ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

การจัดการนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเผา และสร้างรายได้ การใช้ฟางข้าวและตอซังข้าวเป็นวัสดุทางการเกษตร การปลูกพืชผักอายุสั้นในนาหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มรายได้ระยะสั้นจากการขายผลผลิต เช่น โมเดล 3R เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 มติ ครม.มติครม. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ได้เห็นชอบการขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/2568 โครงการฯ และเงื่อนไข วัตถุประสงค์ เป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี “รอบที่ 1” ปีการผลิต 2567/2568 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจ ฝึกอบรมการผลิตพืชพันธุ์ดี ประจำเดือนธันวาคม 2567 หลักสูตร : การผลิตพืชผัก (พริก) หลักสูตร : การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ (อาโวคาโด มะม่วง ลำไย มันสำปะหลัง เสียบยอด ตอนกิ่ง x20) หลักสูตร : การผลิตและเพิ่มมูลค่าพืชทางเลือกกระเจี๊ยบแดง หลักสูตร

โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/2568 รายละเอียดโครงการ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะการแจ้งเพาะปลูกข้าวปี 2567/2568 ได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็ปไซต์ https://efarmer.doae.go.th/checkFarmer รอบการนำส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. หรือผ่านแอพลิเคชัน “ฟาร์มบุ๊ก” (FARMBOOK) หากตรวจสอบแล้วมีข้อมูลการแจ้งเพาะปลูกข้าว แต่ยังไม่ได้รับเงินโครงการฯ โปรดติดต่อทาง ธกส. ได้โดยตรง หรือตรวจเช็คสิทธิ์ออนไลน์กับทาง ธกส. ขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการโอนเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาสที่ 1 พบกับหน่วยบริการต่างๆและกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น คลินิกพืช คลินิกดิน คลินิกชลประทาน คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกบัญชี คลินิกข้าว ฯลฯ อย่าลืมมาร่วมงานและใช้บริการกับหน่วยบริการต่างๆภายในงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 1 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี

ในสภาพอากาศที่มีน้ำค้างจัด จนถึงช่วงสาย อากาศค่อนข้างเย็น ชาวนาควรระวังการระบาดของโรค โรคขอบใบแห้ง สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง อาการพบเป็นแผลช้ำที่ขอบใบ ต่อมาจุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรค จะแห้งเร็วและสีเขียวจะจางลงกลายเป็นสีเทา ๆ ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรค ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้น การป้องกันกำจัด โรคไหม้ข้าว สาเหตุ : เชื้อรา ลักษณะอาการทำลายระยะกล้าถึงออกรวง

สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก ถั่วลิสง แตงโม และถั่วเขียว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สนง.เกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 

เลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตปังตามมาตรฐาน หมายเหตุ : เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน มกษ.5901 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสำปะหลัง เรียบเรียงโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร เบอร์โทรศัพท์ 0 5590 6220

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

หนึ่งในผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมานาน มีอยู่หลากหลายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกในเชิงการค้าจะมี 3 ชนิด คือ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า และกล้วยไข่ และมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการผลิตกล้วยให้ได้ผลดี วิธีปลูก การให้น้ำ ซึ่งทางศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร ก็มีองค์ความรู้ที่พร้อมเผยแพร่ให้กับผู้สนใจ

โดยทั่วไปการคัดต้นพันธุ์สำหรับปลูก มักใช้หน่อจากต้นพันธุ์กล้วยที่สมบูรณ์แข็งแรงไปปลูก อย่างไรก็ตาม การขยายพันธุ์กล้วยโดยใช้หน่ออาจเสี่ยงกับโรคและแมลงที่ติดมากับหน่อพันธุ์ ดังนั้น การใช้ต้นพันธุ์กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากเป็นต้นพันธุ์ดี มีลักษณะตรงตามที่ต้องการ สามารถให้ผลผลิตในเวลาที่ใกล้เคียงกัน ง่ายต่อการจัดการแปลง

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

เตรียมตัวก่อนลงมือปลูก

1. การวางแผน ควรวางแผนเรื่องชนิดของกล้วยที่เหมาะสมและระยะเวลาปลูก ให้สัมพันธ์กับระยะเวลาการเก็บเกี่ยวตามความต้องการของตลาด

2. การกำหนดระยะปลูกกล้วย คำนึงถึงชนิดของพันธุ์กล้วยที่จะปลูก ขนาดของต้นและทรงกอ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปริมาณน้ำฝน ปริมาณแสงแดด และจำนวนครั้งในการเก็บเกี่ยว

3. การเตรียมหลุมปลูก ควรขุดหลุมให้กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร
จากนั้นเอาดินชั้นบนรองก้นหลุมโดยผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก

4. การปลูกกล้วย วางต้นพันธุ์กล้วยลงหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

การให้น้ำ

ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก โดยปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับกล้วยอยู่ระหว่าง 17-20 ลิตรต่อต้นต่อวัน วิธีการให้น้ำที่เหมาะสม ได้แก่ ระบบน้ำหยด ระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกลอร์) โดยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

การใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจากผลการตรวจวิเคราะห์ดิน โดยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี

– ใส่ปุ๋ยครั้งแรก หลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัมต่อต้น

– เดือนถัดไป ให้เป็นเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กรัมต่อต้นต่อเดือน

– ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกสลับกับปุ๋ยเคมีทุก 3 เดือน โดยงดใส่ปุ๋ยเคมีในเดือนที่ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

หนอนกอตัวเต็มวัย

หากพบการเข้าทำลายของหนอนกอ ให้ตัดแต่งใบและหน่อ เพื่อให้แสงแดดส่องได้ถึงพื้นดิน ร่วมกับการทำกับดักล่อ และเก็บฆ่าทำลายทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย 

การผลิตกล้วยพันธุ์ดี

สำหรับใครที่สนใจขอรับข้อมูลการผลิตกล้วยพันธุ์ดี ติดต่อได้ที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6
จังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร เบอร์โทรศัพท์ 0 5590 6220


หรือ ดาวน์โหลดแผ่นพับความรู้ทางการเกษตร เรื่อง การผลิตกล้วยพันธุ์ดี ได้ที่
https://esc.doae.go.th/การผลิตกล้วยพันธุ์ดี