ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ศัตรูมะพร้าวและการป้องกัน” ปัจจุบันมีศัตรูมะพร้าวที่กำลังระบาดและเป็นปัญหาในการปลูกมะพร้าว จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว และด้วงงวงมะพร้าว สำหรับการจัดการศัตรูมะพร้าว เพื่อให้ได้ผลดีและไม่ให้กลับมาระบาดใหม่ ควรใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไปมาใช้ร่วมกัน เพื่อลดปริมาณศัตรูมะพร้าวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย การป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสานคลิกอ่าน : https://bit.ly/2FUDSWS หนอนหัวดำคลิกอ่าน :

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “เรื่องเล่า…ชาวกาแฟ กาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกที่จะต้องดื่ม บางคนดื่มเพราะความเคยชิน บางคนดื่มเพื่อผ่อนคลาย บางคนดื่มเพราะจะทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า “กาแฟ” ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทางเศรษฐกิจของไทยมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน สายพันธุ์ที่นิยมในประเทศไทย 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟอะราบิกาและกาแฟโรบัสตา เมื่อเปรียบเทียบลักษณะเมล็ดกาแฟ 2 สายพันธุ์ อยากรู้เรื่องราวของกาแฟมากขึ้น คลิกที่ลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ เรื่องเล่า…ชาวกาแฟคลิกอ่าน : https://bit.ly/4hmR8PA การผลิตกาแฟอะราบิกา

หนอนแมลงวันพริก การทำลายในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยาก อาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน นอกจากนี้รอยแผลที่เกิดขึ้นจากการวางไข่ของแมลงยังส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชเข้าทำลายตาม ทำให้ผลเน่าและร่วงหล่นก่อนระยะเก็บเกี่ยว ฤดูการระบาดสภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเตือนผู้ปลูกพริก ในระยะเก็บเกี่ยว รับมือแมลงวันทองพริก ตัวเต็มวัยวางไข่ในระยะพริกใกล้เปลี่ยนสี ไปจนกระทั่งผลสุก หนอนกัดกินชอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลพริกเน่าร่วงหล่น เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดิน แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ลักษณะอาการหนอนชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศมาเลเซีย แล้วระบาดเข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย การนำเมล็ดพันธุ์จากทางภาคใต้มาเป็นเหตุทำให้หนอนชนิดนี้ติดมาด้วย เกษตรกรจึงเรียกหนอนชนิดนี้ว่า “หนอนใต้” หรือ “หนอนมาเลย์” หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากลักษณะภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียน ทำให้เกษตรกรไม่สามารถขายเนื้อทุเรียนสดได้ การแพร่ระบาดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนแพร่ระบาดในพื้นที่ปลูกทุเรียนของภาคใต้และภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ตราด) โดยพบระบาดมากระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด

หนอนชอนใบผัก

หนอนชอนใบผัก การทำลายแมลงวันขนาดเล็ก มีสีดำเหลือง ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ใต้ผิวใบตัวหนอนมีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน โดยชอนไชภายในใบ ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่น และตายได้ สามารถเข้าทำลายพืชผักได้หลายชนิด เช่น พืชตระกูล กะหล่ำ ต้นหอม มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะระ พริก บวบ กระเจี๊ยบเขียว โหระพา แมงลัก รวมถึง

ฟางข้าว=ปุ๋ย

ฟางข้าว=ปุ๋ย นาข้าว 1 ไร่ มีตอซังและฟางข้าว 650 กิโลกรัม >ธาตุอาหารหลัก 23 กิโลกรัม มูลค่า 725 บาท ปริมาณและมูลค่าของธาตุอาหารหลักในตอซังและฟางข้าว มีดังนี้ ***การใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายร่วมกับการไถกลบ ทำให้ตอซังข้าวนิ่ม ไถกลบได้ง่ายขึ้น*** จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี

ขอเชิญชวนเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรและผู้รักการอ่านทุกท่าน อ่านหนังสือ e-Book ฟรี ผ่าน แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ HIBRARY ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตรออนไลน์ เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรลงทะเบียนสมาชิกใหม่ >> https://forms.gle/9SEhGQz442Me4CAW8 บุคคลทั่วไปที่รักการอ่านลงทะเบียนสมาชิกใหม่ >> https://forms.gle/mjbJ9ikMD4SJ4RGE7 การเข้าใช้งาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สืบค้นข้อมูลห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์กรมส่งเสริมการเกษตร (e-Library )ได้ที่ http://library.doae.go.th

เตือนเกษตรกรงดใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผึ้งและแมลงผสมเกสรช่วงดอกลำไยระยะเริ่มบาน ผึ้งมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการถ่ายละอองเรณูของพืชดอก ขณะที่ผึ้งตอมดอกไม้เพื่อดูดกินน้ำหวานในดอกไม้ ละอองเรณู จะติดไปกับส่วนต่าง ๆ ของผึ้ง เช่น ปีก ขา และส่วนปาก


เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568

ภาคเหนือ
ข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าว
ลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาด
กาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุด
ผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

ภาคกลาง
ข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดสีนน้ำตาล หนอนกอข้าว โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ข้าว
อ้อย ระวัง หนอนกออ้อย โรคใบขาว โรคแส้ดำ
มะพร้าว ระวัง หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด
ผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก ด้วงหมัดผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง
มันสำปะหลัง ระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ โรคพุ่มแจ้ โรคใบไหม้ โรคใบด่าง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดสีนน้ำตาล หนอนกอข้าว โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ข้าว
มันสำปะหลัง ระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ โรคพุ่มแจ้ โรคใบด่าง
อ้อย ระวัง หนอนกออ้อย โรคใบขาว โรคเหี่ยวเน่าแดง
ทุเรียน ระวัง หนอนกินใบ เพลี้ยจักจั่นฝอย ไรแดง โรครากเน่าโคนเน่า
ยางพารา ระวัง โรคใบร่วงชนิดใหม่ โรคราแป้ง อาการเปลือกแห้ง

ภาคตะวันออก
มันสำปะหลัง ระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ โรคใบด่าง โรคพุ่มแจ้ โรคใบไหม้
ทุเรียน ระวัง เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน เพลี้ยแป้ง ไรแดง ด้วงหนวดยาว โรครากเน่าโคนเน่า
มะพร้าว ระวัง หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด
ยางพารา ระวัง โรคใบร่วง โรครากขาว โรคราแป้ง อาการเปลือกแห้ง

ภาคใต้
ทุเรียน ระวัง เพลี้ยแป้ง โรคใบจุดสาหร่าย โรคใบติด โรครากเน่าโคนเน่า
มังคุด ระวัง หนอนชอนใบ เพลี้ยแป้ง ไรแดง โรคใบจุดสาหร่าย โรคใบจุด
ปาล์มน้ำมัน ระวัง หนอนปลอกเล็ก ด้วงกุหลาบ โรคทะลายเน่า โรคลำต้นเน่า
มะพร้าว ระวัง หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด
ยางพารา ระวัง โรคราแป้ง โรคเส้นดำ โรคใบร่วงชนิดใหม่ โรครากขาว

จัดทำโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568