ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมี่ รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมอบรมแหนแดง การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดง วันที่ 23 มกราคม 2568กิจกรรม : อบรมการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วันที่ 24 มกราคม 2568กิจกรรม : การศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์แหนแดงตามหลักวิชาการณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม

คำแนะนำการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์1.Idioscopus clypealis (Lethierry)2.Idioscopus niveosparsus (Lethierry) วงจรชีวิตตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อน ตามแกนกลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายหลังจากการวางไข่แล้ว ประมาณ 1-2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มีวิธีการหรือขั้นตอนหลากหลายตามลักษณะสกุลหรือพันธุ์ที่ต้องการ หากเกษตรกรหรือผู้สนใจปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์ใด จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจกล้วยไม้สกุลหรือพันธุ์นั้น ๆ ก่อน โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก 2 เอกสาร ด้านล่าง สวนกล้วยไม้ GAP สำหรับเกษตรกรคลิกอ่าน : https://bit.ly/40rr54E การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แบบมืออาชีพคลิกอ่าน : https://bit.ly/3NXdDPU

ขอเชิญเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เข้าร่วม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การผลิตนางพญาผึ้งสายพันธุ์ดี” ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร

หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spodoptera litura (Fabricius)วงศ์ : Noctuidaeอันดับ : Lipidoptera วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35 วัน ลักษณะการทำลายเมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะอยู่รวมเป็นกลุ่ม กัดแทะเฉพาะผิวใบเหลือแต่เส้นใบ เห็นเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดกินได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ทำให้ใบพืขขาดเป็นรู ในช่วงกลางวันหนอนมักจะหลบอยู่ใต้ใบ ตามซอกของใบ

รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วม โครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เงื่อนไขเข้าร่วมโครงการ เอกสารการสมัคร **สมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบจำนวน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนเกษตรกรทำการเกษตรแบบปลอดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จัดการแปลงเกษตรปลอดการเผา มุ่งสู่มาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มสินค้าคาร์บอนต่ำ ช่วยให้อากาศสะอาด ไม่ก่อฝุ่นละออง PM2.5 ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้เกษตรกรด้วย “3R Model”

โรคแส้ดำอ้อย สาเหตุ : เชื้อรา Ustilago scitaminea การแพร่ระบาดเชื้อรานี้จะอาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคผงสปอร์จากแส้ดำจะระบาดโดยปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้นเชื้อราจะอาศัยอยู่ในดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน ลักษณะอาการต้นอ้อยส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งและยาวคล้ายแส้สีดำ ตอที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก แคระแกร็นคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอ พันธุ์ต้านทานโรคที่ปลูกในปีแรก อาจมีอาการแส้ดำเพียงบางยอด เจริญเติบโตได้ตามปกติและในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคจะมีอาการลำต้นผอมเรียว ใบเล็กแคบยาวคล้ายต้นหญ้าพง ให้ผลผลิตน้อย ความเสียหายและความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นในอ้อยตอรุ่นต่อไป การป้องกันกำจัด เรียบเรียงโดย :

เพลี้ยไฟในข้าว เพลี้ยไฟเป็นแมลงจำพวกปากดูดขนาดเล็ก ลำตัวยาว มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เดี่ยว ๆ สีครีมในเนื้อเยื่อของใบข้าว ไข่ฟักตัวเป็นตัวอ่อนที่มีสีเหลืองนวล จากนั้นตัวอ่อนจะเข้าดักแด้บนต้นข้าวต้นเดิมที่ฟักออกจากไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากแบบเขี่ยดูด ใช้ในการทำลายต้นข้าว ลักษณะการเข้าทำลายเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน โดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้น ใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์

ฤดูหนาวปลูกผักอะไรดี ? ? (ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม) พืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว ได้แก่ ผักสลัด กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กุยช่าย ขึ้นฉ่าย แครอท กระเทียม หอมแดง มะเขือเทศ ถั่วลันเตา และพริกยักษ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พืชผัก เป็นพืชสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปแล้ว

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ขอเชิญชวนเกษตรกร ร่วมงาน “คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ” ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ ณ ศาลาบ้านปากลาง ม.3 ต.ตะกุกใต้ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี– กิจกรรมความรู้ด้านการเกษตร– การประกวดผลผลิตทางการเกษตร– การเสวนาด้านการเกษตร เรื่อง “การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน”– การฝึกอาชีพระยะสั้นเสริมรายได้– การออกร้านของเกษตรกรและห้างร้านเอกชนในพื้นที่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฏร์ธานี

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่จังหวัดสุพรรณบุรี

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่จังหวัดสุพรรณบุรี

โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 ณ วัดราษฎรบำรุง หมู่ที่ 1 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี การดำเนินการในลักษณะบูรณาการการทำงานระหว่าง นักวิชาการเกษตร ของหน่วยงานต่างๆ ในแต่ละสาขาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ ฯลฯ พร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางวิชาการด้านต่างๆ เป็นการปฏิบัติงานในเชิงรุกที่ทำให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายที่มีปัญหาทางด้านการเกษตร มารับบริการในคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ โดยคลินิกแห่งนี้จะเคลื่อนที่ไปหาเกษตรกร ได้ถึงในระดับตำบล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้ารับบริการทางการเกษตรได้อย่างถูกต้องครบถ้วนทุกด้านในคราวเดียวกัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่กรุงเทพมหานคร

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่กรุงเทพมหานคร

ขอเชิญชวนเกษตรกร ร่วมงาน “คลินิกเกษตรเคลือนที่ฯ” ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมเพื่อสังคม (บึงขวาง) แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กทม. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ จ.นครนายก

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ จ.นครนายก

เกษตรนครนายก ขอเชิญร่วมงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ กิจกรรมภายในงาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก 0 3731 1289 ต่อ 15สำนักงานเกษตรอำเภอองครักษ์ 0 3739 1295

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ภายในงานมีการออกบูธจากหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 14 มิถุนายน 2567 ณ โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร อย่าลืม!!!! นำบัตรประชาชนมาด้วยนะคะ….แวะมาชิมช้อปสินค้าจากเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนกันค่ะ… สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร