ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

“อยากปลูกกล้วย” แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี? วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน ตั้งแต่กระบวนการเลือกกล้วยพันธุ์ดี การเพาะปลูก การดูแล การใส่ปุ๋ย และเรื่องของการตลาด คลิกอ่านได้ในโพสต์นี้เลย อยากรู้ว่า “พืชพันธุ์ดี ดีอย่างไร ซื้อที่ไหนได้ของดี”อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://esc.doae.go.th/49-พืชพันธุ์ดี-ดีอย่างไร-ซ/

อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วมและการดูแลฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลด อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วม ดอกและผลต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมจะเกิดสภาวะเครียด กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอทีลีนในปริมาณสูงกว่าปกติ ทำให้ต้นไม้ทิ้งดอกใบและผล โดยจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบรากรากขาดออกซิเจน เนื่องจากน้ำจะแทรกซึมเข้าไปตามช่องว่างของอากาศที่มีอยู่ในดิน ส่งผลต่อการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ต้นไม้จะสร้างรูเปิดขึ้น ซึ่งมักจะสร้างอยู่ตรงกลางส่วนของลำต้นบริเวณเหนือผิวน้ำที่ท่วมขังเพียงเล็กน้อย เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงราก ถ้าต้นไม้มีการสร้างรูเปิดมาก ก็จะยิ่งทำให้ต้นไม้มีโอกาสรอดมากเท่านั้น ใบพืชใบเหลือง มักจะเกิดกับใบแก่หรือใบที่อยู่ส่วนโคนของกิ่งในแต่ละกิ่งย่อย และเหลืองเข้มมากขึ้น ส่วนอาการซีดเหลืองมักจะพบในต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมขังต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบอาการใบลู่หรือห้อยลงอีกด้วย

เรื่องกล้วย ๆ เรื่องฮิตช่วงนี้ที่ใคร ๆ ก็ถามไถ่เข้ามา อยากปลูกต้องทำอย่างไร เลือกพันธุ์ไหนดี วันนี้ชวนอ่านกับ 3 เอกสารแนะนำ ด้านล่างนี้เลยค่ะ การผลิตกล้วยพันธุ์ดีคลิกอ่าน : https://bit.ly/4efoRdj “กล้วยหอมทอง” เรื่องกล้วย กล้วย ที่ไม่กล้วย!คลิกอ่าน : https://bit.ly/3TqI2bn แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝนคลิกอ่าน :

ชวนอ่านเรื่องราวของ “แมลงศัตรูข้าว” ตัวการสำคัญที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ควรเฝ้าระวังการระบาดในช่วงนี้ หมั่นสำรวจแปลงนาเพื่อควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรงนะคะ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลคลิกอ่าน : https://bit.ly/3ZkHDLo แมลงหวี่ขาวข้าวคลิกอ่าน : https://bit.ly/3TsIC8B หนอนกอข้าวคลิกอ่าน : https://bit.ly/3AU23kf

ประชาสัมพันธ์แจกต้นพันธุ์พริกบางช้าง ด้วยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 9 จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการเพาะพริกมันบางช้าง พร้อมที่จะจัดส่งให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 5,500 ต้น สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ขอเชิญชวนท่านที่สนใจ รับต้นพริกบางช้างไปปลูกในพื้นที่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พริกพันธุ์ท้องถิ่นของจังหวัด สามารถมารับต้นพริกได้ที่ สนง.เกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม รับต้นพันธุ์พริกบางช้าง ได้ตั้งแต่ วันที่ 19 กันยายน 2567 เวลา

สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง เปิดรับสมัคร เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมอบรม เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช หัวข้อการเรียนรู้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

ประชาสัมพันธ์ พี่น้องเกษตรกรจังหวัดพิจิตร ที่ประสบอุทกภัย (น้ำท่วม) และเครื่องจักรกลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับบริการซ่อมแซมเครื่องจักรกลได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน **แต่ยังไม่ต้องนำเครื่องจักรกลที่เสียหายมา แจ้งข้อมูลเพียง เมื่อรวบรวมข้อมูลรายชื่อเกษตรกร และเครื่องจักรกล ที่ได้รับความเสียหายครบถ้วนแล้ว จะนัดหมายเพื่อเข้าให้บริการอีกครั้ง โดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับ สำนักงาน เกษตรจังหวัดพิจิตรและสำนักงานเกษตรอำเภอ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วายร้ายประจำนาข้าว ปัจจัยการระบาด วิธีการปลูกข้าว : นาหว่านจะมีการระบาดมากกว่านาดำ เพราะมีต้นข้าวหนาแน่นกว่า อุณหภูมิความชื้นเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ย การใช้ปุ๋ย : หากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก ใบข้าวจะเขียวหนาแน่น อวบน้ำ เหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ย การควบคุมน้ำในนาข้าว : นาที่มีน้ำขังในนาตลอด จะมีการเพิ่มของเพลี้ยได้มากกว่านาที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว การใช้สารฆ่าแมลง : หากใช้ในระยะเพลี้ยตัวเต็มวัยหรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ ๆ

ข้อพึงระวังในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การเดินทางไปราชการและการฝึกอบรม เป็นส่วนสำคัญของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การเบิกค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การเบิกจ่ายเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 317 (กรกฎาคม – สิงหาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEข้อพึงระวังในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม หน้า 5 เกษตรต่างแดน“กว่างโจว” จุดยุทธศาสตร์กระจายสินค้าเกษตรสู่แดนมังกร หน้า 8


นายประสิทธิ์ รูปเอี่ยม เกษตรกรต้นแบบเกษตรเขตเมืองอัจฉริยะ อำเภอเมืองปทุมธานี เป็นเกษตรกรที่สามารถปรับตัวและปรับแนวทางการทำเกษตรให้อยู่ร่วมกับชุมชนเมืองได้ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยว (ทำนา) มาเป็นการทำเกษตรระบบไร่นาสวนผสม มีการใช้พื้นที่เพาะปลูกที่มีการผสมผสานกัน ทั้งการทำนาและทำสวนได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีการจัดการผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่แน่นอน ก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี และสามารถพัฒนาเป็นฟาร์มเกษตรอัจฉริยะได้ในอนาคต

การจัดสรรพื้นที่ทำการเกษตรระบบไร่นาสวนผสม

  1. พื้นที่ทำนา จำนวน 12 ไร่
  2. พื้นที่สวนสวน จำนวน 3 ไร่ 2 งาน
  3. พื้นที่บ่อ จำนวน 1 งาน
  4. พื้นที่โรงเรือน 2 โรงเรือน จำนวน 1 งาน

การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

  • มีการใช้เทคโนโลยีระบบการให้น้ำ โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อให้น้ำในแปลงไม้ผลผ่านสปริงเกอร์ ทำให้ลดการใช้แรงงานคน ประหยัดเวลา

การจัดการดินและน้ำ

  • มีการทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินก่อนเริ่มต้นฤดูกาลทำนาใหม่ และทำนาแบบไม่เผาฟาง โดยใช้น้ำหมักชีวภาพที่ทำขึ้นเองหมักฟางข้าว ซึ่งเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินมีคุณภาพ เกิดอินทรีย์วัตถุในดินมากขึ้น ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง และใช้น้ำหมักชีวภาพในแปลงไม้ผล เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

การจัดการผลผลิตและการตลาด

  • ข้าวเจ้า ขายให้แก้โรงสี ปีละ 2 ครั้ง
  • ไม้ผล เนื่องจากปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด ทำให้สามารถจัดการผลผลิตได้ตลอดทั้งปีตามฤดูกาล โดยขายผลผลิตให้แก่ลูกค้าในชุมชนใกล้บ้าน ที่เป็นชุมชนเมืองที่เกิดจาก การขยายพื้นที่หมู่บ้าน ทำให้มีรายได้ต่อเนื่องทั้งปี

การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช

  • สวนไม้ผล ใช้วิธีเขตกรรม ด้วยการดูแลด้วยตนเอง โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมของต้นพืชให้มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ ๆ เช่น การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช การไถพรวนดิน เพื่อทำลายแหล่งอาศัยของศัตรุพืช
  • ใช้สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมโรคและแมลงในนาข้าวและในสวนไม้ผล เช่น ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอร์เรีย และเมธาไรเซียม เพื่อกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช

จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี