ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร

10

เรื่องล่าสุด

ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำหนังสือใหม่ เดือนมกราคม 2568 สามารถเข้ามารับบริการการอ่านได้ที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร อาคารส่งเสริมการเกษตรเบญจสิริกิติ์ ชั้น 5 (ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ 0-2579-2594 โทรสาร 0-2579-5517 สืบค้นข้อมูลเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://library.doae.go.th

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งมอบกล่องยูเอสที ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโครงการกล่องวิเศษ ทางพิเศษรักษ์โลก ปีงบประมาณ 2567

มาตรการการดำเนินงานภายใต้การรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1.มาตรการสร้างความตระหนักรู้และป้องปราม 2.มาตรการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 3.มาตรการปรับลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 4.มาตรการไม่เผาเรารับซื้อ 5.มาตรการไฟจำเป็น 6.การประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้

วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โปรดทราบ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดให้วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ต่อทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 1 – 30 มกราคมของทุกปี โดยยื่นแบบคำขอดำเนินกิจการต่อของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (สวช.03) ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่จดทะเบียน หรือผ่าผ่านเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน https://smce.doae.go.th เอกสารประกอบการยื่น ดังนี้1. หนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน (ท.ว.ช.2)2. เอกสารสําคัญแสดงการดําเนินกิจการ (ท.ว.ช.3)3.

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญเที่ยวงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ กิจกรรมภายในงาน พบกับ

โรคราสนิมในถั่ว สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Uromyces spp. ลักษณะอาการเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดอีกโรคหนึ่งของถั่ว โดยอาจเกิดกับถั่วเกือบทุกชนิด เป็นโรคที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ ในสภาวะหรือในขณะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อโรค จะเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนของต้นถั่วที่อยู่เหนือดิน แต่จะพบมากที่สุดบนใบ โดยอาการจะเริ่มจากจุดสีเขียวซีดหรือเหลืองที่มีลักษณะกลม ๆ เล็ก ๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะยกนูนสูงขึ้น แล้วแตกออกพร้อมกับจะมีผงหรือกลุ่มของสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นเป็นจุด ๆ เห็นได้ชัดเจน ส่วนของเนื้อใบรอบจุดแผลก็จะมีลักษณะเป็นเซลล์ตายสีเหลือง

เตือนเฝ้าระวังศัตรูพืช ประจำเดือนมกราคม 2568 ภาคเหนือข้าว ระวัง เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอข้าว แมลงบั่ว โรคไหม้ข้าวลำไย ระวัง มวนลำไย เพลี้ยแป้ง หนอนกินใบ โรคพุ่มไม้กวาดกาแฟ ระวัง มอดเจาะผลกาแฟ เพลี้ยหอยสีเขียว โรคใบจุดผัก ระวัง หนอนกระทู้ผัก โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง

กระท้อน คลองน้อย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ลำดับที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระท้อนพันธุ์อีล่าและพันธุ์ปุยฝ้าย จากแหล่งปลูกที่เป็นดินสองน้ำ (น้ำจืดผสมน้ำกร่อย) ทรงผลค่อนข้างกลม ผิวเปลือกสีเหลืองทอง เปลือกบาง เนื้อหนา ไม่ฝาด ปุยหรือเนื้อหุ้มเมล็ดฟู หนา แน่น สีขาว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย บางไทร


เตือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เฝ้าระวังการระบาดของด้วงหนวดยาว

พบการระบาดในแหล่งปลูกทุเรียนตลอดทั้งปี โดยตัวหนอนจะเข้าดักแด้และออกเป็นตัวเต็มวัยในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่

ด้วงหนวดยาว มีตัวเต็มวัยสีน้ำตาล มีจุดสีส้มหรือเหลืองกระจายอยู่ทั่วปีก เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว เพศเมียหนวดเท่ากับหรือสั้นกว่าลำตัว จับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีเขี้ยวแข็งแรงขนาดใหญ่ กัดเปลือกไม้เพื่อวางไข่แล้วกลบด้วยขุยไม้ ชอบวางไข่ซ้ำบนต้นเดิม ไข่คล้ายเมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น หนอนที่ฟักใหม่จะมีสีขาวครีม

ลักษณะการทำลาย
ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชใต้เปลือกไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกอาจควั่นรอบต้น ทำลายท่อน้ำท่ออาหาร ต้นทุเรียนทรุดโทรมและยืนต้นตายได้ ตัวเต็มวัยมีอายุได้นานกว่า 6 เดือน ทำในต้นหนึ่ง ๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่าง ๆ กัน เป็นจำนวนมาก สวนที่มีการระบาดรุนแรงพบหนอนด้วงหนวดยาววัยต่าง ๆ ในต้นทุเรียนเฉลี่ย 40-50 ตัวต่อต้น

วิธีป้องกันกำจัด

  1. หมั่นสำรวจสวนทุเรียนเป็นประจำ โดยสังเกตรอยแผลจากการวางไข่หรือขุยไม้ละเอียดจากการทำลายของหนอน ถ้าพบร่องรอยการทำลายให้ใช้มีดคมถากเปลือกต้นทุเรียนออกแล้วจับตัวหนอนและไข่มาทำลาย
  2. กำจัดตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาว โดยใช้แสงไฟล่อ หรือใช้ตาข่ายตาถี่พันหลวม ๆ รอบต้น เพื่อดักจับตัวเต็มวัยมาทำลาย
  3. เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เช่น ไทอะมีโทแซม/แลมป์ดาไซฮาโลทริน 14.1% 10.6%ZC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ คลอไทอะนิดิน 16% SG อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 10%SL อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ อะเซททามิพริด 20% SP อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร โดยใช้อัตราน้ำ 5 ลิตร/ต้น พ่นให้โชกเฉพาะบริเวณลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ด้วงชอบวางไข่ พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน ในแหล่งที่มีการระบาดรุนแรง อาจต้องพ่นสารเคมีทุก ๆ 3 เดือน
  4. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยตัดต้นทุเรียนที่ถูกทำลายรุนแรงจนไม่สามารถให้ผลผลิตและนำไปเผาทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมการระบาด ทำความเสียหายต่อทุเรียนต้นอื่น ๆ ต่อไป

ให้หมั่นออกตรวจบริเวณสวนทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบขุยมูลตัวหนอน ให้ใช้มีดคมถากเปลือกต้นทุเรียนออกบาง ๆ แล้วฉีดพ่นด้วยอิมิดาโคลพริด หรือคอนฟิดอ 10 เปอร์เซ็นต์ เอสแอล อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ 2 ครั้ง สัปดาห์ละครั้ง จะทำให้แมลงในวัยที่เป็นตัวหนอนตายไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ แนะนำให้ใช้แสงไฟล่อแมลงตัวเต็มวัยด้วยการติดไฟนีออน พร้อมฝาครอบด้านบน บังคับให้แสงส่องลงพื้นดิน ตั้งไว้สูงจากพื้น 1.50 เมตร ส่วนใต้หลอดนีออน ใช้ถัง 200 ลิตร ผ่าครึ่ง พร้อมน้ำผสมน้ำมันขี้โล้ รองรับแมลงตัวเต็มวัยที่ตกลงในถังและจับทำลาย หมั่นปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น การระบาดของด้วงหนวดยาวเจาะต้นทุเรียนจะหมดไปในที่สุด

เรียบเรียง : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2024/08/ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน.png