ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

หนอนชอนใบมังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acrocercops sp. และ Phyllocnistis sp. ลักษณะการทำลายAcrocercops sp. ทำลายใบอ่อนที่มีอายุมาก โดยตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะชอนไชกัดกินและขับถ่าย อยู่ในระหว่างผิวใบ รอยทำลายมีลักษณะแผ่กว้างเป็นแผ่นสีดำ เนื่องจากเนื้อเยื่อระหว่างผิวใบตรงส่วนนั้นถูกทำลาย Phyllocnistis sp. ทำลายใบอ่อนมังคุดที่มีอายุน้อย พบการระบาดรุนแรงมากในช่วงที่มังคุดแตกใบอ่อน ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะชอนไชเป็นทางยาว หรือสร้างเป็นอุโมงค์กัดกินและขับถ่ายอยู่ภายในรอยทำลายของหนอนชอนใบ ใบมังคุดที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกร็นบิดเบี้ยว

ด้วงดิน (ground beetles) อยู่ในวงศ์ Carabidae ทั้งระยะตัวหนอนและตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ตามพื้นดิน ตัวเต็มวัยบางชนิดสามารถไต่ขึ้นบนต้นพืช เพื่อไปกัดกินศัตรูพืชได้ โดยเกือบทั้งหมดเป็นแมลงตัวห้ำทั้งระยะหนอนและตัวเต็มวัยทำลายหนอน ดักแด้ผีเสื้อศัตรูพืช ไข่แมลง มักหากินตอนกลางคืน ตัวอ่อนด้วงดินตัวนี้เจอบ่อยในแปลงข้าวโพดที่มีหนอนกระทู้ข้าวโพดนะบาด ถ้าเจออย่าตกใจ เค้าช่วยกินหนอนให้เรานะคะ ภาพจาก : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี

เป็นโรคพืชที่พบการระบาดมากในช่วงอากาศเย็น ความชื้นสูง และฝนตกชุก เนื่องจากเชื้อราสาเหตุโรคสามารถแพร่ระบาดได้ดีโดย ลม น้ำฝน เครื่องมือทางการเกษตร การเคลื่อนย้ายพืชปลูก และจะเจริญได้ดีในสภาพอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ความชื้นในแปลงสูง หากเข้าทำลายพืชปลูกจะสร้างความเสียหายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต จะทำให้ผลผลิตพืชลดลง รวมถึงขนาดและคุณภาพลดลง หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น นอกจากนี้โรคราน้ำค้างยังสามารถเข้าทำลายพืชได้หลายชนิด เช่น พืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด และข้าวโพด เป็นต้น ส่วนข้อสังเกตของโรคราน้ำค้าง พบว่าในช่วงเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นสูง

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนพฤศจิกายน 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำเอกสารใหม่ เดือนพฤศจิกายน 2567 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 865 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

ข้าว ให้สำรวจอย่างน้อย 10 จุด สำรวจทั่วแปลงในนาหว่าน 10 ต้น ต่อจุดสำรวจ ในนาดำ 1 กอ ต่อจุดสำรวจ (นับทุกต้นใน 1 กอ) 1.เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพื้นที่ระบาด = พบเฉลี่ยมากกว่า 10 ตัวต่อจุดพื้นที่เฝ้าระวัง = พบเฉลี่ย

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 รายการศูนย์ขยายกระจายข่าว โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช พูดคุยหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร” https://www.facebook.com/radiothungsongfm97/videos/538759919135860

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา ขอรับสื่อเอกสารคำแนะนำและแผ่นพับ จำนวน 4,630 เล่ม/แผ่น สำหรับจัดอบรมและเผยแพร่แก่เกษตรกรในพื้นที่

พืชใช้น้ำน้อย หมายถึง พืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าข้าว เช่น พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ การปลูกพืชใช้น้ำน้อย เป็นทางเลือกในการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ทดแทนการทำนาปรัง เพื่อเกิดการบริหารจัดการพื้นที่และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ชวนเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันกับ 2 เนื้อหาแนะนำดังนี้ค่ะ การปลูกพืชใช้น้ำน้อยคลิกอ่าน : https://bit.ly/3UOKzNe โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตรพืชสู้แล้งเงินล้านเข้าชม : https://bit.ly/3US4gno

โรคเมล็ดด่าง

โรคเมล็ดด่าง

คำแนะนำในการป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่าง เชื้อสาเหตุ : เกิดจากเชื้อราได้หลายชนิด ได้แก่ Curvularia lunata, Cercospora oryzae, Bipolaris oryzae, Trichoconis padwickii, Fusarium semitectum, Sarocladium oryzae การแพร่ระบาด คำแนะนำในการป้องกันกำจัด ป้องกันการเกิดโรค โดยแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนปลูก ในอัตราเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ต่อเมล็ดพันธุ์ข้าว 100 กิโลกรัม หากฉีดพ่น ใช้ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ หรือ คาร์เบนดาซิม ในอัตรา 3 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องออกรวง หากมีฝนตกชุก ควรป้องกันการเกิดโรค โดยพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดฟีโนโคนาโซล+โพรพิโคนาโซล หรือ โพรพิโคนาโซล+โพรคลอราซ หรือ คาร์เบนดาซิม โดยวิธีการใช้และอัตราการใช้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากบนภาชนะบรรจุ เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคผลเน่าทุเรียน (Fruit Rot)

โรคผลเน่าทุเรียน (Fruit Rot)

โรคผลเน่าทุเรียน (Fruit Rot) อาการ บริเวณปลายผล หรือก้นผลมักพบจุดช้ำสีน้ำตาลปนเทา ต่อมาขยายเป็นวงกลมหรือค่อนข้างรี ไปตามรูปร่างผลแผลดังกล่าวอาจพบได้ตั้งแต่ผลคงอยู่บนต้น แต่ส่วนใหญ่มักพบเกิดกับผลในช่วง ประมาณ 1 เดือน ก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และในระหว่างบ่มผลให้สุก วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

ไรสี่ขามะพร้าว (Coconut mite)

ไรสี่ขามะพร้าว (Coconut mite)

ไรสี่ขามะพร้าว (Coconut mite) หากเกษตรกรพบว่าผลมะพร้าวมีอาการเป็นแผลแห้งสีน้ำตาลเป็นทางยาว ปลายแผลเป็นมุมแหลม โดยเฉพาะบริเวณขั้วผลอ่อน โดยเมื่อสังเกตแล้วไม่พบตัวไร เนื่องจากไรสี่ขาเป็นไรที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้น ให้รีบแจ้งหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน เพื่อหาแนวทางควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง เนื่องจากไรชนิดนี้สามารถเป็นพาหนะนำโรคไวรัสไวรอยด์ และสามารถเข้าทำลายพืชที่สำคัญชนิดอื่น ๆ ได้หลายชนิด วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

โรคใบขีดสีน้ำตาลข้าว (Narrow Brown Spot Disease)

โรคใบขีดสีน้ำตาลข้าว (Narrow Brown Spot Disease)

โรคใบขีดสีน้ำตาลข้าว (Narrow Brown Spot Disease) เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Cercospora oryzae l. Miyake อาการ ลักษณะแผลที่มีใบมีสีน้ำตาลเป็นขีด ๆ ขนานไปกับเส้นใบข้าว มักพบในระยะข้าวแตกกอ แผลไม่กว้างตรงกลางเล็กและไม่มีรอยช้ำที่แผล ต่อมาแผลจะขยายมาติดกัน แผลจะมีมากตามใบล่างและปลายใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตายจากปลายใบก่อน ต้นข้าวที่เป็นโรครุนแรงจะมีแผลสีน้ำตาลที่ข้อต่อใบได้เช่นกัน เชื้อนี้สามารถเข้าทำลายคอรวง ทำให้คอรวงเน่าและหักพับได้ การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราสามารถปลิวไปกับลม และติดไปกับเมล็ด วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer)

หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer)

หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer) หนอนกออ้อย ทำลายอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะอ้อยแตกกอทั้งอ้อยปลูกใหม่และอ้อยตอ ระบาดรุนแรงในสภาพที่อุณหภูมิสูง ความชื้นต่ำ ภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนทิ้งช่วง หนอนกออ้อย ที่สำคัญที่พบเข้าทำลายอ้อย มี 3 ชนิด คือ วิธีป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี