ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ขอเชิญเข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ระดับเขต ประจำปี พ.ศ. 2568 วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 ณ เครือข่าย ศพก. เอแอนด์เจ ผลไม้ไทย ตำบลศรีสุราษฎร์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ปลูกข้าวนาปรัง…ระวังหนาว หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน หรือจัดช่วงเวลาปลูกไม่ให้กระทบอากาศหนาวเย็นในช่วงตั้งท้อง-ออกรวง ระยะตั้งท้อง-ออกรวงต้นข้าวซีดเหลือง ใบมีสีเหลืองหรือส้มใบแห้งตายจากขอบใบ มักพบโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคเมล็ดด่าง พันธุ์ข้าวที่คอรวงสั้น รวงข้าวส่วนนึงจะโผล่ไม่พ้นกาบใบธง ทำให้ไม่มีการผสมเกสรเกิดเมล็ดลีบ ออกรวงช้า รวงไม่สม่ำเสมอก้านช่อดอกหดสั้น เกสรตัวผู้เป็นหมัน ทำให้เมล็ดไม่เต็ม ปลายรวงลีบฝ่อ ระยะกล้า-แตกกอเมล็ดข้าวงอกช้า การเจริญเติบโตช้า ต้นเตี้ย ไม่แตกกอ ซีดเหลือง ใบมีสีเหลือง

เรียนฟรี ผู้สนใจ “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” สมัครเรียนได้ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม – 6 เมษายน 2568 สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร เปิดรับสมัครโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” รอบใหม่ ประจำปี 2568 ให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสมัครเรียน โดยเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง คาร์บอนเครดิต ที่ถูกต้อง

ขอเชิญพี่น้องชาวกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมสนุกกับกิจกรรม “DOAE ผ้าไทยใครใส่ก็ดูดี ปี 3 ” ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ 2568 โพสต์ภาพสวมใส่ผ้าไทยพร้อมอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์ ชิงรางวัลพิเศษ กติการ่วมสนุก 1. ส่งภาพการแต่งกายผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมืองพร้อมอุปกรณ์เล่นน้ำสงกรานต์ของท่าน มายัง>> https://forms.gle/sU2NNwemVnef9Fi89  โดยภาพที่โพสต์ ท่านสามารถครีเอทท่าทาง ตกแต่งภาพได้ไม่จำกัดไอเดีย ไม่จำกัดจำนวนคนในภาพ ใส่แคปชั่นเก๋ ๆ ในภาพได้

มะม่วงน้ำดอกไม้ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว (GI) มะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ที่มีทรงผลรี เปลือกผิวบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองถึงสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองอมส้ม ปริมาณเส้นใยน้อย เมล็ดลีบ ผลดิบมีรสชาติเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอวังน้ำเย็นของจังหวัดสระแก้ว ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว” เมื่อ 3 พ.ค. 2562

โรคจุดดำ หรือ โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญและเกือบทุกส่วนของมะม่วง ไม่ว่าจะเป็นต้นกล้า ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก ดอก ผลอ่อนจนถึงผลแก่ และผลหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดอาการเป็นจุดแผลตกค้างอยู่บนใบ กิ่ง ผล และหากการเข้าทำลายของโรครุนแรงก็จะเกิดอาการใบแห้ง ใบบิดเบี้ยวและร่วงหล่น ช่อดอกแห้งไม่ติดผล ผลเน่าร่วงตลอดจนผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยว แนวทางการป้องกันแก้ไข

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ศัตรูมะพร้าวและการป้องกัน” ปัจจุบันมีศัตรูมะพร้าวที่กำลังระบาดและเป็นปัญหาในการปลูกมะพร้าว จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว และด้วงงวงมะพร้าว สำหรับการจัดการศัตรูมะพร้าว เพื่อให้ได้ผลดีและไม่ให้กลับมาระบาดใหม่ ควรใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไปมาใช้ร่วมกัน เพื่อลดปริมาณศัตรูมะพร้าวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานคลิกอ่าน : https://bit.ly/2FUDSWS หนอนหัวดำคลิกอ่าน :

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “เรื่องเล่า…ชาวกาแฟ กาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกที่จะต้องดื่ม บางคนดื่มเพราะความเคยชิน บางคนดื่มเพื่อผ่อนคลาย บางคนดื่มเพราะจะทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า “กาแฟ” ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทางเศรษฐกิจของไทยมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน สายพันธุ์ที่นิยมในประเทศไทย 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟอะราบิกาและกาแฟโรบัสตา เมื่อเปรียบเทียบลักษณะเมล็ดกาแฟ 2 สายพันธุ์ อยากรู้เรื่องราวของกาแฟมากขึ้น คลิกที่ลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ เรื่องเล่า…ชาวกาแฟคลิกอ่าน : https://bit.ly/4hmR8PA การผลิตกาแฟอะราบิกา

หนอนแมลงวันพริก การทำลายในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยาก อาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน นอกจากนี้รอยแผลที่เกิดขึ้นจากการวางไข่ของแมลงยังส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชเข้าทำลายตาม ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นก่อนระยะเก็บเกี่ยว ฤดูการระบาดสภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเตือนผู้ปลูกพริก ในระยะเก็บเกี่ยว รับมือแมลงวันทองพริก ตัวเต็มวัยวางไข่ในระยะพริกใกล้เปลี่ยนสี ไปจนกระทั่งผลสุก หนอนกัดกินชอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลพริกเน่าร่วงหล่น เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดิน แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร

(ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร)

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร เป็น สถานที่รวบรวมสรรพความรู้ด้านการเกษตรและด้านทั่วไปที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนอง ความต้องการของผู้ใช้ภายในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนหน่วยงานและสถาบันอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มบุคคลและผู้สนใจทั่วไป

  • ให้บริการห้องสมุด เช่น บริการการอ่าน การยืม-คืน สืบค้นข้อมูล และจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
  • ให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
  • จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เช่น ทะเบียนฐานข้อมูล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) และเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น
  • ประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุด

แนะนำห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร

ประวัติห้องสมุด

  • ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นสถานที่รวบรวมสรรพความรู้ด้านการเกษตรและด้านทั่วไปที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนอง ความต้องการของผู้ใช้ภายในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนหน่วยงานและสถาบันอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มบุคคลและผู้สนใจทั่วไป
  • การดำเนินงานของห้องสมุดระยะแรกเมื่อปี พ.ศ. 2524 มีปริมาณเอกสารหนังสือ และครุภัณฑ์ไม่มากนัก ตั้งอยู่อาคารส่งเสริมการเกษตรหลังที่ 1 ชั้น 5 ขนาดพื้นที่ 60 ตารางเมตร สังกัดกองฝึกอบรม และยังไม่มีบุคลากรเข้ามาบริหารงาน จนถึงปี 2527กรมฯ ได้บรรจุบรรณารักษ์เข้ามาปฏิบัติงานและพัฒนาห้องสมุด พ.ศ. 2530 กรมฯ ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ให้งานห้องสมุดมาสังกัดสำนักงานเลขานุการกรม และในปี พ.ศ.2533
  • กรมฯ เห็นว่าห้องสมุดคับแคบ ไม่สะดวกในการติดต่อและให้บริการ จึงให้ย้ายมาอยู่ที่อาคารสหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 3 มีขนาดพื้นที่ 200 ตารางเมตร เป็นการชั่วคราว
  • พ.ศ. 2537 เมื่อกรมส่งเสริมการเกษตรได้สร้างอาคารหลังใหม่เสร็จเรียบร้อยตั้งชื่ออาคารว่า “ส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์” เป็นอาคารหลังที่ 2 ของกรมส่งเสริมการเกษตร ห้องสมุดจึงได้ย้ายที่ทำการใหม่อีกครั้งมาอยู่ชั้น 5 ของตึกหลังนี้ มีพื้นที่ขนาด 336 ตารางเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องสมุดในปัจจุบัน และได้ทำการปรับปรุงสถานที่ห้องสมุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้า และให้บริการ เพื่อให้เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารข้อมูลด้านการเกษตรและด้านทั่วไป ปัจจุบันมีเอกสารหนังสือประมาณ 20,000 เล่ม
  • 1 ตุลาคม 2545 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการใหม่ให้มีการนำงานห้องสมุด การบริการโสตฯ และ การบริการแจกจ่ายเอกสาร มารวมกัน ตั้งชื่อใหม่ว่า “ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตรโดยสังกัดส่วนพัฒนาเทคโนโลยีการเผยแพร่และฝึกอบรม สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ทรัพยากรและการจัดการ

  1. หนังสือวิชาการทั่วไปทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในสาขาหลักของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ สาขาเกษตรศาสตร์ เช่น ด้านส่งเสริมการเกษตร พืชสวน พืชผัก พืชไร่ ดิน ปุ๋ย ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านสังคม การบริหาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยจัดระบบทศนิยมของดิวอี้
  2. เอกสารสิ่งพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ สถิติข้อมูล รายงานการดำเนินงาน รายงานการวิจัย โครงการ เอกสารวิชาการ เอกสารแนวทางการพัฒนาการเกษตรระดับภาค ระดับอำเภอ และระดับตำบล รายงานประจำปี จัดแยกตามประเภทของสิ่งพิมพ์
  3. วารสาร มีทั้งวารสารใหม่ และวารสารเย็บเล่ม จัดเรียงตามตัวอักษรของชื่อวารสาร ก- ฮ
  4. จุลสารด้านเกษตรและที่เกี่ยวข้อง เป็นเอกสารเผยแพร่ เอกสารคำแนะนำ ของกรมฯ และ หน่วยงานอื่นๆ จัดเรียงตามหัวเรื่อง ของเนื้อหาเรื่องนั้น ๆ ตามตัวอักษร ก –ฮ
  5. หนังสือราชกิจจานุเบกษา จัดเรียงตามลำดับปี พ.ศ.2514
  6. วิทยานิพนธ์และงานวิจัยต่างๆ
  7. สารานุกรม – พจนานุกรม
  8. หนังสือรายงานประจำปี จัดเรียงตามหน่วยงาน
  9. หนังสือพิมพ์ และสิ่งพิมพ์เบ็ดเตล็ดต่างๆ
  10. ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ
  • ฐานข้อมูลงานวิจัยส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1,000 ระเบียน
  • ฐานข้อมูลหนังสือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library)

สถานที่ : เวลาทำการ

สถานที่ : ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร(ห้องสมุด) กรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

เวลาทำการ

  • เปิดบริการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.
  • ปิดทำการ วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
  • โทร. 0-2579-2594, 0-2940-6080-94 ต่อ 440, 446

บริการห้องสมุด

  • บริการยืม – คืน
  • บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า
  • บริการค้นเรื่อง
  • บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด
  • บริการข่าวสารทันสมัย

บริการสืบค้นฐานข้อมูลจากคอมพิวเตอร

  • ผู้มีสิทธิ์ใช้ : สมาชิก
  • ผู้มีสิทธิใช้บริการ : ข้าราชการ พนักงานราชการ และะลูกจ้างกรมส่งเสริมการเกษตร บุคคลภายนอก

ระเบียบการยืม

  • ยืมหนังสือสิ่งพิมพ์ทั้งหมด จำนวน 5 เล่ม เป็นเวลา 7 วัน

ระเบียบการใช้ห้องสมุด

  • ฝากสิ่งของ กระเป๋า ก่อนเข้าใช้บริการห้องสมุด
  • ลงชื่อในสมุดผู้ใช้บริการ
  • ห้ามนำหนังสือออกจากห้องสมุดก่อนได้รับอนุญาต
  • ห้ามทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนความสงบของผู้อื่น
  • ห้ามทำการใด ๆ ซึ่งเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของห้องสมุด หากฝ่าฝืนอาจถูกตัดสิทธิ์การใช้ห้องสมุดและมีความเสียหายเกิดขึ้นต้องชดใช้