ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ขอเชิญชวนร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายในงานพบกับ  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

เชิญชวน เข้าร่วมเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Day) โครงการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในวันพฤหัสบดี ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ลานวัฒนธรรมตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล ภายในงานพบกับ>>>ฐานเรียนรู้ 5 ฐาน 1.เทคโนโลยีการผลิตข้าวและการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง 2.การใช้แหนแดงในนาข้าว 3.การสร้างมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 4.การปลูกพืชหลังนา 5. การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma spp. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร โดยมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มาก ต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ดังนี้ การเข้าทำลายโรคพืชของเชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว


“การทำถ่านผลไม้”

สถาพร ตะวันขึ้น (พี่หมึก) ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สร้างงานเผาถ่านเป็นอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สร้างงานเผาถ่านเป็นอาชีพ 21 หมู่ที่ 4 ต.บางพรม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม

จุดเริ่มต้นของการเผาถ่านผลไม้
ภายในชุมชน มีการตัดแต่งกิ่ง ส้มโอ ลิ้นจี่ และผลไม้ตามฤดูกาลที่เหลือทิ้ง “พี่หมึก” ได้มีแนวคิดว่ากิ่งไม้และผลไม้เหล่านี้มาเผาให้เป็นถ่าน เพื่อจําหน่ายแก่ชาวบ้านในชุมชน พร้อมทั้งสกัดเป็นน้ําส้มควันไม้ เพื่อให้แก่เกษตรกรในชุมชน นําไปฉีดพ่นไล่แมลง ลดต้นทุน การผลิต ภายหลังได้เล็งเห็นว่าในชุมชนนั้น มีผลไม้ที่ได้ตัดแต่งกิ่ง หรือปล่อยทิ้งไว้ จึงมี แนวคิดนํามาเผาให้เป็นถ่าน เพื่อนํามาใช้ ดูดกลิ่น ในตู้เย็น ตู้เสื้อผ้า รถยนต์ เพื่อเพิ่มมูลค่า จากสิ่งที่เหลือใช้ และยังถ่ายทอดให้คนในชุมชน ประชาชนทั่วไป นําไปประกอบอาชีพ ในพื้นที่ของตนเองได้อีกด้วย

ขั้นตอนการทําถ่านผลไม้

การเตรียมวัสดุอุปกรณ์

  1. เตาเผาถ่าน (ถังน้ํามัน 200 ลิตร)
  2. ไม้ฟืน
  3. ไม้เผาถ่าน
  4. ปี๊บ
  5. ผลไม้ต่าง ๆ เช่น สับปะรด, ขนุน, ส้มโอ, ทุเรียน, มังคุด, มะพร้าว

ขั้นตอนการทําถ่านผลไม้

  1. คัดเลือกผลไม้ที่ไม่สุกแก่จอม หรือเน่าเสีย
  2. นําผลไม้ที่จะนํามาทําการเผาเป็นถ่านมาใส่ในปี๊บ โดยเรียงจากผลไม้ไซส์ใหญ่ สุดใส่ด้านล่างปี๊บ ทําการไล่ระดับขนาดไซส์ ขนาดผลเล็กสุดไว้ด้านบนจากนั่น นําใบตองสดมาปิด เพื่อป้องกันเขม่าควันไฟไม่ให้มาจับที่ผลไม้ ปิดฝาให้ดี
  3. นําปี๊บเข้าไปตั้งในเตาเผา จัดเรียงไม้ฟืนให้มีช่องว่างน้อยที่สุดเรียงไม้ฟืนจน เต็มเตา
  4. นําเชื้อเพลิงมาจุดไฟ ให้ความร้อนกระจายเข้าไปในเตา กระบวนการเผาไหม้ จะต้องควบคุมให้ดีด้วยการเลื่อนเดช่องอากาศหรือลิ่นเปิดปิด ในช่วง 1 – 2 ชั่วโมงแรกจะมีควันสีขาวลอยออกจากปล่องควันเต็มไปหมด รอจนกว่า ควันสีขาวหายไปจึงทําการเก็บน้ําส้มควันไม้ด้วยการทําให้เกิดการควบแน่น โดยใช้ผ้าชุบนํ้าหุ้มปล่องควันน้ําส้มควันไม้จะหยดลงกระป๋อง
  5. คอยควบคุมอุณภูมิของเตา
  6. นําผลไม้ที่เผาแล้วมาวางทิ้งไว้ให้เย็น

ผลผลิตที่ได้จาการเผาถ่าน

  1. ถ่านเชื้อเพลิง ที่ใช้ในการหุงต้ม
  2. ถ่านผลไม้นํามาดูดกลิ่นในตู้เย็นและมีความสวยงาม
  3. นํ้าส้มควันไม้ สําหรับใช้ไล่แมลง
  4. ขี้เถ้า นํามาพอกทําไข่เค็ม

องค์ความรู้และทักษะที่เชี่ยวชาญ

พืนที่ใช้กับถ่านผลไม้ต้องสัมพันธ์กัน ถ้าฟีนน้อยถ่านผลไม้ไม่เกิด อากาศต้องควบคุมการเป็นถ่านต้องให้ฟืนค่อย ๆ ถูกเผาไหม้อย่างช้า ๆ ถ้าเปิดลิ้นอากาศมาก การเผาไหมจะ – รุนแรงฟืนกลายเป็นเถ้าต้องค่อย ๆ หรี่ช่องอากาศ ให้ค่อย ๆ เผาไหม้ทิ้งเอาไว้ราว 8 ชั่วโมงจนฟืนดับเอง

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอบางคนที

การทำถ่านผลไม้