ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เตือนเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระวัง “หนู” สัตว์ศัตรูพืช ระบาดในพื้นที่การเกษตร การป้องกันและกำจัด เรียบเรียง :  กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

การเพาะกล้าผัก

การเพาะกล้าผัก วัสดุเพาะ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

สำนักงานเกษตรอำเภอแก่งคอย​ จังหวัดสระบุรี ประชาสัมพันธ์​เกษตรกรและประชาชนทั่วไป​ ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่​ ในพระราชานุเคราะห์ฯ ครั้งที่​ 4​ ประจำปี​ 2567​ ในวันพุธที่​ 24​ กรกฎาคม​ 2567​ เวลา​ 08.00 น.​ เป็นต้นไป (นำบัตรประชาชนติดมาด้วย)  เครื่องแต่งกายเสื้อโทนสีเหลือง กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

ขอเชิญร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดพิจิตร ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ณ วัดหงษ์ ตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร

กาหยูเกาะพยาม

แผ่นพับที่ 10/2567 กาหยูเกาะพยาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดระนอง มะม่วงหิมพานต์ หรือ “กาหยู” มีแหล่งปลูกในจังหวัดระนอง ปลูกเยอะที่สุดที่ตำบลเกาะพยาม ด้วยสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย จึงเหมาะสำหรับปลูกกาหยู ทำให้เมล็ดมีลักษณะเนื้อแน่น รสชาติหวานมัน กรอบ อร่อย รวมถึงการแปรรูปกาหยูที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการคั่วแบบโบราณและคั่วเมล็ดด้วยข้าวสาร จึงมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร

“3R Model : 3 เปลี่ยน” โมเดลที่จะชวนเกษตรกรไทย หยุดเผาในพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชนิดพืช และเปลี่ยนเป็นพืชทางเลือก อ่านเรื่องราวแบบละเอียด รวมถึงวิธีการที่จะนำมาซึ่งการหยุดเผา การลดต้นทุน และการเพิ่มรายได้ ใน 4 เอกสารแนะนำดังนี้ 1. แนวทาง 3R Model :

ฮอร์โมนไข่

ฮอร์โมนไข่ ทำง่าย ต้นทุนต่ำ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้ใช้อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 80 ไร่ จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

หนอนปลอกข้าว

หนอนปลอกข้าว ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ 2-3 แถบตามขอบปีก ลักษณะและการระบาด การป้องกันและกำจัด 1. ระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อทำลายตัวหนอน และระงับการแพร่ระบาดในนาข้าว เพราะหนอนจะระบาดโดยปลอกลอยไปตามน้ำ ถ้าเอาน้ำออก หนอนก็จะระบาดไม่ได้ 2. ใช้สารฆ่าแมลง เมื่อตรวจพบใบถูกทำลายมากกว่า 15% หรือพบใบห่อ 6-8 ใบ ต่อ

หนอนห่อใบข้าว

ระวัง! หนอนห่อใบข้าว ลักษณะการทำลาย เรียบเรียงโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

โรคใบจุดตากบ

โรคใบจุดตากบ

โรคใบจุดตากบ มีการเข้าทำลายในทุกระยะการเจริญเติบโต ซึ่งเริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลขยายใหญ่มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว ขอบแผลเป็นสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายตากบ แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร เกิดกระจายทั่วใบ ถ้าอาการรุนแรงแผลจะลามขยายติดกันทำให้ใบไหม้ หากเกิดกับใบอ่อนอาจทำให้เกิดอาการใบหงิกงอ เบื้องต้นได้ให้คำแนะนำเกษตรกรในเรื่องของการปรับสภาพดินที่มีอาการค่อนข้างเป็นกรค พร้อมนำเมล็กผักแช่ในเชื้อราไตรโครเดอร์มาก่อนปลูกและรดซ้ำในระหว่างการปลูก เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราดังกล่าวต่อไป ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งหว้า สตูล https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02VrGLMXhREaGr8JPqxQAyFz5xwznVcXK8yDqvrvTFGFYU3iLau6ziHua9NqwuPCgrl&id=100007766978925

หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง

หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง

ระวัง หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมันสำปะหลัง ใน ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือหนอนกระทู้ โดยหนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน แนวทางป้องกัน/แก้ไข ๑. หมั่นสำรวจแปลงปลูก ตั้งแต่เริ่มงอก หากพบกลุ่มไข่และตัวหนอนทำการเก็บทำลายทันที๒. ปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไตรโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต เป็นต้น๓. ใช้สารชีวภัณฑ์ พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยเฉพาะหนอนระยะแรกๆ ควรพ่นสารชีวภัณฑ์ในช่วงเย็น จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด๔. หากพบการระบาดรุนแรงใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำ การป้องกันกำจัดโดยวิธีใช้สารเคมี สารที่แนะนำในการป้องกันกำจัด IRAC กลุ่ม ๕๑. สารสไปนีโทแรม ๑๒% เอสซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารสไปนีโทแรม ๒๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๖๑. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๑.๙๒% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง GI

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง GI

“ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” ขึ้นทะเบียนสินค้า GI จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอฝางเป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่คุณภาพแหล่งใหญ่ มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 20,000 ไร่พันธุ์ที่ปลูกได้แก่ ฮงฮวย จักรพรรดิ์ฯ มีลักษณะเฉพาะถิ่น คือ ผลกลมโต สีแดงเข้ม ทรงผลรูปหัวใจ เนื้อหนามีสีขาว ฉ่ำน้ำ รสหวาน กลิ่นหอม ลิ้นจี่จักรพรรดิ ที่มีพื้นที่ปลูกมากใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ฝาง อ.ไชยปราการ อ.แม่อาย “ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” คือ ลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู ผิวเปลือกหยาบคล้ายกำมะหยี่ เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ปลูกครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส มีอากาศหนาวเย็นในช่วง เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ และมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำฝาง ลำห้วยแม่ใจ ลำน้ำแม่มาว ลำน้ำแม่เผอะ เขื่อนแม่มาว เขื่อนบ้านห้วยบอน ห้วยแม่งอน เป็นต้น รวมไปถึงยังมีน้ำพุร้อน ที่มักพบอยู่ในพื้นที่บริเวณหินภูเขาไฟที่ดับแล้ว ส่

กล้วยนาก

กล้วยนาก

กล้วยนาก คุณสมบัติที่โดดเด่นของพันธุ์พืช คือ เปลือกกล้วยสีออกสีนาก คือสีอมแดงค่อนข้างคล้ำ เนื้อผลสุกมีรสชาติคล้ายกล้วยหอม อมเปรี้ยวเล็กน้อย  ที่มา : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ สี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง!

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง!

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง! เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทุกพื้นที่ ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสำรวจแปลงปลูกของตน 2.สังเกตลักษณะการทำลายของด้วงกัดใบคือ ใบเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีมูลด้วงบริเวณยอดของต้นมันสำปะหลัง และตัวด้วงมักอาศัยอยู่เป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนลำต้น 3.ป้องกันกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม คือ เก็บด้วงไปทำลาย 4. พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี (สารกลุ่ม1a) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ ฟิโพรนิล 5%sc (กลุ่ม2b) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา : https://www.facebook.com/pr.doae/posts/pfbid02z8V7AsU2psmjaM8gNv6AWu3YepqmrbmwGahd56qqgwzXS3SQ2SvAXjmYbntuqzp9l