ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เปิดรับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วม โครงการพัฒนาทักษะและแนวคิดผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประจำปี 2568 คุณสมบัติผู้สมัคร เอกสารการสมัคร สถานที่รับสมัคร : สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัด ที่มา : กองพัฒนาเกษตรกร

ขอเชิญชวน เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มะยงชิด มะปรางหวาน จังหวัดนครนายก ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ที่หมดอายุแล้วหรือกำลังหมดอายุ และผู้ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI เอกสารประกอบการยื่นคำขอ ผู้ยื่นใบสมัครไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก 

ประกาศ สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง เปิดรับสมัคร เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วม อบรม เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชทุเรียน ในวันที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 -14.00 น. ณ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ต.ไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี

ประชาสัมพันธ์ขอเชิญเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกรปาล์มน้ำมัน อ.พระแสง ครั้งที่ 5 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ณ สวนนายหนึ่ง ม.5 ต. อิปัน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานีเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถเข้าร่วมได้ตามวันและเวลาดังกล่าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด กรมส่งเสริมการเกษตรมีความห่วงใยเกษตรกรชาวสวนไม้ผล ที่สวนไม้ผลและผลผลิตอาจเสียหายจากอุทกภัย จึงขอแนะนำวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลดและขอให้เกษตรกรดำเนินการ ดังนี้             1. เร่งระบายน้ำออกจากโคนต้นไม้ สวนไม้ผล หรือบริเวณที่มีน้ำขังโดยเร็ว ด้วยการขุดร่องระบายน้ำและใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกจากสวนโดยเร็ว หากพื้นที่รอบสวนยังมีน้ำท่วมอยู่ จำเป็นต้องยกขอบแปลงเป็นคันดินเพื่อกันน้ำจากภายนอกทะลักเข้ามาในสวนด้วย             2. อย่านำเครื่องจักรกลเข้าสวนขณะที่ดินยังเปียกอยู่ และไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืช เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังโครงสร้างของดินจะง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำและกระทบกระเทือนต่อระบบรากของไม้ผล             3.

รู้หรือไม่…ก่อนจะได้เป็น Young Smart Farmer (YSF) ต้องทำอย่างไร? มีอะไรที่จะต้องรู้ก่อนสมัคร? วันนี้ เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนมาอ่านเรื่องราวของ Young Smart Farmer เกษตรกรรุ่นใหม่ไปด้วยกัน กับ 2 เอกสารแนะนำดังนี้ค่ะ Young Smart Farmerคลิกอ่าน : https://bit.ly/3Bvu8yG

โควตาพิเศษสำหรับบุตร-หลานเกษตรกรและยุวเกษตรกร เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะเกษตร กำแพงแสน พร้อมทุนการศึกษากว่า 200 ทุน – วท.บ. (เกษตรศาสตร์) – วท.บ. (สัตวศาสตร์) – วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร) – วท.บ. (เครื่องจักรกลและเมคคาทรอนิกส์เกษตร) สอบถามรายละเอียดการรับสมัคร สมัครเรียน คณะเกษตร กำแพงแสนwww.agri.kps.ku.ac.th

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี ธาตุเจ้าเรือนทา… – ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี | Facebook ธาตุดิน : คนที่เกิดเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มักไม่ค่อยเจ็บป่วย เพราะธาตุดิน เป็นที่ตั้งของกองธาตุ มักมีร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีรสฝาด รสหวาน รสมัน รสเค็ม

สเปรย์ไล่ยุง

สเปรย์ไล่ยุง ส่วนประกอบ วิธีทำ ในสมุนไพรมีสารสำคัญ คือน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะ ซึ่งเป็นกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี


เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วายร้ายประจำนาข้าว

ปัจจัยการระบาด

วิธีการปลูกข้าว : นาหว่านจะมีการระบาดมากกว่านาดำ เพราะมีต้นข้าวหนาแน่นกว่า อุณหภูมิความชื้นเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ย

การใช้ปุ๋ย : หากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก ใบข้าวจะเขียวหนาแน่น อวบน้ำ เหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ย

การควบคุมน้ำในนาข้าว : นาที่มีน้ำขังในนาตลอด จะมีการเพิ่มของเพลี้ยได้มากกว่านาที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว

การใช้สารฆ่าแมลง : หากใช้ในระยะเพลี้ยตัวเต็มวัยหรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ ๆ ตัวเพลี้ยจะตาย แต่ไข่ของเพลี้ยมีโอกาสรอดสูง

การป้องกันกำจัด

  • ใช้พันธุ์ต้านทาน และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก
  • หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
  • กำจัดวัชพืชรอบ ๆ แปลง
  • ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากไป
  • ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด เมื่อพบจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มากกว่า 10 ตัวต่อกอ เช่น สารไพมีโทรซีน, ฟลอนิคามิค, บูโพรเฟซิน, สารอีทิโพรล, ไดโนทีฟูแรน, อิมิดาคลอพริด, ไทอะมีโทแซม, ไอโซโพคาร์บ, ฟีโนบูคาร์บ