ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

วันที่ 13 มกราคม 2568 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ชิ้น เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ ๒๖,๔๖๙ วัน เป็นสมมงคล พระชนมายุเท่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี ๑๔ มกราคม ๒๕๖๘

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง

หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง

ระวัง หนอนกระทู้ไร่มันสำปะหลัง สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกมันสำปะหลัง ใน ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือหนอนกระทู้ โดยหนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่ม ในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน แนวทางป้องกัน/แก้ไข ๑. หมั่นสำรวจแปลงปลูก ตั้งแต่เริ่มงอก หากพบกลุ่มไข่และตัวหนอนทำการเก็บทำลายทันที๒. ปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไตรโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต เป็นต้น๓. ใช้สารชีวภัณฑ์ พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยเฉพาะหนอนระยะแรกๆ ควรพ่นสารชีวภัณฑ์ในช่วงเย็น จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด๔. หากพบการระบาดรุนแรงใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำ การป้องกันกำจัดโดยวิธีใช้สารเคมี สารที่แนะนำในการป้องกันกำจัด IRAC กลุ่ม ๕๑. สารสไปนีโทแรม ๑๒% เอสซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารสไปนีโทแรม ๒๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๖๑. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๑.๙๒% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. สารอีมาเมกตินเบนโซเอต ๕% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๑๓๑. สารคลอร์ฟีนาเพอร์ ๑๐% เอสซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๑๕๑. สารลูเฟนนูรอน ๕% อีซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๒๒๑. สารอินดอกซาคาร์บ ๑๕% อีซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๑๘+๕๑. สารเมทอกซีฟีโนไซด์+สไปนีโทแรม ๓๐+๖% เอสซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร IRAC กลุ่ม ๒๘๑. สารคลอแรนทรานิลิโพรล ๕.๑๗% เอสซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒.สารฟลูเบนไดอะไมด์ ๒๐% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร สารชีวภัณฑ์ IRAC กลุ่ม ๑๑๑. เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส สายพันธุ์ไอซาไว อัตรา ๘๐ กรัมหรือมิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร๒. เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส สายพันธุ์เคอร์สตากี้ อัตรา ๘๐ กรัมหรือมิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานีhttps://www.facebook.com/100068761955050/posts/784307210538004/?mibextid=oFDknk&rdid=RV4pXhWZotg9JQjo

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง!

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง!

ด้วงกัดใบบุกไร่มันสำปะหลัง! เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทุกพื้นที่ ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสำรวจแปลงปลูกของตน 2.สังเกตลักษณะการทำลายของด้วงกัดใบคือ ใบเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีมูลด้วงบริเวณยอดของต้นมันสำปะหลัง และตัวด้วงมักอาศัยอยู่เป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนลำต้น 3.ป้องกันกำจัดด้วยวิธีเขตกรรม คือ เก็บด้วงไปทำลาย 4. พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี (สารกลุ่ม1a) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ ฟิโพรนิล 5%sc (กลุ่ม2b) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ที่มา : https://www.facebook.com/pr.doae/posts/pfbid02z8V7AsU2psmjaM8gNv6AWu3YepqmrbmwGahd56qqgwzXS3SQ2SvAXjmYbntuqzp9l

อาการขาดแมกนีเซียมในมันสำปะหลัง

อาการขาดแมกนีเซียมในมันสำปะหลัง

แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช (คลอโรฟิลล์) ซึ่งทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง ส่งเสริมการดูดกินและนำพาฟอสฟอรัสขึ้นสู่ลำต้น ช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมัน มีส่วนช่วยในการสร้างน้ำมันเมื่ออยู่ร่วมกับกำมะถัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่หลายอย่างซึ่งมีความสำคัญต่อการหายใจของเซลล์พืช เมื่อพืชขาดแมกนีเชียม ใบแก่ (ใบล่าง) เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่เส้นใบสีเขียวชัดเจนบนใบสีเหลืองคล้าย “ก้างปลา” อาการนี้เรียกว่า “ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ” หรือ “คลอโรซีส” (chlorosis) อาการใบเหลือง จะเริ่มที่ใบแก่ที่สุดก่อนแล้วทยอยเหลืองขึ้นไปลำต้นส่วนบน แต่ใบบนจะไม่แสดงอาการนี้ ความสูงของต้นมักจะไม่ลดลงและใบจะไม่ผิดรูปร่าง การขาดแมกนีเซียม ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในดินที่เป็นกรดจัดต่อมา เมื่อขาดแมกนีเซียมอย่างต่อเนื่อง ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตายในที่สุด ใบที่แตกออกมาใหม่จะมีขนาดเล็ก ขอบใบงอเข้าหากันและเปราะง่าย ง่ายต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช จากการสำรวจพื้นที่ ยังพบอาการขาดธาตุแมกนีเซียม โดยเกษตรกรแจ้งมาว่าพบอาการใบด่างสีเหลืองเขียว กลัวว่าจะเป็นโรคใบด่างมันสำปะหลัง จากการลงพื้นที่พบว่า อาการใบด่างที่พบนั้นเป็นอาการที่เกิดจากการขาดธาตุแมกนีเซียม จึงได้แนะนำให้เกษตรกรให้แมกนีเซียม ปุ๋ยทางใบ ไปทางระบบน้ำ ทุก ๆ 14-21 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น หากเกษตรกรท่านไหน พบลักษณะอาการแปลก ๆ ในมันสำปะหลัง สามารถส่งรูปถ่ายมาขอคำปรึกษาในการดูแลรักษาได้ หรือสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ /กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือเกษตรตำบลในพื้นที่ของท่านได้เลยครับ ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid037FdJtKzM1VBFh6KMpW6yz9LwzjzeeiXDLsCUumnyoeemCB5AqENu4XnhtNHDHdxVl&id=100028983577766

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง

หนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลัง คำแนะนำ :1.เมื่อพบตัวหนอนหรือกลุ่มไข่ในแปลง ให้เก็บและนำมาทำลาย พร้อมกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลง2.ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ลิตร เช่นㆍ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรㆍ เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร หมายเหตุ* หากการระบาดของหนอนลดลงให้ควบคุมด้วยชีวภัณฑ์ โดยฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bt) อัตรา 80 มิลลิลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร หลังจากฉีดพ่นสารเคมีแล้ว 15 วันทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ประสานงานองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อหารือแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร จัดซื้อสารเคมีสนับสนุนโดยเร่งด่วน ที่มา : https://www.facebook.com/pr.doae/posts/pfbid026Xgma92wiBBm9MApYmWts27K3JsePAvCXhqRtyzh8pQ1gaoq5oQDxGiUpKQGHWfdl

จิ้งหรีดหนวดยาว

จิ้งหรีดหนวดยาว

จิ้งหรีดหนวดยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metioche vittaticolis รูปร่างลักษณะ ระยะที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช การใช้ประโยชน์ จิ้งหรีดหนวดยาว กินไข่ผีเสื้อและแมลงศัตรูพืชในนาข้าว