ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 มติ ครม.มติครม. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้เห็นชอบการขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 โครงการฯ และเงื่อนไข วัตถุประสงค์ เป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนธันวาคม 2567 หลักสูตร : การผลิตพืชผัก (พริก) หลักสูตร : การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ (อาโวคาโด มะม่วง ลำไย มันสำปะหลัง เสียบยอด ตอนกิ่ง x20) หลักสูตร : การผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชทางเลือกกระเจี๊ยบแดง หลักสูตร

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/2568 รายละเอียดโครงการ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการแจ้งเพาะปลูกข้าวปี 2567/2568 ได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็ปไซต์ https://efarmer.doae.go.th/checkFarmer รอบการนำส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. หรือผ่านแอพลิเคชัน “ฟาร์มบุ๊ก” (FARMBOOK) หากตรวจสอบแล้วมีข้อมูลการแจ้งเพาะปลูกข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงินโครงการฯ โปรดติดต่อทาง ธกส. ได้โดยตรง หรือตรวจเช็คสิทธิ์ออนไลน์กับทาง ธกส. ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการโอนเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 1 พบกับหน่วยบริการต่างๆและกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น คลินิกพืช คลินิกดิน คลินิกชลประทาน คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกบัญชี คลินิกข้าว ฯลฯ อย่าลืมมาร่วมงานและใช้บริการกับหน่วยบริการต่างๆภายในงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี

ในสภาพอากาศที่มีน้ำค้างจัด จนถึงช่วงสาย อากาศค่อนข้างเย็น ชาวนาควรระวังการระบาดของโรค โรคขอบใบแห้ง สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้ำที่ขอบใบ ต่อมาจุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็วและสีเขียวจะจางลงกลายเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้น การป้องกันกำจัด โรคไหม้ข้าว สาเหตุ : เชื้อรา ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง

สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก ถั่วลิสง แตงโม และถั่วเขียว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 

เลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตปังตามมาตรฐาน หมายเหตุ : เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน มกษ.5901 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร


เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของไวรัสใบด่างในมะเขือ

ลักษณะอาการ
อาการเริ่มแรกพบใบยอดอ่อนเหลืองทีละยอด จนเหลืองหมดทั้งต้น ผลของมะเขือเป็นสีเหลืองด่าง ต้นชะงักการเจริญเติบโต มีอาการที่พบในส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น ผลผลิตบิดเบี้ยว ขนาดเล็กกว่าปกติ แต่ถ้าเกิดกับมะเขือที่ยังเล็กและไม่สมบูรณ์ จะไม่ให้ผลผลิตเลย หากทิ้งไว้นานจำนวนต้นที่เป็นโรค จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการเหล่านี้เกิดหลังจากแมลงพาหะ คือ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว เข้าทำลายพืช

วิธีป้องกันกำจัด

  1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
  2. คัดเลือกกล้ามะเขือที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก
  3. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกเพื่อลด แหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบ กา กะเม็ง หญ้ายาง กระทกรกลำโพง โทงเทง และขี้กาขาว
  4. ตรวจแปลงสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่เป็นโรค ถอนแล้ว นำไปทำลายนอกแปลงปลูก
  5. เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง แต่ป้องกันการระบาดของโรคได้ โดยพ่นสารฆ่าแมลงหวี่ขาวยาสูบ ซึ่งเป็นพาหนะนำโรค เช่น บูโพรเฟ ซิน 40% SC อัตรา 25 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลอนิคามิด 50% WG อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรเตตระแมท 15% OD อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไบเฟนทริน 2.5% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ น้ำมันปิโตรเลียม เช่น ไวต์ออยล์ 67% EC อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
  6. ไม่ปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค ได้แก่ พืชตระกูลแตง ตระกูลถั่ว ตระกูลมะเขือ พริก ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย และทานตะวัน เป็นต้น ใกล้แปลงปลูกมะเขือ
  7. แปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก และไม่ปลูกมะเขือซ้ำ ควรปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืช อาศัยของเชื้อสาเหตุโรค

เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

ไวรัสใบด่างในมะเขือ
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/08/ไวรัสใบด่างมะเขือ.png