ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

ศูนย์วิทยบริการ
10

เรื่องล่าสุด

จุลินทรีย์ขุยไผ่

จุลินทรีย์ขุยไผ่ ดินขุยไผ่ เป็นดินที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกันอย่างแพร่หลาย เพราะดินขุยไผ่มีลักษณะร่วน มีอินทรีย์วัตถุสูง มีจุลินทรีย์และเชื้อราต่าง ๆ ในดิน โดยเฉพาะเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) ซึ่งเป็นเชื้อราที่มีประโยชน์ในการควบคุมจุลินทรีย์และเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืชบางชนิดเช่นเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าได้ ขั้นตอนการทำจุลินทรีย์ขุยไผ่เพื่อใช้เพื่อใช้ย่อยสลาย ปุ๋ยหมัก,ตอซังข้าว การต่อเชื้อจุลินทรีย์ลงน้ำ เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย

อาการผิดปกติของพืชเกิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราสาเหตุและส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ถูกเข้าทำลาย ผลเกิดจุดแผล ยุบตัว เน่า อาจพบส่วนของเชื้อรา (สปอร์/เส้นใย) และเมล็ดอ่อนนุ่ม สีผิดปกติ ใบเกิดแผลจุด/แผลไหม้/แผลเป็นแถบตามความยาวของใบ อาจพบส่วนของเชื้อรา (สปอร์/เส้นใย) บนจุดแผล หรือด้านใต้ใบ ลำต้น/กิ่งเกิดอาการเน่า เริ่มจากระบบราก โคนต้น ระบบท่อลำเลียง/เนื้อไม้ เปลี่ยนสี ยางไหล ใบเหลืองร่วง

Ep.7 อารักขาพืชห่วงใย เตือนภัยเกษตรกร เล่าเรื่องฟันเฟืองเกษตร Ep.7 เกษตรเขต 5 ขอเชิญติดตามรับชมรับฟัง FB Live #เล่าเรื่องฟันเฟืองเกษตร  26 พ.ค. 67 เวลา 10.00-10.40 น. Ep.7 อารักขาพืชห่วงใย เตือนภัยเกษตรกร โดย บุสยา ปล้องอ่อน

ขอเชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน โดยสามารถติดตามและตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกร Online ด้วยตนเอง ผ่านช่องทาง ดังนี้ เพื่อรักษาสิทธิ์ รับโอกาส และการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวโครงการได้จากข่าวสารของทางรัฐบาล

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษาข้าวในช่วงฤดูฝน โรคข้าวที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคจากเชื้อรากลุ่มโรคจากเชื้อราพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน อาทิเช่น โรคไหม้ โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคลำต้นเน่า แนวทางป้องกัน : ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค อาทิเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มาหรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษาพืชผักในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษาพืชผักในช่วงฤดูฝน 1. หมั่นตรวจดูแปลงพืชผักสม่ำเสมอ2. ระบายน้ำในแปลงให้ไหลสะดวกไม่ท่วมขัง3. ใช้วัสดุคลุมแปลง เพื่อป้องกันหน้าดินและรากพืช4. เพิ่มปริมาณปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มช่องว่างในดิน5. รดน้ำด้วยน้ำปูนใส สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง6. เฝ้าระวังโรคและแมลง หากพบให้ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัด7. กำจัดวัชพืชในแปลง แต่งทรงพุ่ม ค้ำยันต้น โรคพืชผักที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน :

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษากล้วยในช่วงฤดูฝน โรคกล้วยที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคตายพรายในกล้วย สาเหตุ : เกิดจากเเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense ลักษณะอาการ : ใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่ แสดงอาการเหี่ยวเหลืองจากขอบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้น และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน แนวทางป้องกัน :

พิลังกาสา

พิลังกาสา ของดีเมืองสมุทรปราการและเครื่องดื่มพิลังกาสา สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ ขอแนะนำหนึ่งในของดีจังหวัดสมุทรปราการ “พิลังกาสา” พร้อมทั้งประโยชน์ และสรรพคุณทางยาของพิลังกาสา พิลังกาสา มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นต้นไม้ขนาดย่อม ความสูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งสาขาออกรอบต้น ขยายพันธุ์ด้วยพิธีเพาะเมล็ด ชอบดินทรายหรือดินเหนียว ประโยชน์ของพิลังกาสามีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเส้นเลือดอุดตัน เหมาะที่จะนำมาผลิตเป็น

เกษตรสมุทรปราการแนะนำ แนวทางดูแลรักษามะม่วงในช่วงฤดูฝน แนวทางดูแลรักษามะม่วงในช่วงฤดูฝน โรคมะม่วงที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน : โรคแอนแทรคโนสในมะม่วงสาเหตุ : เกิดจากเเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. ลักษณะอาการ : ใบอ่อนมีอาการเป็นจุดฉ่ำน้ำ และจะเปลี่ยนเป็นสีดำ บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวเล็กลงทำให้ใบบิดเบี้ยว แนวทางป้องกัน : ป้องกันด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค อาทิเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส

ปัจจัยความก้าวหน้า กลุ่มมะพร้าวแปลงใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยการบริหารจัดการทำมะพร้าวน้ำหอมท้องถิ่น โดยการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิผล ทั้งยังการันตีคุณภาพโดย GAP และองค์กรระหว่างประเทศเช่นเยอรมัน จนผลิตภัณฑ์มะพร้าวหอมฉุยปลอดภัย ได้คุณภาพ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในโครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้ามูลค่าสูงอีกด้วย


การฟื้นฟูมะพร้าวหลังน้ำลด

ถูกน้ำท่วม 7-14 วัน ไม่เกิดความเสียหาย รอดินแห้ง ดูแลตามปกติ

อาการหลังน้ำลด

  • ใบลู่ลง ใบซีดเหลือง ใบแห้งจากใบล่างขึ้นบน หรืออาจยืนต้นแห้งตาย เนื่องจากรากขาดออกซิเจนและไม่สามารถหาอาหารได้

ประเมิน แก้ไข ฟื้นฟู

  1. ใช้เครื่องพ่นอากาศลงในน้ำหรือใช้เครื่องยนต์ที่มีกังหันน้ำหรือตีน้ำ ให้น้ำที่ท่วมขังมีการเคลื่อนไหว ถ่ายเทหรือหมุนเวียน ช่วยเพิ่มปริมาณออกซฺเจนให้ละลายในน้ำได้มากขึ้นและรากสามารถนำไปใช้ได้จนกว่าน้ำจะลด
  2. ระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด ปล่อยให้ดินแห้งอย่างน้อย 2 วัน จึงจะเข้าบริเวณใต้ต้น หรือบริเวณราก
  3. นำโคลนที่ทับถมออก อาจต้องค้ำยัน พยุงลำต้น ปลิดผล ดอก ตัดแต่งกิ่งที่เสียหายแและช่วยลดการใช้พลังงานและการคายน้ำ
  4. ให้ปุ๋ยทางใบเพิ่มความสมบูรณ์ ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ปรับสภาพดินให้เป็นด่าง
  5. ปรับสภาพดินให้เป็นด่าง (ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ 0.5 – 1 กก./ต้น ) ฟื้นฟูดิน (พลิกดิน/ตากดิน/ขุดหลุมใส่ปุ๋ยคอกและปูนขาว) ปลูกซ่อม ดูแลรักษาตามปกติ ควรตรวจวิเคราะห์ pH ดินแและน้ำ สารพิษและสารโลหะหนักที่อาจตกค้าง

ข้อสังเกตุ

  • มะพร้าวอายุมาก สมบูรณ์ แข็งแรง ต้านทานน้ำได้มากกว่าต้นเล็กอ่อนแอ มีโรคแมลงทำลาย
  • มะพร้าวทนทานในน้ำไหล ใส หรือลึกไม่เกิน 1 เมตร มากกว่ามวลน้ำลึกเกิน 1 เมตร มีตะกอนดินและโคลนปน
  • มะพร้าวที่เพิ่งให้ผลผลิตสูงมากกหรือติดดอกออกผลในระยะเก็บเกี่ยว อาหารสะสม ภายในลำต้นมักเหลือน้อย จึงอ่อนแอมากและตายได้โดยง่าย
  • อากาศร้อน อุณหภูมิสูง ลมพัดแรง จะเพิ่มความรุนแรงของความเสียหายจากการถูกน้ำท่วมได้มากยิ่งขึ้น

เรียบเรียงโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมการเกษตร