จิ้งหรีดหนวดยาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metioche vittaticolis
รูปร่างลักษณะ
- จิ้งหรีดหนวดยาวตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร โคนหนวด 2 ปล้องแรกสีดำ มีหนวดที่ยาว หัว อก ท้องและปีกมีสีดำเป็นตัวห้ำกินไข่ผีเสื้อ
หนอนกอข้าว ไข่ผีเสื้อหนอนกอลายแถบ และแมลงศัตรูข้าวอื่น ๆ พบในนาข้าวตั้งแต่เริ่มฤดูเพาะปลูก เกาะไต่อยู่ตามต้นข้าว ตัวเต็มวัยสามารถบินได้
ระยะที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช
- ตัวอ่อน– ตัวเต็มวัย
การใช้ประโยชน์
- จิ้งหรีดหนวดยาว ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เป็นตัวห้ำใช้ควบคุมแมลงศัตรูข้าวหลายชนิด เช่น ไข่ผีเสื้อหนอนกอข้าว ไข่ผีเสื้อหนอนกอลายแถบ หนอนห่อใบข้าว หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว ตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว
จิ้งหรีดหนวดยาว กินไข่ผีเสื้อและแมลงศัตรูพืชในนาข้าว