ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “พืชสู้แล้งเงินล้าน” บทที่ 7 การจัดการทางการเงินสำหรับเกษตรกร ผลิตโดย: สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรAM 1386 KHz. / https://www.am1386.com

บทที่ 6 ฟักทอง

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “พืชสู้แล้งเงินล้าน” บทที่ 6 ฟักทอง ผลิตโดย: สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรAM 1386 KHz. / https://www.am1386.com

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “พืชสู้แล้งเงินล้าน” บทที่ 5 การปลูกแตงโมยงสัตว์ ผลิตโดย: สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรAM 1386 KHz. / https://www.am1386.com

โรครากปมในนาข้าว สาเหตุ : ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne graminicola อาการ มักเกิดในสภาพไร่และแปลงกล้าซึ่งปล่อยให้น้ำแห้ง เมื่อไส้เดือนฝอยตัวอ่อนระยะที่ 2 ฝังหัวเข้าไปที่ปลายรากอ่อนจะปล่อยสารออกมากระตุ้น ให้เนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ นั้นแบ่งตัวเร็ว และมากกว่าปกติ นอกจากนี้จะมีเซลล์ขนาดใหญ่เกิดขึ้น เนื่องจากไส้เดือนฝอยปล่อยน้ำย่อยไปย่อยผนังเซลล์หลายเซลล์ ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ขนาดใหญ่ขึ้นมา และมันจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์นี้ ทำให้เกิดรากพองขึ้นเป็นปม เมื่อปลายรากเกิดปมขึ้นแล้ว รากนั้นก็จะไม่เจริญต่อไป

โรคผลเน่าทุเรียน (Fruit Rot) อาการ บริเวณปลายผล หรือก้นผลมักพบจุดช้ำสีน้ำตาลปนเทา ต่อมาขยายเป็นวงกลมหรือค่อนข้างรี ไปตามรูปร่างผลแผลดังกล่าวอาจพบได้ตั้งแต่ผลคงอยู่บนต้น แต่ส่วนใหญ่มักพบเกิดกับผลในช่วง ประมาณ 1 เดือน ก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และในระหว่างบ่มผลให้สุก วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

ไรสี่ขามะพร้าว (Coconut mite) หากเกษตรกรพบว่าผลมะพร้าวมีอาการเป็นแผลแห้งสีน้ำตาลเป็นทางยาว ปลายแผลเป็นมุมแหลม โดยเฉพาะบริเวณขั้วผลอ่อน โดยเมื่อสังเกตแล้วไม่พบตัวไร เนื่องจากไรสี่ขาเป็นไรที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้น ให้รีบแจ้งหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน เพื่อหาแนวทางควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง เนื่องจากไรชนิดนี้สามารถเป็นพาหนะนำโรคไวรัสไวรอยด์ และสามารถเข้าทำลายพืชที่สำคัญชนิดอื่น ๆ ได้หลายชนิด วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช

โรคใบขีดสีน้ำตาลข้าว (Narrow Brown Spot Disease) เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Cercospora oryzae l. Miyake อาการ ลักษณะแผลที่มีใบมีสีน้ำตาลเป็นขีด ๆ ขนานไปกับเส้นใบข้าว มักพบในระยะข้าวแตกกอ แผลไม่กว้างตรงกลางเล็กและไม่มีรอยช้ำที่แผล ต่อมาแผลจะขยายมาติดกัน แผลจะมีมากตามใบล่างและปลายใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตายจากปลายใบก่อน ต้นข้าวที่เป็นโรครุนแรงจะมีแผลสีน้ำตาลที่ข้อต่อใบได้เช่นกัน

หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer) หนอนกออ้อย ทำลายอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะอ้อยแตกกอทั้งอ้อยปลูกใหม่และอ้อยตอ ระบาดรุนแรงในสภาพที่อุณหภูมิสูง ความชื้นต่ำ ภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนทิ้งช่วง หนอนกออ้อย ที่สำคัญที่พบเข้าทำลายอ้อย มี 3 ชนิด คือ วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

แนวคิดระบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” สำหรับเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่บนพื้นฐาน คือ ความพอเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย การรวมกลุ่มรวมพลัง เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย ชวนอ่านเรื่องราวแบบละเอียด ใน 3 เอกสารแนะนำดังนี้ 1.เศรษฐกิจพอเพียง กับภาคการเกษตรคลิกอ่าน : https://esc.doae.go.th/sufficient_economy/ 2.เศรษฐกิจพอเพียง

ปลวกในไร่อ้อย ปลวกเป็นแมลงที่เข้าทำลายอ้อยได้ทุกระยะการเจริญเติบโต เริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ท่อนพันธุ์อ้อยตอนปลูก โดยเข้าไปกัดกินอยู่ภายในท่อนพันธุ์ ทำให้อ้อยไม่งอก และแห้งตายไป เมื่ออ้อยโตมีลำแล้วจะเข้าไปกัดตรงระดับต่ำกว่าผิวดินเล็กน้อยอยู่ภายในลำตันอ้อย ทำเป็นต้นอ้อยเป็นโพรงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

เพลี้ยไฟในทุเรียน เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง

เพลี้ยไฟเข้าทำลายผักสลัด คำแนะนำในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ดังนี้ 1. เมื่อมีการระบาดของเพลี้ยไฟอย่างรุนแรงให้ใช้สารสกัดใบยาสูบ ฉีดพ่นทุก 2-3 วัน

เพลี้ยไฟในข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภาพจาก : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0rNFmQ8CrJPWdGZGGoX6Y4JAcu2arA3mnQxBPpxdkvGf3foH6JQkhMU9H2ztVZ4JSl&id=100013463325204

โรคใบจุดขอบใบไหม้ในทุเรียน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Phomopsis sp. โดยเชื้อจะเข้าทำลายที่ปลายใบและขอบใบไม้ จุดที่เกิดโรคจะมีเนื้อใบไม้ที่แห้งเป็นสีน้ำตาลแดงก่อนและต่อมาเปลี่ยนเป็นสี ขาวอมเทา และเมื่อเชื้อเจริญเติบโตจะทำความเสียหายกับใบทุเรียน

โรคในแปลงกล้วยตานี ใบล่างของกล้วยมีอาการจุดสีดำประปราย และเริ่มลุกลามทำให้ใบเหลืองแห้ง แต่ยังไม่พบยืนต้นตาย เมื่อตัดลำต้นกล้วยไม่พบแผลหรือรอยช้ำ ไม่พบรอยเจาะของด้วงงวงเจาะลำต้นกล้วย จึงสันนิษฐานว่ากล้วยเป็นโรคใบจุด แนะนำให้หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ