ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้ผลตอบแทนเร็ว เพียงระยะ 9-11 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถเพาะได้ทุกพื้นที่รูปแบบมีหลายรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

เกษตรกรผู้ปลูกข้าว อย่าลืมมาขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน เพื่อเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของภาครัฐ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลง

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม หลักสูตร “หมอพืชชุมชน” ตั้งแต่บัดนี้ – 19 กรกฎาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมายเลขโทรศัพท์ : 053-611044

ใบบัวบก

ใบบัวบก บัวบกมีสารสำคัญกรดมาเดคาสสิก (Madecassic acid) กรดเอเชียติก (Asiatic acid) การปลูกปลูกได้ดีในดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน ใบบัวบกจะขยายพันธุ์โดยไหลและเมล็ด วิธีขยายจากไหลตัดไหลเป็นท่อน ๆ ไปเพาะในกระบะเพาะ 1-2 สัปดาห์ การดูแลรักษาบัวบกต้องการความชื้น แต่ไม่แฉะควรให้น้ำสม่ำเสมอ ควรระวังอย่าให้น้ำขัง จะเกิดโรคโคนเน่า การเก็บเกี่ยวเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากปลูกได้ประมาณ 60-90 วัน ใช้มีดตัดเหนือจากพื้นดินประมาณ

เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว สามารถโหลดแอปพลิเคชัน Farmbook เพื่อเช็คสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร (รายเดิมแปลงเดิม) ได้ทุกที่ ทุกเวลา สามารถใช้ได้ทั้งระบบ iOS และ Android  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลง

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ต้นพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ โดยกิ่งพันธุ์ดีจะให้ผลผลิตที่ตรงตามพันธุ์ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

เชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบพบกิจกรรมน่าสนใจงาน รับปัจจัยการผลิตมากมายจากหน่วยงานที่มาให้บริการ อาทิ วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 อย่าลืมนำบัตรประชาชน หรือ ThaiD มาลงทะเบียนเพื่อขอรับบริการ ได้ตั้งแต่ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป

ขอเชิญร่วมงาน “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระบรมราชานุเคราะห์ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี

รู้หรือไม่ ? ถ้ารู้จัก “ดิน” ดีกว่าใคร จะมีชัย “ในการปลูก” ไปกว่าครึ่ง จันทร์นี้เลยอยากจะชวนทุกคน มาอ่านเรื่องราวของดินและปุ๋ย เนื่องจากการผลิตพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และคุ้มค่าต่อการลงทุนนั้น ต้องรู้จักธรรมชาติของดินในพื้นที่ปลูกของตนเองก่อน เกษตรกรจึงจะสามารถเลือกใช้ปุ๋ยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั่นเอง ชวนอ่านเรื่องราวจากทั้ง 4 เอกสารแนะนำ ดังนี้ 1. รู้จักดินดีหรือยัง? คลิกอ่าน :

เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว สามารถติดตามและตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ที่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือ ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลง

ระวัง โรคแคงเกอร์ “พืชตระกูลส้ม!!

ระวัง โรคแคงเกอร์ "พืชตระกูลส้ม!!

ระวัง โรคแคงเกอร์ “พืชตระกูลส้ม!! สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางแห่ง เตือนเกษตรกรปลูกพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวานมะนาว และมะกรูด)ให้ระวังโรคแคงเคอร์ (เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonasaxonopodis pv. citri) ระบาดเข้าทำลายโดยอาการบนใบเริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น เห็นเป็นแผลจุดนูนสีเหลืองอ่อน ลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำ จากนั้นแผลจะเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อแข็งสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลยุบตัว ขอบแผลยกตัวขึ้น บริเวณรอบๆ แผลปรากฏวงสีเหลืองล้อมรอบ แผลจุดนูนสีน้ำตาลพบทั้งผิวใบด้านบนและด้านล่าง โดยเห็นชัดเจนบนผิวใบด้านล่าง แผลเกิดได้ทั้งบนใบและก้านใบ ทำให้ใบเหลืองร่วงก่อนกำหนด อาการบนกิ่ง ลักษณะคล้ายอาการบนใบ แต่ไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ต่อมาแผลจะแตก แข็งเป็นสีน้ำตาลขยายรอบกิ่งหรือตามความยาวกิ่ง รูปร่างแผลไม่แน่นอน อาการบนผล ลักษณะคล้ายอาการบนใบ แต่จะเกิดเป็นแผลเดี่ยวๆ มีลักษณะกลมฝังลึกลงไปในผิว แผลจะขยายเป็นสะเก็ดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน มีวงสีเหลืองล้อมรอบ บางครั้งพบผลปริแตกตามรอยแผล หากเกิดโรคในระยะผลอ่อนจะทำ ให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ และถ้าอาการรุนแรงจะท

โรคมะพร้าว

โรคมะพร้าว

โรคยอดเน่าและผลร่วงจากเชื้อราไฟทอปเทอร่า เกษตรกรปลูกมะพร้าวน้ำหอม อายุประมาณ 5 ปีจำนวน 10 ต้น ไว้ในสวนทุเรียน มีสองต้นที่เมื่อติดผลจนผลอ่อนมีขนาดประมาณ 6 นิ้ว ผลจะแตกบริเวณขั้วผลและร่วงหล่น จากการตรวจขั้วผลและผ่าลูกดู พบว่าขั้วผลและภายในผลมะพร้าวมีแผลช้ำสีน้ำตาล ตรวจสอบบริเวณยอดมะพร้าวมีรอยแผลสีน้ำตาลเล็กน้อย สันนิษฐานว่ามะพร้าวเป็นโรคยอดเน่าและผลร่วงจากเชื้อราไฟทอปเทอร่า จึงได้แนะนำให้เกษตรกรดำเนินการดังนี้ 1.เนื่องจากเป็นเชื้อราชนิดเดียวกับเชื้อสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน จึงให้ตัดและนำผล รวมทั้งใบที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลง เพื่อป้องกันมิให้เชื้อลุกลามสู่ต้นทุเรียน 2.ทำความสะอาดคอมะพร้าว 3.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี ฟอสอีทิล-อลูมิเนียม 80WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จากนั้นเกษตรกรเจ้าของสวนทุุเรียนซึ่งอยู่หมู่บ้านเดียวกัน ได้ขอให้ไปตรวจเยี่ยมสวนทุเรียนเพื่อให้คำแนะนำในการจัดการโรคแมลง จากการตรวจเยี่ยมพบว่า ทุเรียนแปลงดังกล่าวอายุ 2-6 ปี ส่วนใหญ่แสดงอาการใบเป็นริ้วและมีจุดเหลืองกระจายทั่วใบ ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุสังกะสี จึงได้แนะนำให้เกษตรกรฉีดพ่นธาตุสังกะสีให้ทุเรียนในอัตราสูงกว่าที่แนะ

หนอนแมลงวันลาย

หนอนแมลงวันลาย

หนอนแมลงวันลายภัยเงียบฤดูฝนของเกษตรกรผู้เลี้ยงชันโรง จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ https://www.facebook.com/bee.centercm/posts/pfbid02xfpWDC7PZdGXcoahyshmh8MhnkWXjQ9NnkNMCtXdh8Rh4pMboJhpfHpY5LYcQdNAl หนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly: BSF) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hermetia ilucens มักเกิดการระบาดในช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นสูง ในรังชันโรงทีมีความอ่อนแอ จะเข้าทำลายในระยะที่เป็นหนอน โดยจะเข้าไปกัดกินอาหารที่ชันโรงสะสมไว้ภายในรัง ได้แก่ ถ้วยน้ำหวาน เกสร มีการเพิ่มปริมาณประชากรอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่รังที่ถูกหนอนแมลงวันลาย เข้าทำลายจะล่มสลายอย่างรวดเร็ว วิธีป้องกัน ควรมีขาตั้งอย่างน้อย 1 ฟุต และมีหลังคาวางกันฝนด้านบนเพื่อป้องกันน้ำเข้ามาในรัง และปากทางเข้ารังควรทำให้น้ำไม่สามารถเข้าได้ และหลีกเลี่ยงการนำรังไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง นอกจากนั้นแล้วในรังที่มีประชากรผึ้งงานน้อยควรมีการเติมกลุ่มไข่แก่จากรังที่แข็งแรงและเป็นชันโรงชนิดเดียวกันเข้าไปเพิ่มเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณผึ้งงานในการดูแลจัดการรังได้ดียิ่งขึ้น ในกรณีที่พบว่ารังเลี้ยงชันโรงถูกหนอนแมลงวันลายเข้าทำลายแ

โรคใบติดหรือใบไหม้

โรคใบติดหรือใบไหม้

โรคใบติดหรือใบไหม้ สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solaniอาการของโรคมักพบที่ใบอ่อนก่อน เกิดแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลจะค่อยๆ ขยายตัวลุกลามแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อราจะเจริญลุกลามไปยังใบอื่นๆที่อยู่ติดกันโดยการสร้างเส้นใยยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรครุนแรงจะแห้ง ร่วงลงไปแตะติดกับใบข้างล่าง และเจริญเข้าทำลายใบเหล่านั้น จนเกิดโรคลุกลามไปหลายจุดในต้น ทำให้เห็นอาการใบไหม้เป็นหย่อมๆ และใบจะค่อยๆร่วงหล่นไปยังโคนต้น การแพร่ระบาด เชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นอยู่บริเวณใต้โคนและวัชพืชบางชนิด เมื่อฝนตก เชื้อราจะกระเด็นขึ้นมาโดยเม็ดฝน ติดตามใบทุเรียนที่อยู่ต่ำก่อน เกิดอาการแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และเจริญสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่ส่วนขยายพันธุ์ไปยังส่วนอื่นๆ หรือบางครั้งเชื้อก็ติดไปกับมดที่มีอยู่ทั่วไปในสวนทุเรียน ขึ้นไปยังส่วนบนๆของต้น เมื่ออากาศร้อนชื้น มีฝนตกเป็นระยะ การป้องกันกำจัด1.ช่วงการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมและมีทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ทุเรียนได้รับแสงแดดและอากาศถ่ายเทได้ดีเป็น