ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

นายยุทธพงษ์ รัตนวิทย์ เกษตรกรต้นแบบ ได้นำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ เช่น โรงเรือนปลูกพืชและระบบน้ำ มีการวางระบบน้ำในแปลงปลูกพืชผัก เช่น ระบบน้ำหยดและมินิสปริงเกอร์ และระบบการให้น้ำอัจฉริยะ (Handy Sense) มาใช้ในโรงเรือนปลูกผัก สามารถประหยัดเวลาในการให้น้ำ เพิ่มความแม่นยำในการควบคุมปริมาณน้ำให้แก่พืชผัก ทำให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูง และสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี สามารถกำหนดปริมาณน้ำให้เหมาะสมและเพียงพอ ตามชนิดพืชที่ปลูกได้ เมื่อพืชได้รับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยให้ผลผลิตสม่ำเสมอ เกษตรกรได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ในราคาที่จับต้องได้จากการติดตั้งใช้งานจริงและพิสูจน์แล้วว่า Handy

ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P) ในแต่ละชนิด 18-46-0 แม่ปุ๋ย DAP (ไดแอมโมเนียมฟอสเฟส) มีธาตุอาหารในรูปแอมโมเนียม-ไนโตรเจน 18% และมีฟอสฟอรัสในรูปของ phosphorus pentoxide 46% เป็นแม่ปุ๋ยที่นิยมใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผสมและผลิตปุ๋ย มีคุณสมบัติช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ช่วยในการเร่งการแตกราก และช่วยบำรุงต้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับไม้ดอก ในช่วงระยะการเร่งออกดอก บำรุงดอก ช่วยให้ดอกสมบูรณ์แข็งแรง เกสรสมบูรณ์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ลักษณะอากาศเฉลี่ยที่หมายรวมถึงลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอากาศทั้งหมด เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม ที่มีการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่หนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมมาจากกิจกรรมมนุษย์ สถานการณ์ภัยแล้งประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวน อาจส่งผลกระทบเป็นชนวงกว้างให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย สามารถเข้าดูเอกสารได้ตามด้านล่างค่ะ การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคลิกอ่าน : https://bit.ly/3CA9fTQ เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร?คลิกอ่าน : https://bit.ly/3TtaHvY

วัชพืชในนาข้าว หญ้าข้าวนกลักษณะเด่น : ขณะต้นเล็กคล้ายข้าวมาก รอยต่อระหว่างใบและกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝน หญ้าแดงลักษณะเด่น : ลำต้น แนบพื้นดินและชูยอดขึ้น ช่อดอกติดกันแน่นคล้ายธูป หญ้าดอกขาวลักษณะเด่น : รอยต่อระหว่างใบและกาบใบมีเยื่อกันน้ำฝนเป็นแฉก หญ้านกสีชมพูลักษณะเด่น : ลำต้น ใบ และดอก บางทีมีสีชมพู รอยต่อระหว่างใบ และกาบใบไม่มีเยื่อกันน้ำฝนและเขี้ยวกันแมลง ผักปอดนาลักษณะเด่น

โทษจากการเผาในพื้นที่การเกษตร กฎหมายอาญา มาตรา 220 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560)“ผู้ใดทำให้เกิดไฟไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท” ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุเกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระะวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ฟรี วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร การคัดเลือกแม่พันธุ์และการขยายกล้วยพันธุ์ดีหน่วยงาน : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลกหมายเลขโทรศัพท์ : 0 5590 6220 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568หลักสูตร

“กระเจียวหวาน” เพชรน้ำผึ้ง พืชสร้างรายได้ นางประดิษฐ์ บุญเกษม เกษตรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ศาสตร์พระราชา โคก หนอง นาโมเดล “สวนดอกกระเจียว” หมู่ 21 ตำบลตาหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เริ่มปลูกกระเจียวเพชรน้ำผึ้งในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อสร้างรายได้เสริม ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น

ใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุน ปรับสมดุลดิน ประโยชน์ของแหนแดง จัดทำโดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี มกราคม ; 2568

วันที่ 28 มกราคม 2568 สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 350เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่


โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา : Pseudoperonospora cubensis

อาการเริ่มแรกพบจุดสีเหลืองหรือน้ำตาลขนาดเล็ก และขยายใหญ่ขึ้นเป็นปื้นสีเหลือง โดยจะพบที่ใบล่าง ใบแก่หรือโคนเถา ในเวลาเช้ามืดจะเห็นเส้นใยเชื้อราสีขาวหรือเทาที่ใต้ใบ ขอบใบจะม้วนและร่วง ปื้นสีเหลืองนั้นต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
*ในเมล่อน แคนตาลูปและแตงโม จะทำให้ความหวานลดลง

วิธีการดูแลรักษา

  1. ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียล นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดด้วยสารเมทาแลกซิล 35% DS อัตรา 7 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
  2. ไม่ปลูกพืชแน่นเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื่นสูง และหมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศในแปลงได้ดี และทำลายแหล่งอาศัยของด้วงเต่าแดง
  3. กำจัดด้วงเต่าแดง ซึ่งอาจเป็นแมลงพาหนะโรค โดยการจับทำลาย หรือพ่นด้วยสารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น ไดโนทีฟูแรน 10% SL 20 มิลลิลิตร, ฟิโพรนิล 5% SC 20 มิลลิลิตร, คาร์บาริล 85% WP 30 กรัม *อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร
  4. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคเริ่มระบาดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น แมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% WG 50 กรัม, ไซมอกซานิล+ฟามอกซาโดน 30%+22.5% WG 10-15 กรัม, แมนโคเซบ+วาลิฟีนาเลท 60% WG 50 กรัม, ไดเมโทมอร์ฟ 50% WP 30 กรัม *อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งบนและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน
  5. แปลงที่เป็นโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น เพื่อลดความชื้นในแปลงและหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก ไม่ปลูกพืชตระกูลแตงซ้ำและควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/10/โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง.png