ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

“มะนาว” พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ปลูกง่ายขายคล่อง อยากรู้ว่ามะนาวพันธุ์ไหนต้องปลูกและดูแลรักษาอย่างไร แนะนำอ่าน 3 เอกสารแนะนำดังนี้ค่ะ มะนาวแป้นพิจิตร 1คลิกอ่าน : https://esc.doae.go.th/มะนาวแป้นพิจิตร-1/ มะนาวแป้นไต้หวันคลิกอ่าน : https://esc.doae.go.th/มะนาวแป้นไต้หวัน/ มะนาวตาฮิติคลิกอ่าน : https://esc.doae.go.th/มะนาวตาฮิติ/

เพลี้ยไฟฝ้าย ในพืชตระกูลแตง ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบแตงโมและพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีนและบวบ ปัญหาที่ควรระวังเพลี้ยไฟฝ้าย ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้ทุกระยะการเจริญเติบโต ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนในระยะแตงโมทอดยอด ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตลักษณะอาการที่เกิดจากเพลี้ยไฟฝ้ายเรียกว่า “ยอดตั้ง” หากเพลี้ยไฟฝ้ายระบาดในช่วงอายุ 1

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ชิ้น นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี 2567 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้กรมส่งเสริมการเกษตร นำไปทอดถวายยังที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดอุดมธานี (พระอารามหลวง)

โรคราน้ำค้างในข้าวโพด ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงนี้เริ่มปลูก-อายุ ประมาณ 30 วัน (เป็นระยะที่อ่อนแอต่อโรคนี้มาก) ปัญหาที่ควรระวังโรคราน้ำค้าง : เชื้อรา Peronosclerospora sorghi ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ แนวทางป้องกัน/แก้ไข 1.ควรใช้พันธุ์ต้านทาน และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น 2.ในแหล่งที่เคยมีการระบาดของโรค หากพบว่ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรคคืออุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง เมื่อข้าวโพด อายุ 5-7 วัน

กระชาย

กระชาย การใช้ประโยชน์สรรพคุณ สารสำคัญ พืชล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นใต้ดินเกาะเป็นกระจุก การขยายพันธุ์ : เหง้า การปลูกยกร่องแปลงกว้าง 80-120 ซม. ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 25-30 ซม. การดูแลรักษารดน้ำทุก 2-3 วัน/ครั้ง เมื่อได้อายุครบ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก การเก็บเกี่ยว ข้อควรระวัง

ธาตุอาหารพืช ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีทั้งหมด 17 ธาตุ ธาตุที่ได้จากอากาศมี 3 ธาตุ ได้แก่ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง (ลิ้นจี่จักรพรรดิเชียงใหม่) จ.เชียงใหม่ ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง เป็นผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ มากกว่า 60 ปี ด้วยรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เนื้อหนาสีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ ทรงผลคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาสีแดงอมชมพู จึงเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ปลูกในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย และอำเภอไชยปราการ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ

มะนาวยักษ์พม่า ผลขนาดใหญ่ ผลดก ให้น้ำเยอะ ลักษณะเด่นมะนาวพม่าหรือมะนาวยักษ์ มีผลขนาดใหญ่คล้ายผลส้มโอ น้ำหนักเฉลี่ยประมาณลูกละครึ่งกิโลกรัม สามารถนำมาคั้นเพื่อรับประทานสด ๆ หรือใช้ปรุงอาหารได้ แต่ไม่ค่อยมีกลิ่นหอม จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก และมีการนำไปปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ ลักษณะต้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นสูง ประมาณ 3-5 เมตร การแตกกิ่งไม่ค่อยเป็นระเบียบ การขยายพันธุ์พืชและการดูแลรักษา เกร็ดน่ารู้ใช้ผลเป็นยาช่วยบรรเทาอาการปวดหัว แก้อาเจียน ขับเสมหะ

มะนาวตาฮิติ มะนาวไร้เมล็ด หรือมีก็น้อยมาก ผลรูปกลมคล้ายหยดน้ำ ผลใหญ่ รสเปรี้ยว ปริมาณน้ำมาก ลักษณะเด่นมะนาวตาฮิติเป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากเกาะตาฮิติ รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามาเพื่อศึกษา ปลูก และขยายพันธุ์ พบว่า มะนาวพันธุ์นี้เติบโตได้ดีในทุกภูมิภาคของไทย ผลมีขนาดใหญ่มาก เปลือกหนา เมื่อแก่จัดก็ยังมีสีเขียวเข้มเหมือนเดิม มีน้ำมากกว่ามะนาวชนิดอื่น จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จุดเด่นคือผลใหญ่ ให้น้ำมาก

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟ ลักษณะทั่วไป อาการ การจัดการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก

โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน

โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน

เตือนเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ระวังการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกความชื้นในอากาศสูง สภาพแวดล้อมเหมาะต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้นขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในสวน หากมีน้ำท่วมควรรีบระบายออก เมื่อพบทุเรียนมีอาการใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยวเหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก บริเวณลำต้นพบคราบน้ำบนผิวเปลือก รากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล ให้ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง หรือสามารถขอคำแนะน่าในการป้องกันกำจัดได้ที่เจ้าหน้าที่ส่านักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora Palmivora ลักษณะอาการรากเน่า : หากขุดดูราก จะพบรากฝอยแสดงอาการเน่ามีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาลอาการที่กิ่ง : ใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้นอาการที่ใบ : ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว เหลือง บริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ายน้ำร้อนลวก เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ คำแนะนำป้องกันกำจัด1. การหมั่นสำรวจแปลงสม่ำเสมอ2. บำรุงต้นทุเรียนให้แข็งแรง3. หลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล4. ทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง5. ตัดแต่งกิ่งหรือลำต้นส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย ชีวภัณฑ์หรือสารเคมีที่แนะนำ1. เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตรา 1:4:10 โรยลงดินในพื้นที่รัศมีทรงพุ่ม ในอัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตร หรือใช้รองก้นหลุม อัตรา 10-100 กรัม2. การใช้เมทาแลกซิล 25% WP หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30 – 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร3. ฟอสโฟนิก แอซิด 40% SL ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:14. ใส่กระบอกฉีดยาฉีดเข้าลำต้นหรือราดดินด้วย ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30 – 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร5. ทาแผลด้วยฟอสอีทิลอะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 80 – 100 กรัม หรือเมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 50 – 60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง เรียบเรียงโดย : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี

หนอนกอข้าว

หนอนกอข้าว

หนอนกอข้าว หนอนกอทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็กจนถึงระยะข้าวออกรวง ในประเทศไทย มีรายงานพบ 4 ชนิด คือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย หนอนกอแถบลายสีม่วง และหนอนกอสีชมพู ลักษณะการทำลายและการระบาด หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิด ทำลายข้าวลักษณะเดียวกัน โดยหลังหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำ ๆ เมื่อฉีกกาบใบจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” (deadheart) ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวง จะทำให้เมล้ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า “ข้าวหัวหงอก” (whitehead) เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี

การควบคุมหนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลังโดยชีววิธี

การควบคุมหนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลังโดยชีววิธี

การควบคุมหนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลังโดยชีววิธี หนอนกระทู้หอม (bee armyworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera exigua (Hubner) เรียบเรียงโดย :  กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

คำแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช หนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลัง

คำแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช หนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลัง

คำแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช หนอนกระทู้หอมในมันสำปะหลัง เลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง และต้องสำรวจแปลงหลังพ่นสารเคมีแล้ว 1-2 วัน หากพบหนอนระบาดอยู่ให้พ้นซ้ำ และควรสลับกลุ่มสารเคมี เพื่อป้องกันการดื้อยา จัดทำโดย : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย (กอป.) กรมส่งเสริมการเกษตร