ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยไฟในมะม่วง (Chilli thrips) ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด *ในขณะที่ดอกบานควรหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสรได้ จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง พบในดินลักษณะโดยทั่วไปของเชื้อราเมตาไรเซียม คือเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสีเขียวหม่น สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน เป็นเชื้อราที่ไม่ทำอันตรายต่อไส้เดือนฝอย สัตว์ต่าง ๆ และมนุษย์ สามารถทำให้เกิดโรคในแมลงได้หลายชนิด การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราเมตาไรเซียมเมื่อสปอร์ของเชื้อราเมตาไรเซียมสัมผัสหรือติดไปกับตัว ในสภาพความชื้นสูง เชื้อราจะงอกเป็นเส้นใยและแทงทะลุผ่านผนังลำตัวแมลงและเจริญเพิ่มปริมาณภายในลำตัวแมลง ทำให้แมลงเคลื่อนไหวช้าลง ไม่กินอาหาร และตายภายใน 7-9

ปุ๋ยแคลเซียมในพืช (Calcium) แคลเซียมไอออน  (Ca2+) บทบาทของแคลเซียมในพืช อาการเมื่อพืชขาดแคลเซียม แหล่งของแคลเซียมที่ใช้ในการเกษตร 1.แคลเซียมไนเตรท (Ca(NO3)2) 2.แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) **เคล็ดลับ : ควรตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใช้แคลเซียม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบำรุงพืช เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว มีนาคม ; 2568

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นช่วงหน้าแล้ง” เคล็ดไม่ลับ!! การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นให้ผ่านช่วงหน้าแล้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้น้ำ การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช รวมถึงการใส่ปุ๋ย ต้องจัดการอย่างไร วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร หาคำตอบมาให้แล้วค่ะ การดูแลไม้ผลและไม้ยืนต้นช่วงหน้าแล้งคลิกอ่าน : https://bit.ly/4kM15ct 10 พืชใช้น้ำน้อยปลูกได้ในฤดูแล้งคลิกอ่าน : https://bit.ly/4kM1fR7 เข้าดูเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ >> https://bit.ly/3Vc44if

เตรียมความพร้อมก่อนปลูกไม้ผล 1.เลือกชนิดไม้ผลที่จะปลูก 2.เลือกพันธุ์ที่ได้เปรียบทางการตลาดเก็บเกี่ยวก่อนหรือหลังพันธุ์อื่น ๆ และเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ 3.เลือกกิ่งพันธุ์เลือกกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลงจากแหล่งที่เชื่อถือได้, อายุไม่เกิน 1 ปี กรณีเป็นกิ่งเสียบหรือกิ่งทาบ รอยประสานของแผลต้องเชื่อมสนิทกันดี, กรณีใช้เป็นต้นตอควรเป็นต้นตอที่สามารถปรับตัวได้กว้างและทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี 4.ออกแบบผังการปลูกไม้ผล 5.การปลูกและดูแลรักษา เรียบเรียงโดย : กลุ่มส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชโดยเทคโนโลยีรังสี กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

โรคใบไหม้ (sunburn)

โรคใบไหม้ (sunburn) การทำลายใบทุเรียนเป็น ซันเบิร์น (sunburn) เกิดแผลอาการใบไหม้แห้ง เหมือนถูกแดดเผา ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรง ต้องการสังเคราะห์แสงและปรุงอาหารของต้นทุเรียน ทำให้การเจริญเติบโตชะงัก หากเป็นในช่วงติดดอกติดผลจะส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตทุเรียน สาเหตุหลักของอาการใบไหม้ Sunburn แนวทางป้องกัน/แก้ไข เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ขอเชิญเข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ระดับเขต ประจำปี พ.ศ. 2568 วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568 ณ เครือข่าย ศพก. เอแอนด์เจ ผลไม้ไทย ตำบลศรีสุราษฎร์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ปลูกข้าวนาปรัง…ระวังหนาว หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน หรือจัดช่วงเวลาปลูกไม่ให้กระทบอากาศหนาวเย็นในช่วงตั้งท้อง-ออกรวง ระยะตั้งท้อง-ออกรวงต้นข้าวซีดเหลือง ใบมีสีเหลืองหรือส้มใบแห้งตายจากขอบใบ มักพบโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคเมล็ดด่าง พันธุ์ข้าวที่คอรวงสั้น รวงข้าวส่วนนึงจะโผล่ไม่พ้นกาบใบธง ทำให้ไม่มีการผสมเกสรเกิดเมล็ดลีบ ออกรวงช้า รวงไม่สม่ำเสมอก้านช่อดอกหดสั้น เกสรตัวผู้เป็นหมัน ทำให้เมล็ดไม่เต็ม ปลายรวงลีบฝ่อ ระยะกล้า-แตกกอเมล็ดข้าวงอกช้า การเจริญเติบโตช้า ต้นเตี้ย ไม่แตกกอ ซีดเหลือง ใบมีสีเหลือง

เรียนฟรี ผู้สนใจ “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” สมัครเรียนได้ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม – 6 เมษายน 2568 สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร เปิดรับสมัครโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” รอบใหม่ ประจำปี 2568 ให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสมัครเรียน โดยเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง คาร์บอนเครดิต ที่ถูกต้อง


กินผักตามธาตุเจ้าเรือน

ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี

ธาตุเจ้าเรือนทา… – ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี | Facebook

ธาตุดิน : คนที่เกิดเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

มักไม่ค่อยเจ็บป่วย เพราะธาตุดิน เป็นที่ตั้งของกองธาตุ มักมีร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีรสฝาด รสหวาน รสมัน รสเค็ม เช่น ผักกระโดน ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะยม สมอไทย กระถิน ผักหวาน ขนุนอ่อน สะตอ ผักโขม โสน ขจร ยอดฟักทอง ผักเชียงดา ลูกเนียง บวบ เป็นต้น

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/10/ธาตุดิน.jpg

ธาตุน้ำ : คนที่เกิดเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน

ตั้งแต่แรกเกิดถึง 16 ปี มักมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก ตาแฉะ ในฤดูหนาว มักเจ็บป่วยง่าย เพราะธาตุน้ำกำเริบ คนธาตุน้ำมักมีรูปร่างสมส่วน ท้วมถึงอ้วน มีผิวพรรณสดใส ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย กระทือ ดอกกระเจียว กระชาย ยี่หรา ขมิ้นชัน ผักคราดหัวแหวน ช้าพลู (ชะพลู) ผักไผ่ พริกขี้หนู สะระแหน่ หูเสือ ผักแขยง ผักชีลาว ผักชีล้อม สมอไทย กานพลู เป็นต้น

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/10/ธาตุน้ำ.jpg

ธาตุลม : คนที่เกิดเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน

ช่วงอายุ 32 ปี ขึ้นไป มักเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมง่าย ในฤดูฝนจะเจ็บป่วยง่าย เพราะธาตุลมกำเริบ คนธาตุลมมักมีร่างกายสูงโปร่ง ไม่อ้วน ผิวหนังแห้ง ควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสเผ็ด เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย กระทือ ดอกกระเจียว กระชาย ยี่หรา ขมิ้นชัน ผักคราดหัวแหวน ช้าพลู (ชะพลู) ผักไผ่ พริกขี้หนู สะระแหน่ หูเสือ ผักแขยง ผักชีลาว ผักชีล้อม สมอไทย กานพลู เป็นต้น

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/10/ธาตุลม.jpg

ธาตุไฟ : คนที่เกิดเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม

ช่วงอายุ 16-32 ปี มักขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อย ในฤดูร้อน จะเจ็บป่วยง่าย เพราะธาตุไฟกำเริบ โดยมากคนธาตุไฟมักมีรูปร่างผอม ผิวคล้ำ ตกกระ กล้ามเนื้อและกระดูกหลวม จึงควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีรสขม รสเย็น รสจืด เช่น ผักบุ้ง ตำลึง บัวบก กระเฉด สายบัว ผักกาดนา ผักกาดนกเขา มะระ ปลัง มะรุม ยอดมันเทศ กระเจี๊ยบมอญ สะเดา ยอดฟักทอง หยวกกล้วย หม่อน มันแกว พุทรา เป็นต้น

กินผักตามธาตุเจ้าเรือน
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/10/ธาตุไฟ.jpg