ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เตือนเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระวัง “หนู” สัตว์ศัตรูพืช ระบาดในพื้นที่การเกษตร การป้องกันและกำจัด เรียบเรียง :  กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

การเพาะกล้าผัก

การเพาะกล้าผัก วัสดุเพาะ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

สำนักงานเกษตรอำเภอแก่งคอย​ จังหวัดสระบุรี ประชาสัมพันธ์​เกษตรกรและประชาชนทั่วไป​ ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่​ ในพระราชานุเคราะห์ฯ ครั้งที่​ 4​ ประจำปี​ 2567​ ในวันพุธที่​ 24​ กรกฎาคม​ 2567​ เวลา​ 08.00 น.​ เป็นต้นไป (นำบัตรประชาชนติดมาด้วย)  เครื่องแต่งกายเสื้อโทนสีเหลือง กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

ขอเชิญร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดพิจิตร ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ณ วัดหงษ์ ตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร

กาหยูเกาะพยาม

แผ่นพับที่ 10/2567 กาหยูเกาะพยาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดระนอง มะม่วงหิมพานต์ หรือ “กาหยู” มีแหล่งปลูกในจังหวัดระนอง ปลูกเยอะที่สุดที่ตำบลเกาะพยาม ด้วยสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย จึงเหมาะสำหรับปลูกกาหยู ทำให้เมล็ดมีลักษณะเนื้อแน่น รสชาติหวานมัน กรอบ อร่อย รวมถึงการแปรรูปกาหยูที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการคั่วแบบโบราณและคั่วเมล็ดด้วยข้าวสาร จึงมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร

“3R Model : 3 เปลี่ยน” โมเดลที่จะชวนเกษตรกรไทย หยุดเผาในพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชนิดพืช และเปลี่ยนเป็นพืชทางเลือก อ่านเรื่องราวแบบละเอียด รวมถึงวิธีการที่จะนำมาซึ่งการหยุดเผา การลดต้นทุน และการเพิ่มรายได้ ใน 4 เอกสารแนะนำดังนี้ 1. แนวทาง 3R Model :

ฮอร์โมนไข่

ฮอร์โมนไข่ ทำง่าย ต้นทุนต่ำ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้ใช้อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 80 ไร่ จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

หนอนปลอกข้าว

หนอนปลอกข้าว ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ 2-3 แถบตามขอบปีก ลักษณะและการระบาด การป้องกันและกำจัด 1. ระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อทำลายตัวหนอน และระงับการแพร่ระบาดในนาข้าว เพราะหนอนจะระบาดโดยปลอกลอยไปตามน้ำ ถ้าเอาน้ำออก หนอนก็จะระบาดไม่ได้ 2. ใช้สารฆ่าแมลง เมื่อตรวจพบใบถูกทำลายมากกว่า 15% หรือพบใบห่อ 6-8 ใบ ต่อ

หนอนห่อใบข้าว

ระวัง! หนอนห่อใบข้าว ลักษณะการทำลาย เรียบเรียงโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทุกภาคของประเทศไทย จากการติดตามสถานการณ์ศัตรูข้าว และการรายงานข้อมูลสถานการณ์การระบาดของศัตรูข้าวในพื้นที่ เริ่มพบการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดในแถบภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหลายพื้นที่ฝนเริ่มตกลดลง สภาพอากาศกลางวันร้อน อุณหภูมิและความชื้นเหมาะต่อการเพิ่มจำนวนประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดังนั้น ขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัด ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

รูปร่างลักษณะ
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ ๓ มิลลิเมตร กว้าง ๑ มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง ๒ ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (brachyterous form) ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ ๒ สัปดาห์ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย โดยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น “hopper burn” ทำให้ข้าวแห้งตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหารได้ดี

ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย หรือที่เส้นกลางใบหลังใบข้าวโดยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น “hopper burn” ทำให้ข้าวแห้งตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหาร เช่น เมื่อมีอาหารมากจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกสั้นและขยายพันธุ์ได้มาก แต่เมื่ออาหารมีน้อยจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกยาวเพื่ออพยพไปยังแหล่งอาหารอื่น

ขอบคุณภาพจาก : กรมการข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้้ำตาล