ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด กรมส่งเสริมการเกษตรมีความห่วงใยเกษตรกรชาวสวนไม้ผล ที่สวนไม้ผลและผลผลิตอาจเสียหายจากอุทกภัย จึงขอแนะนำวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลดและขอให้เกษตรกรดำเนินการ ดังนี้             1. เร่งระบายน้ำออกจากโคนต้นไม้ สวนไม้ผล หรือบริเวณที่มีน้ำขังโดยเร็ว ด้วยการขุดร่องระบายน้ำและใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกจากสวนโดยเร็ว หากพื้นที่รอบสวนยังมีน้ำท่วมอยู่ จำเป็นต้องยกขอบแปลงเป็นคันดินเพื่อกันน้ำจากภายนอกทะลักเข้ามาในสวนด้วย             2. อย่านำเครื่องจักรกลเข้าสวนขณะที่ดินยังเปียกอยู่ และไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืช เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังโครงสร้างของดินจะง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำและกระทบกระเทือนต่อระบบรากของไม้ผล             3.

รู้หรือไม่…ก่อนจะได้เป็น Young Smart Farmer (YSF) ต้องทำอย่างไร? มีอะไรที่จะต้องรู้ก่อนสมัคร? วันนี้ เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนมาอ่านเรื่องราวของ Young Smart Farmer เกษตรกรรุ่นใหม่ไปด้วยกัน กับ 2 เอกสารแนะนำดังนี้ค่ะ Young Smart Farmerคลิกอ่าน : https://bit.ly/3Bvu8yG

โควตาพิเศษสำหรับบุตร-หลานเกษตรกรและยุวเกษตรกร เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะเกษตร กำแพงแสน พร้อมทุนการศึกษากว่า 200 ทุน – วท.บ. (เกษตรศาสตร์) – วท.บ. (สัตวศาสตร์) – วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร) – วท.บ. (เครื่องจักรกลและเมคคาทรอนิกส์เกษตร) สอบถามรายละเอียดการรับสมัคร สมัครเรียน คณะเกษตร กำแพงแสนwww.agri.kps.ku.ac.th

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี ธาตุเจ้าเรือนทา… – ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี | Facebook ธาตุดิน : คนที่เกิดเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มักไม่ค่อยเจ็บป่วย เพราะธาตุดิน เป็นที่ตั้งของกองธาตุ มักมีร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีรสฝาด รสหวาน รสมัน รสเค็ม

สเปรย์ไล่ยุง ส่วนประกอบ วิธีทำ ในสมุนไพรมีสารสำคัญ คือน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะ ซึ่งเป็นกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร ระหว่างวันที่ 2 – 6 ต.ค. 2567 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนัก – หนักมาก บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น YOUNG SMART FARMER ปี 2568 สำนักงานเกษตรอำเภอตะพานหิน ประชาสัมพันธ์การรับสมัครบุคคลที่มีอายุระหว่าง 17-45 ปี ประกอบอาชีพทางการเกษตรเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer ประจำปี 2568 ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 พฤศจิกายน 2567 ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอตะพานหิน

สาเหตุอาการผิดปกติของพืช สิ่งมีชีวิต ข้อสังเกต : เกิดแบบสุ่ม/กระจายตัว มีการระบาดไปสู่ต้นอื่น พบแมลง ร่องรอย มูล กลิ่น สิ่งไม่มีชีวิต ข้อสังเกต : มักเกิดบริเวณเดียว/มีขอบเขต ไม่มีการระบาดไปสู่ต้นอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท

55. หนอนกระทู้ผัก

55. หนอนกระทู้ผัก

หนอนกระทู้ผัก ภาพจาก: ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก https://www.facebook.com/profile.php?id=100007822839207 การเข้าทำลายของหนอนกระทู้ผัก

38. หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

38. หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด Spodoptera frugiperda (Fall Armyworm) ตัวเต็มวัยเป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนมีวงจรชีวิตประมาณ ใช้เวลา 30-40 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อให้สังเกตเพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่มประมาณ 100-200 ฟอง มีขนปกคลุมไข่ ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 1,500 – 2,000 ฟอง ระยะไข่ 2-3 วัน หนอนมี 6 วัย ระยะหนอน 14 – 22 วัน หนอนที่โตเต็มที่ มีขนาดลำตัวยาว 3.2-4 เซนติเมตร จะทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 7- 13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัยมีชีวิต 10-21 วัน ตัวเต็มวัยบินได้ไกล เฉลี่ย 100 กิโลเมตรต่อคืน ลักษณะเด่นของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มีส่วนบนของหัวเป็นแถบสีขาวรูปตัว Y หัวกลับ ด้านข้างและหลังมีแถบสีขาวตามยาวของลำตัว ปล้องท้องก่อนปล้องสุดท้ายมีจุดสีดำ 4 จุด หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มีพืชอาหารมากกว่า 80 ชนิด ซึ่งนอกจากข้าวโพดแล้วยังมีพืชอาศัยที่เป็นแหล่งอาหาร เช่น ข้าว ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี อ้อย ฝ้าย ทานตะวัน ถั่วเหลือง หญ้า และพืชผัก อีกหลายชนิด การเข้าทำลายพืชส่วนใหญ่จะพบในข้าวโพด จะเกิดขึ้นในระยะที่เป็นตัวหนอนเท่านั้น หนอนจะระบาดทำลายข้าวโพดตั้งแต่อายุประมาณ 7 วัน จนกระทั่งออกฝัก โดยกัดกินยอดและใบข้าวโพดแหว่งหรือกัดกินทั้งแผ่นใบและจะพบตัวหนอนหลบซ่อนแสงอยู่ที่ยอด หรือโคนกาบใบข้าวโพด โดยหนอนวัย 3-6 เป็นระยะที่ทำความเสียหายมาก โดยกัดกินอยู่ในยอดข้าวโพด ระยะก่อนที่ดอกตัวผู้จะโผล่ หนอนจะกัดกินเกสรตัวผู้ หลังจากใบยอดคลี่ทั้งหมด ดอกตัวผู้โผล่ หนอนจะย้ายไปกัดกินไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินภายในฝัก หากระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตเสียหายประมาณ 70% ของพื้นที่ การเข้าทำลายในข้าว พบในสภาพแปลงนาหว่าน รอฝนไม่มีน้ำขังติดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเดิม ข้าวมีอายุ 20-25 วัน ลักษณะการทำลายคือ กัดกินใบอ่อน แล้วเข้าไปหลบอยู่ซอกดิน ใต้ดิน ใต้เศษตอซัง พบดักแด้หนอนในดิน การเข้าทำลายในอ้อยพบหนอน กัดกินอยู่ในยอดอ้อย ทำให้ใบขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด และจะพบตัวหนอนหลบซ่อนแสงอยู่ที่ยอดหรือโคนกาบอ้อย จึงขอแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดควรหมั่นสำรวจแปลงหลังจากข้าวโพดงอก สังเกตกลุ่มไข่ และรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบ เมื่อพบการเข้าทำลายข้าวโพด ข้าว อ้อยและพืชอาหารชนิดอื่นๆ  ให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอและจังหวัดในพื้นที่  ภาพจาก : สำนักงานเกษตรอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา , สำนักงานเกษตรอำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์, สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร, สำนักงานเกษตรอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก