ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เตือนเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระวัง “หนู” สัตว์ศัตรูพืช ระบาดในพื้นที่การเกษตร การป้องกันและกำจัด เรียบเรียง :  กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

การเพาะกล้าผัก

การเพาะกล้าผัก วัสดุเพาะ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

สำนักงานเกษตรอำเภอแก่งคอย​ จังหวัดสระบุรี ประชาสัมพันธ์​เกษตรกรและประชาชนทั่วไป​ ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่​ ในพระราชานุเคราะห์ฯ ครั้งที่​ 4​ ประจำปี​ 2567​ ในวันพุธที่​ 24​ กรกฎาคม​ 2567​ เวลา​ 08.00 น.​ เป็นต้นไป (นำบัตรประชาชนติดมาด้วย)  เครื่องแต่งกายเสื้อโทนสีเหลือง กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

ขอเชิญร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดพิจิตร ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ณ วัดหงษ์ ตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร

กาหยูเกาะพยาม

แผ่นพับที่ 10/2567 กาหยูเกาะพยาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดระนอง มะม่วงหิมพานต์ หรือ “กาหยู” มีแหล่งปลูกในจังหวัดระนอง ปลูกเยอะที่สุดที่ตำบลเกาะพยาม ด้วยสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย จึงเหมาะสำหรับปลูกกาหยู ทำให้เมล็ดมีลักษณะเนื้อแน่น รสชาติหวานมัน กรอบ อร่อย รวมถึงการแปรรูปกาหยูที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการคั่วแบบโบราณและคั่วเมล็ดด้วยข้าวสาร จึงมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร

“3R Model : 3 เปลี่ยน” โมเดลที่จะชวนเกษตรกรไทย หยุดเผาในพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชนิดพืช และเปลี่ยนเป็นพืชทางเลือก อ่านเรื่องราวแบบละเอียด รวมถึงวิธีการที่จะนำมาซึ่งการหยุดเผา การลดต้นทุน และการเพิ่มรายได้ ใน 4 เอกสารแนะนำดังนี้ 1. แนวทาง 3R Model :

ฮอร์โมนไข่

ฮอร์โมนไข่ ทำง่าย ต้นทุนต่ำ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้ใช้อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 80 ไร่ จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

หนอนปลอกข้าว

หนอนปลอกข้าว ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ 2-3 แถบตามขอบปีก ลักษณะและการระบาด การป้องกันและกำจัด 1. ระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อทำลายตัวหนอน และระงับการแพร่ระบาดในนาข้าว เพราะหนอนจะระบาดโดยปลอกลอยไปตามน้ำ ถ้าเอาน้ำออก หนอนก็จะระบาดไม่ได้ 2. ใช้สารฆ่าแมลง เมื่อตรวจพบใบถูกทำลายมากกว่า 15% หรือพบใบห่อ 6-8 ใบ ต่อ

หนอนห่อใบข้าว

ระวัง! หนอนห่อใบข้าว ลักษณะการทำลาย เรียบเรียงโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

e-Library

(ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร)

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร เป็น สถานที่รวบรวมสรรพความรู้ด้านการเกษตรและด้านทั่วไปที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนอง ความต้องการของผู้ใช้ภายในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนหน่วยงานและสถาบันอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มบุคคลและผู้สนใจทั่วไป

  • ให้บริการห้องสมุด เช่น บริการการอ่าน การยืม-คืน สืบค้นข้อมูล และจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
  • ให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
  • จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เช่น ทะเบียนฐานข้อมูล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) และเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น
  • ประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุด

แนะนำห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร

ประวัติห้องสมุด

  • ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นสถานที่รวบรวมสรรพความรู้ด้านการเกษตรและด้านทั่วไปที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนอง ความต้องการของผู้ใช้ภายในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนหน่วยงานและสถาบันอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มบุคคลและผู้สนใจทั่วไป
  • การดำเนินงานของห้องสมุดระยะแรกเมื่อปี พ.ศ. 2524 มีปริมาณเอกสารหนังสือ และครุภัณฑ์ไม่มากนัก ตั้งอยู่อาคารส่งเสริมการเกษตรหลังที่ 1 ชั้น 5 ขนาดพื้นที่ 60 ตารางเมตร สังกัดกองฝึกอบรม และยังไม่มีบุคลากรเข้ามาบริหารงาน จนถึงปี 2527กรมฯ ได้บรรจุบรรณารักษ์เข้ามาปฏิบัติงานและพัฒนาห้องสมุด พ.ศ. 2530 กรมฯ ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ให้งานห้องสมุดมาสังกัดสำนักงานเลขานุการกรม และในปี พ.ศ.2533
  • กรมฯ เห็นว่าห้องสมุดคับแคบ ไม่สะดวกในการติดต่อและให้บริการ จึงให้ย้ายมาอยู่ที่อาคารสหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 3 มีขนาดพื้นที่ 200 ตารางเมตร เป็นการชั่วคราว
  • พ.ศ. 2537 เมื่อกรมส่งเสริมการเกษตรได้สร้างอาคารหลังใหม่เสร็จเรียบร้อยตั้งชื่ออาคารว่า “ส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์” เป็นอาคารหลังที่ 2 ของกรมส่งเสริมการเกษตร ห้องสมุดจึงได้ย้ายที่ทำการใหม่อีกครั้งมาอยู่ชั้น 5 ของตึกหลังนี้ มีพื้นที่ขนาด 336 ตารางเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องสมุดในปัจจุบัน และได้ทำการปรับปรุงสถานที่ห้องสมุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้า และให้บริการ เพื่อให้เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารข้อมูลด้านการเกษตรและด้านทั่วไป ปัจจุบันมีเอกสารหนังสือประมาณ 20,000 เล่ม
  • 1 ตุลาคม 2545 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการใหม่ให้มีการนำงานห้องสมุด การบริการโสตฯ และ การบริการแจกจ่ายเอกสาร มารวมกัน ตั้งชื่อใหม่ว่า “ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตรโดยสังกัดส่วนพัฒนาเทคโนโลยีการเผยแพร่และฝึกอบรม สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ทรัพยากรและการจัดการ

  1. หนังสือวิชาการทั่วไปทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในสาขาหลักของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ สาขาเกษตรศาสตร์ เช่น ด้านส่งเสริมการเกษตร พืชสวน พืชผัก พืชไร่ ดิน ปุ๋ย ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านสังคม การบริหาร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยจัดระบบทศนิยมของดิวอี้
  2. เอกสารสิ่งพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ สถิติข้อมูล รายงานการดำเนินงาน รายงานการวิจัย โครงการ เอกสารวิชาการ เอกสารแนวทางการพัฒนาการเกษตรระดับภาค ระดับอำเภอ และระดับตำบล รายงานประจำปี จัดแยกตามประเภทของสิ่งพิมพ์
  3. วารสาร มีทั้งวารสารใหม่ และวารสารเย็บเล่ม จัดเรียงตามตัวอักษรของชื่อวารสาร ก- ฮ
  4. จุลสารด้านเกษตรและที่เกี่ยวข้อง เป็นเอกสารเผยแพร่ เอกสารคำแนะนำ ของกรมฯ และ หน่วยงานอื่นๆ จัดเรียงตามหัวเรื่อง ของเนื้อหาเรื่องนั้น ๆ ตามตัวอักษร ก –ฮ
  5. หนังสือราชกิจจานุเบกษา จัดเรียงตามลำดับปี พ.ศ.2514
  6. วิทยานิพนธ์และงานวิจัยต่างๆ
  7. สารานุกรม – พจนานุกรม
  8. หนังสือรายงานประจำปี จัดเรียงตามหน่วยงาน
  9. หนังสือพิมพ์ และสิ่งพิมพ์เบ็ดเตล็ดต่างๆ
  10. ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ
  • ฐานข้อมูลงานวิจัยส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1,000 ระเบียน
  • ฐานข้อมูลหนังสือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library)

สถานที่ : เวลาทำการ

สถานที่ : ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร(ห้องสมุด) กรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

เวลาทำการ

  • เปิดบริการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น.
  • ปิดทำการ วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
  • โทร. 0-2579-2594, 0-2940-6080-94 ต่อ 440, 446

บริการห้องสมุด

  • บริการยืม – คืน
  • บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า
  • บริการค้นเรื่อง
  • บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด
  • บริการข่าวสารทันสมัย

บริการสืบค้นฐานข้อมูลจากคอมพิวเตอร

  • ผู้มีสิทธิ์ใช้ : สมาชิก
  • ผู้มีสิทธิใช้บริการ : ข้าราชการ พนักงานราชการ และะลูกจ้างกรมส่งเสริมการเกษตร บุคคลภายนอก

ระเบียบการยืม

  • ยืมหนังสือสิ่งพิมพ์ทั้งหมด จำนวน 5 เล่ม เป็นเวลา 7 วัน

ระเบียบการใช้ห้องสมุด

  • ฝากสิ่งของ กระเป๋า ก่อนเข้าใช้บริการห้องสมุด
  • ลงชื่อในสมุดผู้ใช้บริการ
  • ห้ามนำหนังสือออกจากห้องสมุดก่อนได้รับอนุญาต
  • ห้ามทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนความสงบของผู้อื่น
  • ห้ามทำการใด ๆ ซึ่งเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของห้องสมุด หากฝ่าฝืนอาจถูกตัดสิทธิ์การใช้ห้องสมุดและมีความเสียหายเกิดขึ้นต้องชดใช้