ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกันแและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร ประกาศลงวันที่ 17 มกราคม 2568

ขอเชิญร่วมงานคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรพื้นที่ 4 โทรศัพท์ 0 2441 3705

หยุดเผาได้ 5 ดี ผลกระทบจากการเผา ด้านสุขภาพอนามัยการเผา ทำให้เกิดฝุ่น ควัน และก๊าซพิษเป็นอันตรายต่อชีวิต ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย จัดทำโดย : สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล แนวทางป้องกัน/แก้ไข นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ

การใช้ปุ๋ยในนาข้าวที่เหมาะสมตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีความต้องการอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ ระยะข้าวงอก (ระยะ 0-1)ถึงระยะกล้า ต้นข้าวจะใช้อาหารที่สะสมในเมล็ดตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก จนถึงต้นกล้าอายุ 14-20 วัน ระยะข้าวกล้า (ระยะ 1-2)ต้นข้าวเริ่มดูดธาตุอาหารผ่านราก ต้องบำรุงด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 57 ฉบับที่ 318 (กันยายน – ตุลาคม 2567) ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. สารบัญ/contents หน้า 2 Smart DOAEเทคนิค 3E’s เพื่อการตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Audit) หน้า 4

สารเคมีเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยใช้สารเคมีตรงชนิดกับศัตรูพืช ใช้ถูกอัตรา ใช้ถูกระยะเวลา และใช้ให้ถูกวิธี เกษตรกร…ต้องรู้ กลไกการเข้าทำลายสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชคลิกอ่าน : https://bit.ly/474wn71 4 ขั้นตอน การผสมสารเคมี ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ถูกวิธีคลิกอ่าน : https://bit.ly/3t1Wfl6 คู่มือการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิตการเกษตรคลิกอ่าน : https://bit.ly/42rFVJE

การปรับตัวภาคการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบไปทั่วโลก มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งเกิดจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567


ค่ากรด-ด่าง (พีเฮช)

  • ค่ากรด-ด่าง ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ 5.5-6.5 (กรดปานกลาง-กรดอ่อน)

ถ้าค่ากรด-ด่าง ต่ำกว่า 5.5 (กรดจัด) จะส่งผลดังนี้

  • ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ละลายออกมาเป็นประโยชน์กับพืชได้น้อย
  • พืชดูดปุ๋ยที่ใส่ทางดินได้น้อย จนเกิดอาการขาดปุ๋ย
  • ส่งผลให้ธาตุเหล็ก แมงกานีส ละลายออกมามากจนเป็นพิษกับพืช

ถ้าค่ากรด-ด่าง สูงกว่า 6.5 (ดินด่าง) จะมีผลต่อการละลายของธาตุอาหารบางชนิด และดินจะระบายน้ำได้ไม่ดี

ค่ากรด-ด่าง (พีเฮช)
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/04/ค่ากรดด่าง-1.jpg

การปรับปรุงดินกรด-ดินด่าง

ดินกรด ปรับปรุงด้วยปูนขาว อัตราที่ใช้ ดังนี้

  • ดินทราย 200 กิโลกรัมต่อไร่
  • ดินร่วนปนทราย 300 กิโลกรัมต่อไร่
  • ดินร่วน 400 กิโลกรัมต่อไร่
  • ดินเหนียว/ร่วนเหนียว 500 กิโลกรัมต่อไร่

ดินด่าง ปรับปรุงดินด้วย ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก

การไถกลบฟาง หรือตอซัง เป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงค่ากรด-ด่าง หรือทำให้ดินมีค่าความเป็น กรด-ด่าง ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

ค่ากรด-ด่าง (พีเฮช)
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/04/การปรับปรุงดินกรด-ดินด่าง.jpg

ระดับค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินกับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช

ค่ากรด-ด่าง (พีเฮช)
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/04/ระดับค่าความเป็นกรดด่างของดิน.jpg

เรียบเรียงโดย : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร