ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เปิดรับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วม โครงการพัฒนาทักษะและแนวคิดผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประจำปี 2568 คุณสมบัติผู้สมัคร เอกสารการสมัคร สถานที่รับสมัคร : สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัด ที่มา : กองพัฒนาเกษตรกร

ขอเชิญชวน เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มะยงชิด มะปรางหวาน จังหวัดนครนายก ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ที่หมดอายุแล้วหรือกำลังหมดอายุ และผู้ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI เอกสารประกอบการยื่นคำขอ ผู้ยื่นใบสมัครไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก 

ประกาศ สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง เปิดรับสมัคร เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วม อบรม เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชทุเรียน ในวันที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 -14.00 น. ณ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ต.ไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี

ประชาสัมพันธ์ขอเชิญเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกรปาล์มน้ำมัน อ.พระแสง ครั้งที่ 5 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ณ สวนนายหนึ่ง ม.5 ต. อิปัน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานีเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถเข้าร่วมได้ตามวันและเวลาดังกล่าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลด กรมส่งเสริมการเกษตรมีความห่วงใยเกษตรกรชาวสวนไม้ผล ที่สวนไม้ผลและผลผลิตอาจเสียหายจากอุทกภัย จึงขอแนะนำวิธีฟื้นฟูและดูแลสวนไม้ผลหลังน้ำลดและขอให้เกษตรกรดำเนินการ ดังนี้             1. เร่งระบายน้ำออกจากโคนต้นไม้ สวนไม้ผล หรือบริเวณที่มีน้ำขังโดยเร็ว ด้วยการขุดร่องระบายน้ำและใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกจากสวนโดยเร็ว หากพื้นที่รอบสวนยังมีน้ำท่วมอยู่ จำเป็นต้องยกขอบแปลงเป็นคันดินเพื่อกันน้ำจากภายนอกทะลักเข้ามาในสวนด้วย             2. อย่านำเครื่องจักรกลเข้าสวนขณะที่ดินยังเปียกอยู่ และไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืช เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังโครงสร้างของดินจะง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำและกระทบกระเทือนต่อระบบรากของไม้ผล             3.

รู้หรือไม่…ก่อนจะได้เป็น Young Smart Farmer (YSF) ต้องทำอย่างไร? มีอะไรที่จะต้องรู้ก่อนสมัคร? วันนี้ เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ ชวนมาอ่านเรื่องราวของ Young Smart Farmer เกษตรกรรุ่นใหม่ไปด้วยกัน กับ 2 เอกสารแนะนำดังนี้ค่ะ Young Smart Farmerคลิกอ่าน : https://bit.ly/3Bvu8yG

โควตาพิเศษสำหรับบุตร-หลานเกษตรกรและยุวเกษตรกร เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะเกษตร กำแพงแสน พร้อมทุนการศึกษากว่า 200 ทุน – วท.บ. (เกษตรศาสตร์) – วท.บ. (สัตวศาสตร์) – วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร) – วท.บ. (เครื่องจักรกลและเมคคาทรอนิกส์เกษตร) สอบถามรายละเอียดการรับสมัคร สมัครเรียน คณะเกษตร กำแพงแสนwww.agri.kps.ku.ac.th

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี ธาตุเจ้าเรือนทา… – ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี | Facebook ธาตุดิน : คนที่เกิดเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มักไม่ค่อยเจ็บป่วย เพราะธาตุดิน เป็นที่ตั้งของกองธาตุ มักมีร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีรสฝาด รสหวาน รสมัน รสเค็ม

สเปรย์ไล่ยุง

สเปรย์ไล่ยุง ส่วนประกอบ วิธีทำ ในสมุนไพรมีสารสำคัญ คือน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะ ซึ่งเป็นกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี


โรคไหม้ (Rice Blast Disease)

พบทุกภาคในประเทศไทย ในข้าวนาสวน ทั้งนาปีและนาปรัง และข้าวไร่

ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้อาการ

ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง หรือ โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง อากาศค่อนข้างเย็น

การป้องกันกำจัด

ใช้พันธุ์ค่อนข้างต้านทานโรค

ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 ปราจีนบุรี 1 พลายงาม ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1

ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 สันปาตอง 1 หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโป่งไคร้ น้ำรู

ข้อควรระวัง : ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง พบว่า แสดงอาการรุนแรงในบางพื้นที่ และบางปี โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เช่น ฝนพรำ หรือหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น หรือเป็นดินหลังน้ำท่วม

หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว

คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล (tricyclazone) คาซูกาไมซิน (kasugamycin) คาร์เบนดาซิม (carbendazim) โพรคลอราซ ตามอัตราที่ระบุ

ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ใบ (ในภาพรวม พบเฉลี่ย 2-3 แผลต่อใบ) ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล (tricyclazone) คาซูกาไมซิน (kasugamycin) อีดิเฟนฟอส ไอโซโพรไทโอเลน (isoprothiolane) คาร์เบนดาซิม (carbendazim) ตามอัตราที่ระบุ

ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอกุยบุรี https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02ZoCwZnGo97oHxDyKUyR1UkNc5Y8kvGFt2bQZb13irgcKnrdJZhaDHCvD2oeJirKUl&id=100007937443903