ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

“อยากปลูกกล้วย” แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี? วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน ตั้งแต่กระบวนการเลือกกล้วยพันธุ์ดี การเพาะปลูก การดูแล การใส่ปุ๋ย และเรื่องของการตลาด คลิกอ่านได้ในโพสต์นี้เลย อยากรู้ว่า “พืชพันธุ์ดี ดีอย่างไร ซื้อที่ไหนได้ของดี”อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://esc.doae.go.th/49-พืชพันธุ์ดี-ดีอย่างไร-ซ/

อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วมและการดูแลฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลด อาการของต้นพืชที่ถูกน้ำท่วม ดอกและผลต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมจะเกิดสภาวะเครียด กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอทีลีนในปริมาณสูงกว่าปกติ ทำให้ต้นไม้ทิ้งดอกใบและผล โดยจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบรากรากขาดออกซิเจน เนื่องจากน้ำจะแทรกซึมเข้าไปตามช่องว่างของอากาศที่มีอยู่ในดิน ส่งผลต่อการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ต้นไม้จะสร้างรูเปิดขึ้น ซึ่งมักจะสร้างอยู่ตรงกลางส่วนของลำต้นบริเวณเหนือผิวน้ำที่ท่วมขังเพียงเล็กน้อย เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงราก ถ้าต้นไม้มีการสร้างรูเปิดมาก ก็จะยิ่งทำให้ต้นไม้มีโอกาสรอดมากเท่านั้น ใบพืชใบเหลือง มักจะเกิดกับใบแก่หรือใบที่อยู่ส่วนโคนของกิ่งในแต่ละกิ่งย่อย และเหลืองเข้มมากขึ้น ส่วนอาการซีดเหลืองมักจะพบในต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมขังต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบอาการใบลู่หรือห้อยลงอีกด้วย

เรื่องกล้วย ๆ เรื่องฮิตช่วงนี้ที่ใคร ๆ ก็ถามไถ่เข้ามา อยากปลูกต้องทำอย่างไร เลือกพันธุ์ไหนดี วันนี้ชวนอ่านกับ 3 เอกสารแนะนำ ด้านล่างนี้เลยค่ะ การผลิตกล้วยพันธุ์ดีคลิกอ่าน : https://bit.ly/4efoRdj “กล้วยหอมทอง” เรื่องกล้วย กล้วย ที่ไม่กล้วย!คลิกอ่าน : https://bit.ly/3TqI2bn แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝนคลิกอ่าน :

ชวนอ่านเรื่องราวของ “แมลงศัตรูข้าว” ตัวการสำคัญที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ควรเฝ้าระวังการระบาดในช่วงนี้ หมั่นสำรวจแปลงนาเพื่อควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรงนะคะ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลคลิกอ่าน : https://bit.ly/3ZkHDLo แมลงหวี่ขาวข้าวคลิกอ่าน : https://bit.ly/3TsIC8B หนอนกอข้าวคลิกอ่าน : https://bit.ly/3AU23kf

ประชาสัมพันธ์แจกต้นพันธุ์พริกบางช้าง ด้วยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 9 จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการเพาะพริกมันบางช้าง พร้อมที่จะจัดส่งให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 5,500 ต้น สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ขอเชิญชวนท่านที่สนใจ รับต้นพริกบางช้างไปปลูกในพื้นที่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พริกพันธุ์ท้องถิ่นของจังหวัด สามารถมารับต้นพริกได้ที่ สนง.เกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม รับต้นพันธุ์พริกบางช้าง ได้ตั้งแต่ วันที่ 19 กันยายน 2567 เวลา

สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง เปิดรับสมัคร เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมอบรม เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช หัวข้อการเรียนรู้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

ประชาสัมพันธ์ พี่น้องเกษตรกรจังหวัดพิจิตร ที่ประสบอุทกภัย (น้ำท่วม) และเครื่องจักรกลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับบริการซ่อมแซมเครื่องจักรกลได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน **แต่ยังไม่ต้องนำเครื่องจักรกลที่เสียหายมา แจ้งข้อมูลเพียง เมื่อรวบรวมข้อมูลรายชื่อเกษตรกร และเครื่องจักรกล ที่ได้รับความเสียหายครบถ้วนแล้ว จะนัดหมายเพื่อเข้าให้บริการอีกครั้ง โดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับ สำนักงาน เกษตรจังหวัดพิจิตรและสำนักงานเกษตรอำเภอ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วายร้ายประจำนาข้าว ปัจจัยการระบาด วิธีการปลูกข้าว : นาหว่านจะมีการระบาดมากกว่านาดำ เพราะมีต้นข้าวหนาแน่นกว่า อุณหภูมิความชื้นเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ย การใช้ปุ๋ย : หากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก ใบข้าวจะเขียวหนาแน่น อวบน้ำ เหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ย การควบคุมน้ำในนาข้าว : นาที่มีน้ำขังในนาตลอด จะมีการเพิ่มของเพลี้ยได้มากกว่านาที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว การใช้สารฆ่าแมลง : หากใช้ในระยะเพลี้ยตัวเต็มวัยหรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ ๆ

ข้อพึงระวังในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การเดินทางไปราชการและการฝึกอบรม เป็นส่วนสำคัญของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การเบิกค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การเบิกจ่ายเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 317 (กรกฎาคม – สิงหาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEข้อพึงระวังในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม หน้า 5 เกษตรต่างแดน“กว่างโจว” จุดยุทธศาสตร์กระจายสินค้าเกษตรสู่แดนมังกร หน้า 8


ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว

โรคขอบใบแห้ง
ทําลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้าที่ขอบใบต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้นโดยรวดเร็ว เรียกอาการของโรคนี้ว่า ครีเสก (kresek) การป้องกันกําจัด ใช้พันธุ์ต้านทานโรค ไม่ใส่ ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
สารเคมีป้องกันกําจัด เสตร็พโตมัยซินซัลเฟต+ออกซีเตทตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์ ไตรเบซิคคอปเปอร์ซัลเฟต ซิงค์ไทอะโซล

โรคไหม้
ทําลายระยะกล้าถึงออกรวง ใบเป็นจุดสีน้ําตาลคล้ายรูปตา หัวท้ายแหลม ตรงกลาง แผลมีจุดสีเทา กรณีที่โรคระบาดรุนแรงแผลขยายติดกัน กล้าข้าวจะแห้งฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่กาบใบ ข้อต่อใบและข้อต่อของลำต้น ระยะออกรวง มีแผลที่คอรวง เกิดเมล็ดลีบ ถ้าข้าวเริ่มโน้มรวงเกิดแผลช้ําที่คอรวง ทําให้รวงหัก การป้องกันกําจัด ใช้พันธุ์ต้านทานโรค คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันเชื้อรา ไม่ควร หว่านข้าวหนาแน่นเกินไป ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลง
สารเคมีป้องกันกําจัด ไตรไซคลาโซล ไอโซโปรไธโอเลน คาร์เบนดาซิม

โรคใบจุดสีน้ําตาล
ทําลายระยะกล้าถึงออกรวง มีลักษณะจุดสีนํ้าตาลคล้ายสนิมรูปกลมหรือรูปไข่ที่ใบ แผลมีสีเหลือง หากพบแผลที่เกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก เรียก โรคเมล็ดด่าง ทําให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพ เมื่อนําไปสีจะทําให้เมล็ดหักง่าย การป้องกันกําจัด ปรับปรุงบํารุงดินโดยการไถกลบฟาง เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินด้วยการใช้ปุ๋ยพืชสดหรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดความรุนแรงของโรค คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา กําจัดวัชพืชทําแปลงให้สะอาด ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม
สารเคมีป้องกันกําจัด คาร์เบนดาซิม แมนโคเซบ โพรพิโคนาโซล ทีบูโคโนโซล ครีโซซิม-เมทิล หรือคาร์เบนดา ซิม+แมนโคเซบ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สํานักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท https://www.facebook.com/DoaeChainat

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF.

ระวัง 3 โรคข้าวหน้าหนาว