ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สมบัติของดินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช สมบัติของดินทั้ง 3 ด้าน มีการเกื้อหนุนกันเป็นวัฏจักร ดินมีโครงสร้างที่ดี ส่งผลให้มีสมบัติทางเคมีที่ดี โดยเฉพาะการจัดเก็บธาตุอาหารไว้ให้พืชและสิ่งมีชีวิตในดิน ยังช่วยเกื้อหนุนสมบัติของดินให้ดี สุดท้ายจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีของพืช ดังนั้น หากดินมีปัญหาด้านใด ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข และต้องทำก่อนใส่ปุ๋ย เพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ กายภาพ เคมี ชีวภาพ ที่มา : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

สมุนไพรไล่แมลง สารสกัดเมล็ดสะเดา ประโยชน์ของเมล็ดสะเดา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก

หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า

หนอนคืบกินใบเงาะ

หนอนคืบกินใบเงาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyodes scrobiculata (Fabricius) รูปร่างลักษณะหนอนคืบกินใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน ลักษณะการทำลายหนอนคืบกินใบสามารถทำความเสียหายให้กับพืชได้มากในระยะแตกใบอ่อน โดยตัวหนอนที่ออกจากไข่จะเริ่มกัดกินใบอ่อน และเมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกินทั้งใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ วิธีป้องกันกำจัด 1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ 2.หมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อน ถ้าหากโคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้า

มะนาวแป้นไต้หวัน

มะนาวแป้นไต้หวัน ลักษณะเด่นมะนาวแป้นไต้หวัน สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ออกลูกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะต้นมีหนามสั้นโตเร็ว ออกลูกเป็นพวง ผลดก ขนาดใหญ่มีทรงแป้นเหมือนลูกจัน เปลือกบาง มีกลิ่นหอม มีรสเปรี้ยวกลมกล่อม เมล็ดน้อย มีความต้านทานโรคแคงเกอร์ การขยายพันธุ์และดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้เป็นมะนาวเก่าแก่ที่ปลูกอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ผลใหญ่ดกเป็นพวง ทรงผลแป้น เปลือกบาง น้ำมีกลิ่นหอม เมล็ดน้อย รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม ที่มา :

ประชาสัมพันธ์รับสมัครเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่ยังไม่ได้การรับรอง GAP เข้าร่วมโครงการปรับระบบและเพิ่มศักยภาพการผลิตลำไยให้ได้คุณภาพมาตรฐานฯ คุณสมบัติ สมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 30 พฤศจิกายน 2567ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ (ในวันและเวลาราชการ) ใบสมัครเข้าร่วมโครงการhttps://shorturl.asia/7Yr2b สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอแม่ทา ลำพูน

รู้หรือไม่? …ไผ่ แต่ละชนิดแม้จะมีชื่อเหมือนกัน แต่แตกต่างกัน ชวนอ่านเรื่องราวของไผ่จาก 3 เอกสารแนะนำดังนี้ ไผ่ซางหม่นhttps://esc.doae.go.th/ไผ่ซางหม่น ไผ่รวกhttps://esc.doae.go.th/ไผ่รวก/ ไผ่หม่าจูhttps://esc.doae.go.th/ไผ่หม่าจู/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์https://www.facebook.com/profile.php?id=100084142539692

ไผ่หม่าจู

ไผ่หม่าจู ลำขนาดใหญ่ หน่อขนาดใหญ่ มีรสชาติหวานกรอบ สีเขียวอมเหลือง ใบขนาดใหญ่ใช้ทำบ๊ะจ่างได้ดีและชาวจีนไต้หวัน นิยมเอาใบสดไปหมักทำเหล้า เรียกว่า เหล้าไผ่ หรือเหล้าจู๋เย่ชิง ลักษณะเด่นไผ่หม่าจูอยู่สกุลไผ่ตง เป็นไผ่ต่างถิ่นนำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-16 เซนติเมตร ลำมีสีเขียวนวล ไม่มีหนาม หน่อมีสีเหลืองส้ม

ไผ่รวก

ไผ่รวก ไผ่ขึ้นเป็นกอแน่น ลำขนาดเล็ก เรียวตรง กิ่งแขนงน้อย มีกาบแห้งติดกับลำ ลักษณะเด่นไผ่รวกเป็นไผ่ขนาดเล็กถึงกลาง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 2-4 เซนติเมตร ในที่แล้ง และขนาด 4-7 เซนติเมตร ในที่ชื้น ความสูง 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตันที่ปลายลำมีเนื้อบางกว่า ลักษณะกอปลายลำมักโค้งลง กอค่อนข้างแน่น กาบหุ้มลำคล้ายกระดาษติดอยู่กับลำนาน


โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา : Pseudoperonospora cubensis

อาการเริ่มแรกพบจุดสีเหลืองหรือน้ำตาลขนาดเล็ก และขยายใหญ่ขึ้นเป็นปื้นสีเหลือง โดยจะพบที่ใบล่าง ใบแก่หรือโคนเถา ในเวลาเช้ามืดจะเห็นเส้นใยเชื้อราสีขาวหรือเทาที่ใต้ใบ ขอบใบจะม้วนและร่วง ปื้นสีเหลืองนั้นต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
*ในเมล่อน แคนตาลูปและแตงโม จะทำให้ความหวานลดลง

วิธีการดูแลรักษา

  1. ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียล นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดด้วยสารเมทาแลกซิล 35% DS อัตรา 7 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
  2. ไม่ปลูกพืชแน่นเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื่นสูง และหมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศในแปลงได้ดี และทำลายแหล่งอาศัยของด้วงเต่าแดง
  3. กำจัดด้วงเต่าแดง ซึ่งอาจเป็นแมลงพาหนะโรค โดยการจับทำลาย หรือพ่นด้วยสารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น ไดโนทีฟูแรน 10% SL 20 มิลลิลิตร, ฟิโพรนิล 5% SC 20 มิลลิลิตร, คาร์บาริล 85% WP 30 กรัม *อัตราส่วนต่อน้ำ 20 ลิตร
  4. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคเริ่มระบาดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น แมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% WG 50 กรัม, ไซมอกซานิล+ฟามอกซาโดน 30%+22.5% WG 10-15 กรัม, แมนโคเซบ+วาลิฟีนาเลท 60% WG 50 กรัม, ไดเมโทมอร์ฟ 50% WP 30 กรัม *อัตราต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งบนและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน
  5. แปลงที่เป็นโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น เพื่อลดความชื้นในแปลงและหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก ไม่ปลูกพืชตระกูลแตงซ้ำและควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร