุดสีน้ำตาลในแก้วมังกร ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง

เอกสารเรื่อง การเลี้ยงผึ้ง ที่มา : กองส่งเสริมโครงการพระราชดําริ การจัดการพืนทีและวิศวกรรมเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.