ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

การควบคุมภายใน (Internal Control) เครื่องมือสำคัญในการกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ความหมายของการควบคุมภายใน การควบคุมภายใน (Internal Control) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล หัวหน้าหน่วยงาน ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยงานจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ ด้านการดำเนินงาน ด้านการรายงานและด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ แนวคิดของการควบคุมภายใน ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ที่มา : วารสารส่งเสริมการเกษตรปีที่

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 316 (พฤษภาคม – มิถุนายน 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEการควบคุมภายใน (Internal Control) เครื่องมือสำคัญในการกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ หน้า 4 เกษตรต่างแดนคงคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรไทยในตลาดส่งออกสาธารณรัฐประชาชนจีน

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน (Durian leafhopper) วงจรชีวิต ลักษณะการทำลาย แนวทางการป้องกันกำจัด เขตกรรม วิธีกล ชีววิธี สารเคมี การใช้สารเคมี เช่น สารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดกลุ่มเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาของเพลี้ยจักจั่น ควรพ่นสารเคมีที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันสลับกันตามวงจรชีวิตของแมลง สำหรับเพลี้ยจักจั่นมีวงจรชีวิตประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ควรใช้สารที่มีกลไกเดียวกันไม่เกิน 1

คำแนะนำการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ เฝ้าระวังการระบาดของหนอนกระทู้ เนื่องจากช่วงนี้พบการระบาดของหนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผักเข้าทำลายมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบหนอนกระทู้กล้าเข้าทำลายในข้าว และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเข้าทำลายข้าวโพด ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นเวลานาน และเริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ดักแด้ที่พักตัวอยู่ในดินพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย (ผีเสื้อกลางคืน) และวางไข่ สภาพอากาศเช่นนี้ทำให้วงจรชีวิตหนอนสั้นลง ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและเข้าทำลายหลายชนิดพืช รูปร่างลักษณะ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด : fall armyworm (Spodoptera frugiperda (J.E.

เปิดรับสมัคร อบรมการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ปี 67 (รุ่น 2) ขอเชิญชวนเกษตรกร ผู้นำเกษตรกร (อกม./YSF/SF) เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ในปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้ผลตอบแทนเร็ว เพียงระยะ 9-11 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถเพาะได้ทุกพื้นที่รูปแบบมีหลายรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม หลักสูตร “หมอพืชชุมชน” ตั้งแต่บัดนี้ – 19 กรกฎาคม 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน หมายเลขโทรศัพท์ : 053-611044

ใบบัวบก

ใบบัวบก บัวบกมีสารสำคัญกรดมาเดคาสสิก (Madecassic acid) กรดเอเชียติก (Asiatic acid) การปลูกปลูกได้ดีในดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน ใบบัวบกจะขยายพันธุ์โดยไหลและเมล็ด วิธีขยายจากไหลตัดไหลเป็นท่อน ๆ ไปเพาะในกระบะเพาะ 1-2 สัปดาห์ การดูแลรักษาบัวบกต้องการความชื้น แต่ไม่แฉะควรให้น้ำสม่ำเสมอ ควรระวังอย่าให้น้ำขัง จะเกิดโรคโคนเน่า การเก็บเกี่ยวเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากปลูกได้ประมาณ 60-90 วัน ใช้มีดตัดเหนือจากพื้นดินประมาณ

การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ต้นพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ โดยกิ่งพันธุ์ดีจะให้ผลผลิตที่ตรงตามพันธุ์ อุปกรณ์ ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. จัดทำโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา

เชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบพบกิจกรรมน่าสนใจงาน รับปัจจัยการผลิตมากมายจากหน่วยงานที่มาให้บริการ อาทิ วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 อย่าลืมนำบัตรประชาชน หรือ ThaiD มาลงทะเบียนเพื่อขอรับบริการ ได้ตั้งแต่ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังหวัดลำพูน เบอร์โทรศัพท์ 0 5309 6215

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

“เบญจมาศ” แม้ว่าจะเป็นไม้ดอกเมืองหนาว แต่รู้หรือไม่ว่า เบญจมาศขยายพันธุ์ง่ายมาก ด้วยวิธีการปักชำกิ่งยอด แต่ถ้าจะให้เบญจมาศที่ผลิตมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ สีดอกตรงตามสายพันธุ์ มีขนาดต้นที่สม่ำเสมอ ต้องใช้ต้นเบญจมาศพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะจะเป็นต้นพันธุ์สะอาด

ต้นพันธุ์สะอาด คือ ต้นพันธุ์ที่ได้มาจากแหล่งผลิตที่มีการป้องกันกำจัดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคจนถึงเก็บเกี่ยวตามหลักวิชาการ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับพืชที่จะขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเตรียมดิน การเตรียมดินให้ไถดินตากแดดประมาณ 1-2 สัปดาห์ ย่อยดินให้ร่วน หากดินเป็นกรดปรับสภาพด้วยปูนขาวหรือโดโลไมท์ ใส่แกลบ ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก อัตรา 3:2:1 ผสมให้เข้ากัน แปลงกว้าง 1-1.25 เมตร ยกแปลงสูง 15-20 เซนติเมตร

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเตรียมต้นพันธุ์ เตรียมต้นแม่พันธุ์ดี แล้วปักชำกิ่งยอดจนแตกรากใหม่ (อายุ 14 วัน) จึงย้ายกิ่งลงปลูกในแปลง

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การปลูก
– ปลูกแบบเด็ดยอด ปลูก 4 แถวต่อแปลง ระยะปลูก 20 x 25 เซนติเมตร
– ปลูกแบบไม่เด็ดยอดหรือแบบต้นเดี่ยว ระยะปลูก 12.5 x 12.5 เซนติเมตร ให้แสงวันยาวตั้งแต่เริ่มปลูกเพื่อการเจริญเติบโตทางต้นและใบ โดยให้แสงไฟช่วงกลางคืนวันละ 3-5 ชั่วโมง
จนต้นสูง 30-40 เซนติเมตร จึงงดให้ไฟ
–  ขึงตาข่ายขนาด 12.5 x 12.5 เซนติเมตร
– สัปดาห์ที่ 5-8 คลุมผ้าดำ เพื่อชักนำให้เกิดวันสั้น เพื่อให้เบญจมาศสร้างและพัฒนาตาดอก

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเด็ดยอด หลังปลูก 10-15 วัน เด็ดยอดอ่อนให้เหลือใบไว้ประมาณ 3-4 คู่

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

การเด็ดดอก จะเด็ดดอกหลังปลูก 20-30 วัน โดยพันธุ์ดอกเดี่ยว เด็ดตาข้างของกิ่งแขนงให้หมด เหลือเพียงตายอดที่จะให้ดอกเพียงดอกเดียว ส่วนพันธุ์ดอกช่อ เด็ดเฉพาะดอกกลางออก หลังต้นสูง 30 เซนติเมตร

การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี

สำหรับผู้ที่สนใจขอรับข้อมูลการผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี ติดต่อได้ที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังหวัดลำพูน เบอร์โทรศัพท์ 0 5309 6215
หรือ ดาวน์โหลดแผ่นพับความรู้ทางการเกษตร เรื่อง การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี ได้ที่
https://esc.doae.go.th/การผลิตเบญจมาศพันธุ์ดี