ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ผักปลูกง่ายได้กินใน 60 วัน 4 วัน : ถั่วงอก 7 วัน : เห็ดนางฟ้า ต้นอ่อนผักบุ้ง ต้นอ่อนทานตะวัน 30 วัน : ผักบุ้ง โหระพา แมงลัก กะเพรา สะระแหน่ 40

เรื่องเล่าเช้าวันจันทร์ “ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียน” ในฤดูกาลปกติ ประเทศไทยมีทุเรียนออกสู่ตลาดประมาณเดือน เม.ย.-ก.ย. นอกจากนี้มีเกษตรกรบางส่วนผลิตทุเรียนนอกฤดู ช่วยสร้างรายได้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเสี่ยงราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกมากตามฤดูกาล โดยพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือน ก.พ.- มี.ค. ส่วนพื้นที่ภาคใต้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือ ธ.ค.- ก.พ. 5 ข้อสังเกตก่อนซื้อทุเรียนคลิกอ่าน : https://bit.ly/42Tgsr5 ชาวสวนไม่ตัด ผู้บริโภคไม่ซื้อ ทุเรียนอ่อนคลิกอ่าน

ระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense” HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตรและระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถเข้าใจ HandySense ได้เพิ่มขึ้น คลิกเพิ่มเติมจากลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ Handy sense เกษตรอัจฉริยะรับชม : https://bit.ly/40ZOp8Q เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ “Handy Sense”คลิกอ่าน : https://bit.ly/4b6ED9A

เกร็ดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงครั่ง หลังจากปล่อยครั่งไปแล้ว 1 เดือน ครั่งจะขับถ่ายมูลหวาน ออกมาจากช่องขับถ่าย หากเกษตรกรที่ปล่อยครั่งบนต้นจามจุรีที่มีขนาดใหญ่ อาจจะสังเกตการเจริญเติบโตของครั่งได้ยาก ดังนั้นเรามีเทคนิคในการสังเกตครั่งมาฝากกันค่ะ 1.ไม้อาศัยต้นเตี้ย ก็จะเห็นการเจริญเติบโตของครั่งได้ชัดเจน มีการสร้างไขสีขาว และการขับน้ำหวานที่มีสีใสออกมา เมื่อสัมผัสอากาศนาน ๆ ก็จะเริ่มแข็งตัวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีทอง สีน้ำตาล 2.ไม้อาศัยต้นใหญ่และมีความสูงมาก เราอาจจะสังเกตได้ดังนี้ เรียบเรียง :

แมลงศัตรูพืชในฤดูร้อนที่ต้องระวัง ฤดูร้อนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ต้องเผชิญกับศัตรูพืชต่าง ๆ เพราะด้วยสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำติดต่อกันยาวนานหลายเดือน นับเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกได้ โดยแมลงศัตรูพืชที่พบมากในช่วงอากาศร้อน เช่น เพลี้ยอ่อน ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก และหนอนกระทู้ผัก

ส่งเสริมไม่เผาด้วย 3R Model น้ำหมักย่อยสลายฟาง “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” วัตถุดิบ วิธีทำ การนำไปใช้ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงปั่นดินนาทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป เรียบเรียงโดย : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

แคดเมียน (CADMIUM) คืออะไร??แคดเมียนเป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ โดยอาจมาจากวัตถุต้นกำเนิดดิน การทำเหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน การทำแบตเตอรี่ การใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร และสามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหารและน้ำ การปนเปื้อนโลหะหนักในดิน มีสาเหตุมาจากกิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น การทิ้งของเสียโดยไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมโลหะหนักในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เป็นต้น

แมลงสิง ศัตรูข้าวระยะออกรวง รูปร่างลักษณะ ลักษณะการทำลาย การป้องกันกำจัด เรียบเรียง : กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ขอเชิญชวนร่วมงานรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day)  พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน สถานีเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022 

กลับมาอีกครั้ง กับงาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022 

งานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งภูมิภาค และงานแสดงปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและนวัตกรรมด้านการปลูกพืชผัก ไม้ผล และดอกไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ภายในงานพบกับผู้ร่วมนิทรรศการจาก 300 แบรนด์ชั้นนำทางด้านการเกษตร จาก 26 ประเทศทั่วโลก 

และในปีนี้เช่นเคย AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022  ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นเจ้าภาพร่วมและรวมไปถึงผู้สนับสนุนหลักจากหน่วยงานต่างๆภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เชิญพี่น้องเกษตรกรเข้าร่วมงาน ซึ่งทางผู้จัดงาน ดีแอลจี  หรือ สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน และ วีเอ็นยู ได้อำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องเกษตรกรที่จะเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ โดยทางผู้จัดงานจะมีไกด์ดูแลและพาเดินชมแต่ละบูทอย่างทั่วถึง

ซึ่งแน่นอนกิจกรรม ไฮไลค์ของปีนี้ จะมี Thailand Smart Farming Pavilion โดยรวบรวมและนำเสนอนโยบายต่างๆด้านการเกษตรอัจฉริยะ และยังมีการสาธิตการบินโดรนเพื่อการเกษตรภายในบริเวณสถานที่จัดงาน เท่านั้นยังไม่พอทางงานยังมีพาวิลเลียนต่างๆที่น่าสนใจ อาทิเช่น Vertical Farming Pavilion(การทำเกษตรแบบแนวตั้ง) และพาวิลเลียนกัญชาใน Cannabis Pavilion

นอกจากนั้นยังอัดเต็มไปด้วย งานสัมมนาจุใจกว่า 30 หัวข้อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ครอบคลุมหลากหลายไม่ว่าจะเป็นงานประชุมเชิงวิชาการที่ีเนื้อหาเข้มข้นสำหรับการปลูกข้าว หรือ อาทิ การลดคาร์บอนในกระบวนการการผลิตและแปรรูปข้าว จาก (สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ),  หรือ ผลกระทบของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล หลังสถานการณ์โควิท-19 (สถาบันวิจัยพืชสวน), กระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าว (ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย), การผลิตกัญชา-กัญชงเพื่อธุรกิจ (สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย) ฯลฯ และในแง่มุมมองของนานาชาติยังได้รับร่วมมือจากกระทรวงการเกษตรเยอรมันผู้สนับสนุนการจัดการประชุมเพื่อธุรกิจ – รวมไปถึง  DLG Forum เวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมจัดนิทรรศการได้แชร์ความรู้และนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร  

ภายในงานยังมีการนำเสนอศูนย์รวมพาวิลเลียนจากนานาประเทศ ได้แต่  ฟินแลนด์ เยอรมนี อินเดีย ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ซึ่งแต่ละประเทศจะมีการนำเสนอด้านเทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ ตลอดจนปัจจัยการผลิตสำหรับเกษตรกรในภูมิภาคเอเชีย

ผู้ที่สนใจสามารถรับบัตรเข้าร่วมงานได้ที่ www.agritechnica-asia.com หรือ www.horti-asia.com สำหรับเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมชมงานแบบหมู่คณะ สามารถติดต่อทางผู้จัดงานเพื่อรับไกด์พาชมงานเฉพาะกลุ่มได้เลย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1116611  (วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค และ ดีแอลจี ไทย)  **กรุณาลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับบัตรเข้าชมงานฟรี!!

ลิงค์สำหรับรับบัตรเข้าชมงาน (MOAC / DOAE) https://online-register.org/ata/register/index.php?code=asso416

เอกสารแนบ

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022