ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

เพลี้ยหอยเกล็ด

เพลี้ยหอยเกล็ด พบการระบาดในแปลงมันสำปะหลังที่ใกล้เก็บเกี่ยว หรือพบในต้นมันสำปะหลังที่กองสุมไว้ทำพันธุ์ โดยเพลี้ยหอยเกล็ดมีลักษณะเกล็ดสีขาวนูน ขึ้นปกคลุมเกือบทุกส่วนของมันสำปะหลัง ทั้งส่วนยอด ลำต้น กิ่ง เหง้า และหัว กรณีที่มีการปลูกมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยหอยเกล็ดติดไปกับท่อนพันธุ์ การระบาดจะมีความรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 20% ส่วนลักษณะการทำลาย เพลี้ยหอยเกล็ดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ใบเหลืองและร่วง แคระแกร็น หากมีเพลี้ยหอยเกล็ดปกคลุมทั้งลำต้น ทำให้ลำต้นแห้งตาย การแพร่ระบาดติดไปกับท่อนพันธุ์ และเกษตรกรที่ปฏิบัติงานในแปลงที่มีการระบาดและเครื่องมือทางการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ที่พบในมันสำปะหลังมี 4 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งลาย เพลี้ยแป้งแจ็คเบียส เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว และเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู สำหรับเพลี้ยแป้งที่ทำความเสียหายให้กับมันสำปะหลังอย่างรุนแรงคือ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งเป็นแมลงศัตรูต่างถิ่น ลักษณะการทำลายเพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ยอด และตา ส่งผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมีขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่มันสำปะหลังอายุน้อย

โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา มีเพลี้ยจักจั่นเป็นพาหะ และต้นสาบม่วงเป็นพืชอาศัยของโรคพุ่มแจ้ ลักษณะอาการคล้ายกับการทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยเชื้อไฟโตพลาสมาจะทำให้ท่อลำเลียงอาหารอุดตัน ทำให้ส่วนยอดแคระแกร็น มีการแตกตาข้างมาก ยอดเป็นพุ่ม ใบเล็กลงสีเหลืองซีด และมีใบแห้งติดกิ่งหรือร่วงหล่น ใบที่เป็นโรคจะเริ่มแห้งตายจากใบล่างขึ้นไปถึงที่ปลายยอด ต่อมากิ่งก้านจะแห้งตายจากยอด ลำต้นแคระแกร็น ข้อปล้องสั้น และใบมีขนาดเล็กลง ในระยะเก็บเกี่ยว หากเชื้อลุกลามลงไปที่หัวมันสำปะหลังจะทำให้หัวมีเส้นสีน้ำตาลดำตามแนวยาวใต้เปลือก คุณภาพผลผลิตลดลง และเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ถ้าพบการระบาดรุนแรงมันสำปะหลังอาจยืนต้นตายได้ กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

โรคใบด่างมันสำปะหลัง สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan Cassava mosaic virus (SLCMV) มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ ลักษณะอาการของโรค ส่วนของยอดอ่อนหรือยอดที่เกิดใหม่จะแสดงอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม มีขนาดเรียวเล็ก หงิกงอ และเสียรูปทรง อาการบนใบส่วนที่ถัดลงมาจากยอดหรือใบแก่จะพบอาการด่างเขียวอ่อนหรือเหลืองสลับเขียวเข้ม หงิกงอ และเสียรูปทรง ความเสียหายจากโรคจะทำให้มันสำปะหลังไม่สร้างหัวสะสมอาหารหรือหัวมีขนาดเล็ก ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตลดลง กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1) ปลูกมันสำปะหลังที่ปลอดโรค

แมลงดำหนามข้าว (Rice hispa) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicladispa armigera (olivier) วงจรชีวิต รูปร่างลักษณะ ระยะตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีหนามแข็งแหลมแปกคลุมตัว ลำตัวยาว 5-6 มม. เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ประมาณ 50 ฟอง ใกล้ปลายใบอ่อน ระยะตัวเต็มวัย

ไถกลบตอซัง

ไถกลบตอซัง ปรับโครงสร้างดิน ลดการเผา ลดหมอกควัน การเผาตอซังการเผาตอซังมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำลายโครงสร้างของดิน จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซังก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากร โดยทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป สูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน สูญเสียน้ำในดิน และทำให้เกิดฝุ่นละออง เถ้าเขม่า และก๊าซหลายชนิด และทำให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ช่วยย่อยสลายตอซังสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ไขมัน

การเก็บเมล็ดพันธุ์จุดเริ่มต้นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหารและเมล็ดพันธุ์เมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ ประเภทของเมล็ดพันธุ์ที่เก็บได้ในครัวเรือน ตัวอย่างการเก็บเมล็ดพันธุ์ ถั่วต่าง ๆเก็บฝักแก่สีน้ำตาล ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง นำเมล็ดออกทำความสะอาด เก็บในภาชนะปิดสนิท พริกเก็บผลสุกแก่ นำเมล็ดออกทำความสะอาด ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง เก็บในภาชนะปิดสนิท บวบเก็บผลแก่จัดแห้ง นำเมล็ดออกทำความสะอาด ผึ่งลมในที่ร่มให้แห้ง เก็บในภาชนะปิดสนิท ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชของลำไย ผีเสื้อมวนหวานใช้เหยื่อพิษล่อตัวเต็มวัย โดยใช้ผลไม้สุกมีกลิ่นหอม เช่น กล้วย สับปะรด มะละกอ หรือลูกตาลสุก ตัดเป็นชิ้นหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วจุ่มในสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% WP อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5

ราแป้งราดำมะม่วง เกิดจากเชื้อรา Oidium mangiferae พบอาการที่ช่อดอก พบเป็นผงสีขาวคล้ายแป้ง ขึ้นฟูตามก้านช่อดอก ทำให้ดอกมีลักษณะช้ำเป็นสีน้ำตาลอ่อนต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำ แห้งและหลุดร่วงหากติดผลจะทำให้ผลที่ได้ไม่สมบูรณ์มีขนาดเล็กและหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย ส่วนอาการที่ใบจะพบจุดแผลสีเหลือง จะพบเชื้อราเป้นผงสีขาวคล้ายแป้งขึ้นปกคลุมผิวใบ อาการรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา และใบบิดเบี้ยวผิดรูป แนวทางการป้องกัน โรคราดำ เกิดจากเชื้อรา Capnodium sp. และ Mesiola sp. พบคราบราสีดำตามส่วนของลำต้น

การปาฐกถา เรื่อง “นโยบายของรัฐต่อการส่งเสริมการเกษตร การทำเกษตรปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดย นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรวันพุธที่ 4 ธันวาคม 2567 เวลา 9.30 น. ณ อาคารศูนย์เรียนรวม 4 ห้อง 102 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

รับสมัครเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เข้าร่วมอบรมระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

รับสมัครเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เข้าร่วมอบรมระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

ประกาศรับสมัครเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เข้าร่วมอบรมระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เชิญชวนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง, มะนาว, กล้วยน้ำว้า และเห็ด ที่มีความสนใจในการทำเกษตรแบบอินทรีย์ เข้าร่วมอบรม “โครงการยกระดับเมืองวิถีเกษตรกรรมสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร” อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอบางแพ

ขอเชิญเที่ยวงานมหกรรมในความทรงจำ 11-13 ตุลาคม 2567

ขอเชิญเที่ยวงานมหกรรมในความทรงจำ 11-13 ตุลาคม 2567

ขอเชิญเที่ยวงานมหกรรมในความทรงจำ 11-13 ตุลาคม 2567 พิพิธภัณฑ์พร้อมส่งตรง สิ่งดีๆ ถึงบ้านท่าน ไม่ว่าจะเป็นภาพบรรยากาศการจัดงาน ตลอดทั้ง 3 วัน การอบรมวิชาของแผ่นดิน และ Workshop เสวนา ในหัวข้อต่าง ๆ พร้อมถ่ายทอดสด 13 ตุลาคม 2567 ช่วงพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รับชมทาง Online ได้ทาง Facebook และ Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ สอบถามรายละเอียด 094-649-2333 087-359-7171 02-529-2212 หรือ www.wisdomking.or.th facebook: พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ และ Line ID: @wisdomkingmuseum

เปิดรับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วม โครงการพัฒนาทักษะและแนวคิดผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)) ประจำปี 2568

เปิดรับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วม โครงการพัฒนาทักษะและแนวคิดผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)) ประจำปี 2568

เปิดรับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วม โครงการพัฒนาทักษะและแนวคิดผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ประจำปี 2568 คุณสมบัติผู้สมัคร เอกสารการสมัคร สถานที่รับสมัคร : สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัด ที่มา : กองพัฒนาเกษตรกร

ขอเชิญชวน เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการมะยงชิด มะปรางหวาน จังหวัดนครนายก

ขอเชิญชวน เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการมะยงชิด มะปรางหวาน จังหวัดนครนายก

ขอเชิญชวน เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มะยงชิด มะปรางหวาน จังหวัดนครนายก ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ที่หมดอายุแล้วหรือกำลังหมดอายุ และผู้ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI เอกสารประกอบการยื่นคำขอ ผู้ยื่นใบสมัครไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก 

เปิดรับสมัคร เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วม อบรม เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชทุเรียน

เปิดรับสมัคร เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วม อบรม เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชทุเรียน

ประกาศ สำนักงานเกษตรอำเภอพระแสง เปิดรับสมัคร เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วม อบรม เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชทุเรียน ในวันที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 -14.00 น. ณ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ต.ไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี