โรคต้นแตกยางไหลในเมล่อน
สาเหตุจากเชื้อรา : Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp.
ช่วงการระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน
ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ : แผลจะฉ่ำน้ำ เป็นยางเหนียวสีน้ำตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลำต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกบ่อยครั้งในช่วงฤดูฝน
- ในต้นที่แสดงอาการเพียงเล็กน้อย ใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนต้นในอัตราประมาณ 2 กรัมต่อต้น จะเป็นการป้องกันเชื้อราในดินขยายสู่ลำต้น และใช้ปูนขาวผสมน้ำทาบริเวณแผลที่ฉ่ำน้ำ
- พืชแสดงอาการอย่างรุนแรง ให้ใช้แมนโคเซบฉีดพ่นซ้ำ ทุก 7 วัน โดยใช้ในอัตราแนะนำที่ภาชนะบรรจุ
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญ คือ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการเพาะปลูก โดยก่อนการเพาะปลูกทุกครั้งควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยไตรโครเดอร์มา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถลดการระบาดของโรคต้นแตกยางไหลได้
จัดทำโดย : สำนักงานเกษตรอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว