ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

เชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่อำเภอหนองใหญ่ บ่อทอง เกาะจันทร์ และบ้านบึง เข้าร่วมอบรม “การบริหารจัดการศัตรูพืช ในสวนปาล์มน้ำมันแบบผสมผสาน” ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ณ สมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก (สมาคมชาวไร่อ้อยบ่อทอง) ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

เกษตรเขต 5 สงขลา ขอเชิญชวนเที่ยวชมนิทรรศการงานส่งเสริมการเกษตร “ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้ “ ในงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 30 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร

เตือนเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระวัง “หนู” สัตว์ศัตรูพืช ระบาดในพื้นที่การเกษตร การป้องกันและกำจัด เรียบเรียง :  กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

การเพาะกล้าผัก

การเพาะกล้าผัก วัสดุเพาะ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. เรียบเรียง : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

สำนักงานเกษตรอำเภอแก่งคอย​ จังหวัดสระบุรี ประชาสัมพันธ์​เกษตรกรและประชาชนทั่วไป​ ร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่​ ในพระราชานุเคราะห์ฯ ครั้งที่​ 4​ ประจำปี​ 2567​ ในวันพุธที่​ 24​ กรกฎาคม​ 2567​ เวลา​ 08.00 น.​ เป็นต้นไป (นำบัตรประชาชนติดมาด้วย)  เครื่องแต่งกายเสื้อโทนสีเหลือง กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

ขอเชิญร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จังหวัดพิจิตร ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ณ วัดหงษ์ ตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร

กาหยูเกาะพยาม

แผ่นพับที่ 10/2567 กาหยูเกาะพยาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร จังหวัดระนอง มะม่วงหิมพานต์ หรือ “กาหยู” มีแหล่งปลูกในจังหวัดระนอง ปลูกเยอะที่สุดที่ตำบลเกาะพยาม ด้วยสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย จึงเหมาะสำหรับปลูกกาหยู ทำให้เมล็ดมีลักษณะเนื้อแน่น รสชาติหวานมัน กรอบ อร่อย รวมถึงการแปรรูปกาหยูที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการคั่วแบบโบราณและคั่วเมล็ดด้วยข้าวสาร จึงมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เรียบเรียง : กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร

“3R Model : 3 เปลี่ยน” โมเดลที่จะชวนเกษตรกรไทย หยุดเผาในพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชนิดพืช และเปลี่ยนเป็นพืชทางเลือก อ่านเรื่องราวแบบละเอียด รวมถึงวิธีการที่จะนำมาซึ่งการหยุดเผา การลดต้นทุน และการเพิ่มรายได้ ใน 4 เอกสารแนะนำดังนี้ 1. แนวทาง 3R Model :

ฮอร์โมนไข่

ฮอร์โมนไข่ ทำง่าย ต้นทุนต่ำ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต ส่วนผสม วิธีทำ วิธีใช้ใช้อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 80 ไร่ จัดทำโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร

หนอนปลอกข้าว

หนอนปลอกข้าว ตัวเต็มวัยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ 2-3 แถบตามขอบปีก ลักษณะและการระบาด การป้องกันและกำจัด 1. ระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อทำลายตัวหนอน และระงับการแพร่ระบาดในนาข้าว เพราะหนอนจะระบาดโดยปลอกลอยไปตามน้ำ ถ้าเอาน้ำออก หนอนก็จะระบาดไม่ได้ 2. ใช้สารฆ่าแมลง เมื่อตรวจพบใบถูกทำลายมากกว่า 15% หรือพบใบห่อ 6-8 ใบ ต่อ


ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

ทำไมต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร

  • เพราะหน่วยงานต่างๆ สามารถนำข้อมูลจากทะเบียนเกษตรกรไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ โดยนำไป วางแผนพัฒนาการเกษตรให้เกษตรกร และเกษตรกรเองจะได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิ์ขอรับการสนับสนุนช่วยเหลือ หรือรับบริการต่าง ๆ จากภาครัฐ
ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้วยวิธีใดบ้าง

วิธีที่ 1 : แจ้งกับเจ้าหน้าที่

สำหรับเกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม
1.1 แจ้งข้อมูลได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง
1.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและร่วมเป็นหน่วยสนับสนุน ที่เกษตรกรมีพื้นที่การเกษตรอยู่
1.3 แจ้งข้อมูลผ่านผู้นำชุมชน หรือ ตัวแทนอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

เกษตรกรรายใหม่ และรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่
แจ้งข้อมูลได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ที่ตั้งแปลงที่ทำกิจกรรมการเกษตรอยู่

วิธีที่ 2 : ดำเนินการด้วยตนเอง

เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม
2.1 Farmbook Application

เกษตรกรรายใหม่ หรือรายเดิม เพิ่มแปลงใหม่
2.2 แจ้งข้อมูลผ่าน e-Form ที่เว็บไซต์ efarmer.doae.go.th

หลักฐานที่ต้องใช้ (กรณีติดต่อสำนักงานเกษตรอำเภอ)
1.บัตรประชาชน (ตัวจริง)
2.สำเนาหลักฐานถือครองที่ดิน
3.เกษตรกรรายใหม่ หรือรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ ต้องนำหลักฐานการใช้ที่ดิน (ตัวจริงหรือสำเนา) มาแสดงด้วย

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

ต้องปลูกพืชแต่ละชนิดอย่างต่ำจำนวนเท่าใด ถึงจะสามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้

  • ข้าว 1 ไร่
  • พืชไร่ 1 ไร่ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • ผัก 1 งาน (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน)
  • ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น 1 ไร่ (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน)
  • ไม้ดอก 1 งาน (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน)
  • สมุนไพร 1 งาน (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน)
  • เพาะเห็ด ทำผักงอก เนื้อที่ 30 ตร.ม. (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน)
  • เพาะปลูกในโรงเรือน เนื้อที่ 72 ตร.ม.
  • เกษตรผสมผสาน 1 ไร่ (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน)
  • นาเกลือ 1 ไร่
  • แมลงเศรษฐกิจ 10-20 รัง (แล้วแต่ชนิดแมลง)
  • สวนป่า 1 ไร่ จำนวน 100 ต้น (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน)
ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

หากต้องการทราบ รหัสทะเบียนเกษตรกรของตนเองต้องทำอย่างไร

  • รหัสทะเบียนเกษตรกรจะปรากฎอยู่ในสมุดทะเบียนเกษตรกร มีจำนวน 12 หลัก
  • หรือสามารถติดต่อสอบถามที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือกล่องข้อความของเพจเฟซบุ๊ก DigitalDOAE
ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

แอปพลิเคชัน Farmbook สามารถใช้ ขึ้นทะเบียนเกษตรกรรายใหม่ ได้หรือไม่

  •  ไม่ได้ เพราะ แอปพลิเคชัน Farmbook ใช้ได้เฉพาะ ผู้เคยแจ้งขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว ซึ่งจะต้องได้รับรหัสทะเบียนเกษตรกรก่อนเท่านั้น การเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน Farmbook จะต้องใช้รหัสทะเบียนเกษตรกร ที่อยู่หน้าแรกของสมุดเล่มเขียว ที่ลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ทั้งชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านเป็นเลขเดียวกัน
ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

เกษตรกรรายใหม่สามารถ ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านระบบออนไลน์ได้หรือไม่

หากอยู่ใน ทะเบียนบ้านเดียวกัน แต่แยกแปลงกันปลูก สามารถแยกขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้หรือไม่

  • ไม่ได้ เพราะ กำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้าน ขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ 1 ครัวเรือนเกษตร (1 ทะเบียนเกษตรกร) เท่านั้น โดยจะมีหัวหน้าครัวเรือนเกษตร 1 คน ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าครัวเรือนตามทะเบียนบ้าน ส่วนสมาชิกคนอื่นๆในทะเบียนบ้าน สามารถเพิ่มเป็นสมาชิกในครัวเรือนเกษตร (ทะเบียนเกษตรกร) ได้

หาก เช่าที่ดินผู้อื่น เพื่อทำการเกษตร ผู้เช่าสามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้หรือไม่

  • ได้ แต่ต้องมีสัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองการเช่า ที่แสดงข้อมูล ชื่อสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ให้เช่า ประเภทเอกสารสิทธิ์ เลขที่เอกสารสิทธิ์ สถานที่ตั้งแปลง เนื้อที่ที่เช่า วันที่สิ้นสุดสัญญาเช่า เป็นตัน และหลักฐานแสดงสิทธิการถือครองที่ดินตัวจริง หรือสำเนาเอกสารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ที่มีการรับรองจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครอง

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

หากมีเนื้อที่ทำการเกษตรไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกร ได้หรือไม่

  • ได้ แต่ต้องมีรายได้ในภาคการเกษตรที่คาดว่าจะได้รับ ตั้งแต่ 8,000 บาท/ปี ขึ้นไป

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

สามี ภรรยา ที่มีชื่อ อยู่คนละทะเบียนบ้าน สามารถแยกขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้หรือไม่

  • ไม่ได้ เพราะ กำหนดให้ สามี ภรรยา สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้เพียง 1 ทะเบียนเกษตรกร เท่านั้น ทั้งในกรณีที่จดทะเบียนสมรสและมิได้จดทะเบียนสมรส หรือหย่าขาดจากกัน แต่สังคมรับรู้โดยเปิดเผยว่าอยู่บ้านเดียวกันฉันท์สามีภรรยา แม้จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านคนละหลัง ให้ถือว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

นิติบุคคล สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้หรือไม่

  • ได้ สามารถให้ผู้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจของนิติบุคคลเป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนในนามนิติบุคคลได้ ซึ่งบุคคลนี้อาจมีครัวเรือนเกษตรที่เป็นบุคคลธรรมดาของตนเองด้วยก็ได้

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

ผู้พิการ ทุพพลภาพ สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้หรือไม่

  • ได้ ผู้พิการ ทุพพลภาพ แต่ยังมีความสามารถในการประกอบการเกษตรด้วยตนเอง หรือเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในผลผลิต สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

การคำนวณเนื้อที่ขั้นต่ำของกิจกรรมการเกษตร สามารถนับรวมจากหลายแปลงได้หรือไม่

  • ได้ การคำนวณเนื้อที่ขั้นต่ำของกิจกรรมการเกษตรสามารถนับรวมจากหลายแปลง หลายเอกสารสิทธิ์ได้
  • ข้าว พืชไร่ ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพร ไม้ผล ไม้ยืนต้น (แบบสวนเดี่ยว) เพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นต้องเป็นแปลงที่อยู่ติดกัน *แต่ต้องแจ้งในคราวเดียวกัน*
  • เกษตรผสมผสาน เพาะเห็ด ทำผักงอก นาเกลือ เพาะปลูกในโรงเรือน ต้องเป็นแปลงที่อยู่ติดกันเท่านั้น

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

หลังจาก ขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว ต้องทำอย่างไรต่อ

  • เมื่อเกษตรกรทำการขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว จะมีการติดประกาศในหมู่บ้านชุมชน เป็นเวลา 3 วัน หรือจัดประชาคมเพิ่มเติมภายในหมู่บ้านชุมชน เพื่อให้เกษตรกรได้ตรวจสอบข้อมูลของตนเอง โดยเกษตรกรต้องเซ็นชื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลลงในชุดติดประกาศ มิฉะนั้น จะถือว่าไม่ผ่านการตรวจสอบ

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

สามารถตรวจสอบสิทธิการขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้อย่างไร? 

  • สามารถตรวจสอบสิทธิ์การเป็นเกษตรกร หรือการเป็นสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร ได้ที่ http://farmer.doae.go.th
ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

สามารถตรวจสอบสิทธิการขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้อย่างไร? 

  • สามารถตรวจสอบสิทธิ์การเป็นเกษตรกร หรือการเป็นสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร ได้ที่ http://farmer.doae.go.th

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

หากต้องการเปลี่ยนหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร ต้องทำอย่างไร? 

  •  กรณีหัวหน้าครัวเรือนเกษตร เป็นผู้ดำเนินการเอง จะต้องให้สมาชิกในครัวเรือนที่จะเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรแทนลงชื่อในแบบคำร้องด้วย
  • กรณีสมาชิกในครัวเรือนเกษตร เป็นผู้ดำเนินการ ให้สมาชิกที่จะเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรแทน เป็นผู้ยื่นแบบคำร้อง โดยต้องให้หัวหน้าครัวเรือนเกษตรเดิมลงชื่อในแบบคำร้อง หรือมีหนังสือยินยอมจากหัวหน้าครัวเรือนเกษตรแนบมาด้วย (ยกเว้นกรณีหัวหน้าครัวเรือนเกษตรเสียชีวิต เจ็บป่วยร้ายแรงหรือติดเดียง ถูกคุมขังในเรือนจำ ไปต่างประเทศ) และให้สมาชิกในครัวเรือนเกษตรมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดลงชื่อในแบบคำร้องด้วย หากมีจำนวนเกินกว่าช่องลงชื่อในแบบคำร้อง สามารถทำเป็นหนังสือยินยอมจากสมาชิกในครัวเรือนแนบได้ (หากในครัวเรือนมีสมาชิกเพียงคนเดียว ไม่ต้องมีหนังสือยินยอม)
  • แจ้งขอเปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนเกษตร ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่แจ้งขึ้นทะเบียน

ไขข้อข้องใจกับทะเบียนเกษตรกร

สถานภาพของเกษตรกร จะสิ้นสุดลงเมื่อใด? 

  • เสียชีวิต
  • เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
  • แจ้งเลิกประกอบการเกษตร
  • นายทะเบียนหรือผู้ช่วยนายทะเบียนมีคำสั่งจำหน่ายทะเบียนเกษตรกรเนื่องจาก พบว่ามีเจตนาแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
  • ไม่มีการปรับปรุงสถานภาพติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่แปลงปลูก