กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์สุโขทัย 1
- ลักษณะผลค่อนข้างป้อม ผลค่อนข้างใหญ่ กว้าง 3.8 เซนติเมตร และยาว 14 เซนติเมตร
- เนื้อผลทั้งดิบและสุกมีสีครีมอ่อน เนื้อละเอียด เหนียว รสหวานไม่ปนเปรี้ยว จำนวนหวีเฉลี่ย 9.8 หวีต่อเครือ
- น้ำหนักเครือเฉลี่ย 16.1 กิโลกรัม
คุณค่าทางโภชนาการ ต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม
- วิตามินบี 3 0.006 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 309 มิลลิกรัม
วิธีการปลูก
- ไถตากดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินนาน 7-10 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช
- หลุมปลูก ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ระยะปลูก 4×4 เมตร (100 ต้น/ไร่)
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาแล้ว ในอัตรา 100-200 กรัม/หลุม คลุกเคล้ากับดินในหลุมก่อนปลูกกล้วย วางหน่อพันธุ์ที่เตรียมไว้กลางหลุมปลูก
- กลบดินโดยรอบให้แน่น หากปลูกในฤดูฝนควรพูนดินกลบโคนต้นให้สูง เพื่อป้องกันน้ำขัง
การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในเดือนแรกอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น
การไว้หน่อ หลังจากปลูกกล้วย 5-6 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบ ๆ โคน ควรทำลายหน่อทิ้งแล้วไว้หน่อในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อทดแทนต้นแม่ โดยให้หน่อที่ 1 และ 2 อายุห่างกัน 4 เดือน
เทคนิคไว้หน่อคือ
- ระยะ 2 เมตร ไว้หน่อได้ 2 ต้น
- ระยะ 3 เมตร ไว้หน่อได้ 3 ต้น
- ระยะ 4 เมตร ไว้หน่อได้ 4 ต้น
การเก็บเกี่ยว เดือนที่ 11 เตรียมถุงห่อกล้วย และนับวันกล้วยน้ำว้า 80-100 วัน ค่อยตัด ผลผลิตเฉลี่ย 1,500 กิโลกรัม/ไร่/ปี ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 22,500 บาท/ไร่/ปี
การป้องกันโรคตายพราย
ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในอัตรา 100-200 กรัม/หลุม คลุกเคล้ากับดินในหลุมก่อนปลูกกล้วย เมื่อพบกล้วยแสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุดต้นเป็นโรคออกไป อัตรา 1-2 กิโลกรัม/หลุม อุปกรณ์การเกษตร เมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคควรทำความสะอาดก่อนนำไปใช้ใหม่ ในแปลงที่มีการระบาดของโรค ควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน
ข้อมูลโดย : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 1 จังหวัดชลบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร
เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
![กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์สุโขทัย 1 กล้วยน้ำว้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พันธุ์สุโขทัย 1](https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2025/02/กล้วยน้ำว้าพันธุ์สุโขทัย.jpg)