ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในมันสำปะหลัง เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังข้ามแล้ง มีสภาวะที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เป็นสภาพที่เหมาะต่อการระบาดของไรแดงมันสำปะหลัง ไรแดงหม่อน หรือไรแดงมันสำปะหลัง (Mulberry red mite : Tetranychus truncatus Ehara) : เป็นศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบและสร้างเส้นใยอยู่เหนือผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ผลของการดูดกินน้ำเลี้ยงของไรตรงบริเวณใต้ใบ มีผลทำให้หน้าใบเกิดจุดประด่างขาว โดยเฉพาะตามแนวเส้นใบ

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่ 4 โทรศัพท์ 0 2441 3705

หยุดเผาได้ 5 ดี ผลกระทบจากการเผา ด้านสุขภาพอนามัยการเผา ทำให้เกิดฝุ่น ควัน และก๊าซพิษเป็นอันตรายต่อชีวิต ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 318 (กันยายน – ตุลาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEเทคนิค 3E’s เพื่อการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) หน้า 4

สารเคมีเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้สารเคมีตรงชนิดกับศัตรูพืช ใช้ถูกอัตรา ใช้ถูกระยะเวลา และใช้ให้ถูกวิธี เกษตรกร…ต้องรู้ กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/474wn71 4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3t1Wfl6 คู่มือการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรคลิกอ่าน : https://bit.ly/42rFVJE

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567


การผลิตหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดี

สอบถามข้อมูลเพิ่ม : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา เบอร์โทรศัพท์ 0 4437 9617
หรือ ดาวน์โหลดแผ่นพับความรู้ทางการเกษตร เรื่อง การผลิตหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดี ได้ที่ https://bit.ly/3KJPOcd

การผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ด้วยการใช้พืชพันธุ์ดีมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ ได้ผลผลิตคุณภาพดีเกรด A ผลผลิตมีความสม่ำเสมอและมาตรฐานใกล้เคียงกัน จะพบหน่อบานน้อย และไม่จำเป็นต้องสวมหมวกให้หน่อไม้ฝรั่ง การติดของหน่อไม้ฝรั่งมีความสม่ำเสมอ และใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำ

การผลิตหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดี

การปลูก
1. การเพาะเมล็ด  (1 ไร่ จะใช้เมล็ดประมาณ 150 กรัม)
เพาะกล้าในแปลงเพาะ โดยแช่เมล็ดในน้ำ 1 วัน แล้วห่อด้วยผ้าขาวบาง พรมน้ำให้ชื้นจนกว่าเมล็ดจะปริ นำไปหยอดลงแปลง โดยทำร่องลึก
1 – 2 เซนติเมตร ห่างกัน 20 เซนติเมตร หยอดเมล็ดในร่องห่างกัน 10 เซนติเมตร หลุมละ 1 – 2 เมล็ด ต้นกล้าอายุประมาณ 4 เดือน จึงย้ายปลูก
เพาะกล้าในถุงพลาสติก ขนาด 4 นิ้ว โดยเตรียมวัสดุปลูกใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยอินทรีย์อัตรา
1 : 1 หยอดเมล็ดถุงละ 2 เมล็ด สามารถย้ายปลูกได้เมื่อกล้าอายุ 2 – 3 เดือน

2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ระยะที่ปลูกเหมาะสม คือ 80 – 150 เซนติเมตร เนื่องจากต้นกล้าจะเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตที่มีมาตรฐานสูงกว่าต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด

การผลิตหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดี

การเตรียมแปลง

  • เลือกพื้นที่ปลูกที่เป็นดินร่วนทรายหรือดินร่วน มีอินทรียวัตถุมาก ความเป็นกรด – ด่างของดิน 6 – 7 สามารถระบายน้ำออกจากแปลงปลูกได้รวดเร็ว พรวนย่อยดิน พร้อมทั้งคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยหมักและปรับระดับดินให้สม่ำเสมอ มีความลาดเอียงไปทางใดทางหนึ่งเพื่อสะดวกในการระบายน้ำ ระยะปลูก 150 x 40 เซนติเมตร ขุดหลุมลึก 10 – 20 เซนติเมตร ทั้งนี้ความลึกในการปลูกขึ้นกับสภาพดิน ถ้าเป็นดินเหนียวมักปลูกตื้น ส่วนดินทรายมักจะปลูกลึกกว่า
  • คัดเลือกต้นกล้าที่มีเหง้าใหญ่เป็นต้นแม่ที่แข็งแรง ตัดยอดออกให้เหลือลำต้นเหนือดินประมาณ 15 เซนติเมตร แช่เหง้าด้วยยากันราแมนโคเซป 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 5 นาที ก่อนนำไปย้ายปลูก ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อหลุม หรืออัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลบปุ๋ยด้วยดินบาง ๆ หรือ คลุกเคล้าปุ๋ยกับดินก่อนวางเหง้าที่ก้นหลุม จัดเหง้าให้ตาอยู่ด้านบนและรากแผ่ออกด้านข้าง หรือใช้ต้นกล้าวางที่ก้นหลุม

การผลิตหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดี

การปักค้าง
ใช้ไม้ไผ่ขนาดใหญ่หรือท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ปักหัวกับท้ายแปลงและใช้ไม้ไผ่ขนาดเล็กพยุงเชือกเป็นระยะ โดยขึงเชือกที่ระดับ 75 และ 150 ซม. เพื่อช่วยค้ำจุนต้นหน่อไม้ฝรั่งไม่ให้ล้มเสียหาย

การผลิตหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดี

การดูแลรักษา 

  • การให้น้ำ การให้น้ำต้นกล้าที่ย้ายปลูกใหม่ควรให้น้ำวันเว้นวัน หลังจากต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วเปลี่ยนเป็นให้น้ำ 3 – 5 วันต่อครั้ง ซึ่งการให้น้ำสามารถทำได้ทั้งแบบปล่อยตามร่องหรือแบบพ่นฝอย

การใส่ปุ๋ย

  • ปุ๋ยเคมี ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 รองก้นหลุมก่อนย้ายปลูก และให้ต่อไปเดือนละครั้ง อัตราครั้งละ 20 – 30 กิโลกรัมต่อไร่
  • ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่เฉพาะในช่วงพักต้นครั้งละ 1 – 2 ตันต่อไร่
  • การพรวนดิน ให้ทำการพรวนดินหลังจากย้ายต้นกล้าปลูก กลบโคนต้นหน่อไม้ฝรั่ง และควรพรวนดิน 3 – 4 เดือนต่อครั้งพร้อมกับการเติมปุ๋ยอินทรีย์

การผลิตหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดี

การเก็บเกี่ยว

  • การเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่ง สามารถเก็บเกี่ยวโดยใช้มือจับโคนหน่อที่โผล่พ้นดินสูงประมาณ 20 เซนติเมตร แล้วดึงขึ้นมาในแนวตรง ในช่วงเช้าเวลา 06.00 – 09.00 น.

การผลิตหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดี

สำหรับผู้ที่สนใจขอรับข้อมูล ติดต่อได้ที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา เบอร์โทรศัพท์ 0 4437 9617