ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร


ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว

โรคขอบใบแห้ง
ทําลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้าที่ขอบใบต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้นโดยรวดเร็ว เรียกอาการของโรคนี้ว่า ครีเสก (kresek) การป้องกันกําจัด ใช้พันธุ์ต้านทานโรค ไม่ใส่ ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
สารเคมีป้องกันกําจัด เสตร็พโตมัยซินซัลเฟต+ออกซีเตทตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์ ไตรเบซิคคอปเปอร์ซัลเฟต ซิงค์ไทอะโซล

โรคไหม้
ทําลายระยะกล้าถึงออกรวง ใบเป็นจุดสีน้ําตาลคล้ายรูปตา หัวท้ายแหลม ตรงกลาง แผลมีจุดสีเทา กรณีที่โรคระบาดรุนแรงแผลขยายติดกัน กล้าข้าวจะแห้งฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่กาบใบ ข้อต่อใบและข้อต่อของลำต้น ระยะออกรวง มีแผลที่คอรวง เกิดเมล็ดลีบ ถ้าข้าวเริ่มโน้มรวงเกิดแผลช้ําที่คอรวง ทําให้รวงหัก การป้องกันกําจัด ใช้พันธุ์ต้านทานโรค คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันเชื้อรา ไม่ควร หว่านข้าวหนาแน่นเกินไป ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลง
สารเคมีป้องกันกําจัด ไตรไซคลาโซล ไอโซโปรไธโอเลน คาร์เบนดาซิม

โรคใบจุดสีน้ําตาล
ทําลายระยะกล้าถึงออกรวง มีลักษณะจุดสีนํ้าตาลคล้ายสนิมรูปกลมหรือรูปไข่ที่ใบ แผลมีสีเหลือง หากพบแผลที่เกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก เรียก โรคเมล็ดด่าง ทําให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพ เมื่อนําไปสีจะทําให้เมล็ดหักง่าย การป้องกันกําจัด ปรับปรุงบํารุงดินโดยการไถกลบฟาง เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินด้วยการใช้ปุ๋ยพืชสดหรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดความรุนแรงของโรค คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา กําจัดวัชพืชทําแปลงให้สะอาด ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม
สารเคมีป้องกันกําจัด คาร์เบนดาซิม แมนโคเซบ โพรพิโคนาโซล ทีบูโคโนโซล ครีโซซิม-เมทิล หรือคาร์เบนดา ซิม+แมนโคเซบ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สํานักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท https://www.facebook.com/DoaeChainat

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว